1. ตรวจสอบแหล่งข่าวของคุณ: ใช้ Google News เพื่อตรวจสอบว่าข่าวที่คุณได้รับมีการรายงานโดยสื่อที่มีชื่อเสียงหรือไม่ หากข่าวดังกล่าวไม่สามารถยืนยันได้โดยแหล่งข่าวอื่นที่ถูกกฎหมาย ข่าวนั้นอาจเป็นเท็จ
  2. ตรวจสอบว่าภาพถูกใช้ในบริบทที่ถูกต้องหรือไม่: คลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือก “ค้นหาภาพนี้ใน Google” (Search Google for Image) เพื่อเปรียบเทียบภาพดังกล่าวกับฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อตรวจสอบว่าเคยปรากฏตามสื่อออนไลน์มาก่อนแล้วหรือไม่ และในบริบทใด ด้วยวิธีนี้คุณสามารถดูได้ว่าภาพดังกล่าวถูกเปลี่ยนแปลงให้มีความหมายผิดไปจากเดิมหรือไม่
  3. อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของวิดีโอ: ตรวจสอบว่าช่อง YouTube ที่คุณกำลังดูได้รับการยืนยันแล้วหรือไม่ อ่านคำอธิบายเกี่ยวกับช่อง ดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในช่อง ขนาดของกลุ่มผู้ชม ลิงก์ไปยังโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ทางการของช่อง วิธีนี้จะช่วยให้คุณมั่นใจในความน่าเชื่อถือของวิดีโอ
  4. สังเกต URL ให้ดี: บางเว็บไซต์พยายามที่จะทำให้ดูเหมือนสื่อที่มีชื่อเสียงโดยใช้ชื่อโดเมนที่คล้ายกัน เพื่อทำให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือและทำให้คุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณกำลังอ่านอยู่นั้นเป็นเรื่องจริง
  5. ค้นหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงของบทความ: บทความที่เป็นเท็จมักมีการพาดหัวที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้อ่าน แต่รายละเอียดของบทความอาจดูไม่สมเหตุสมผล หากคุณไม่สามารถยืนยันข้อมูลที่ยกมาอ้างอิง (ชื่อบุคคลหรือองค์กร) ข้อมูลเหล่านั้นอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ของบทความนั้นๆ


การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (misinformation) โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นมีความสำคัญมากกว่าเคย เนื่องจากผู้คนต่างค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ถูกต้องและแม่นยำ

ด้วยเหตุนี้ Google News Initiative จึงได้ร่วมมือกับ OSINT Essentials และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง จำนวน 2 วันในสัปดาห์นี้ เพื่อสนันสนุนสื่อมวลชนไทยที่อยู่ในแนวหน้าที่ต้องเผชิญกับกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้

สื่อมวลชนที่เข้าร่วมฝึกอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยประหยัดเวลาในการยืนยันความเป็นจริงและความถูกต้องของภาพ วิดีโอ และรายงานที่เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียและตามสื่อออนไลน์ต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นผ่านทาง Google Hangouts โดยมีการดำเนินเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยการแปลเป็นภาษาไทยแบบเรียลไทม์  โดยได้ตั้งเป้าจัดฝึกอบรมให้กับสื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่างๆ จำนวน 100 ราย และคาดหวังจะขยายการฝึกอบรมนี้ให้กับสื่อมวลชนในวงกว้างมากขึ้นในเร็วๆ นี้

แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการตรวจสอบข้อมูล แต่เราทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในการปกป้องข้อมูลที่เรารับรู้จากโดเมนสาธารณะด้วยเช่นกัน สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของวัน International Fact-Checking Day ซึ่งตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งวันดังกล่าวริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 โดยเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงนานาชาติ (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง และรณรงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูล และมีเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเองดังนี้
  1. ตรวจสอบแหล่งข่าวของคุณ: ใช้ Google News เพื่อตรวจสอบว่าข่าวที่คุณได้รับมีการรายงานโดยสื่อที่มีชื่อเสียงหรือไม่ หากข่าวดังกล่าวไม่สามารถยืนยันได้โดยแหล่งข่าวอื่นที่ถูกกฎหมาย ข่าวนั้นอาจเป็นเท็จ
  2. ตรวจสอบว่าภาพถูกใช้ในบริบทที่ถูกต้องหรือไม่: คลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือก “ค้นหาภาพนี้ใน Google” (Search Google for Image) เพื่อเปรียบเทียบภาพดังกล่าวกับฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อตรวจสอบว่าเคยปรากฏตามสื่อออนไลน์มาก่อนแล้วหรือไม่ และในบริบทใด ด้วยวิธีนี้คุณสามารถดูได้ว่าภาพดังกล่าวถูกเปลี่ยนแปลงให้มีความหมายผิดไปจากเดิมหรือไม่
  3. อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของวิดีโอ: ตรวจสอบว่าช่อง YouTube ที่คุณกำลังดูได้รับการยืนยันแล้วหรือไม่ อ่านคำอธิบายเกี่ยวกับช่อง ดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในช่อง ขนาดของกลุ่มผู้ชม ลิงก์ไปยังโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ทางการของช่อง วิธีนี้จะช่วยให้คุณมั่นใจในความน่าเชื่อถือของวิดีโอ
  4. สังเกต URL ให้ดี: บางเว็บไซต์พยายามที่จะทำให้ดูเหมือนสื่อที่มีชื่อเสียงโดยใช้ชื่อโดเมนที่คล้ายกัน เพื่อทำให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือและทำให้คุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณกำลังอ่านอยู่นั้นเป็นเรื่องจริง
  5. ค้นหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงของบทความ: บทความที่เป็นเท็จมักมีการพาดหัวที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้อ่าน แต่รายละเอียดของบทความอาจดูไม่สมเหตุสมผล หากคุณไม่สามารถยืนยันข้อมูลที่ยกมาอ้างอิง (ชื่อบุคคลหรือองค์กร) ข้อมูลเหล่านั้นอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ของบทความนั้นๆ

Helping journalists to spot misinformation online


Fact-checking is at the heart of the fight against misinformation— and the work that fact-checkers do is more important than ever right now, as people seek out accurate information about COVID-19.

That’s why the Google News Initiative, in collaboration with OSINT Essentials and SONP, is hosting two fact checking trainings this week to support Thai journalists who are currently on the frontlines of the battle to fight online misinformation.

During the sessions, journalists will learn how to use time-saving methods to help verify the authenticity and accuracy of images, videos and reports that they find in social media and elsewhere online. The sessions will be held over Google Hangouts, in English with simultaneous translation in Thai. We are planning to host over 100 journalists representing various news organizations. We hope to bring the training to more journalists soon. 

Journalists are a very important audience when it comes to verifying information, but everyone has a role in safeguarding the information we see, hear and read in the public domain. This week coincides with International Fact-Checking Day, on April 2nd, which was launched in 2016 by the International Fact-Checking Network (IFCN) to raise awareness of what fact-checkers do—-and help everyone contribute to their efforts. See below some tips on how you too, can check-facts:
  1. Cross-reference your news sources: Using Google News, check whether the information has been reported on by reputable media. If the news cannot be corroborated by another legitimate source, it might be false.
  2. Check if an image is being used in the right context: Right click on a photo and select “Search Google for Image”. This will look for the picture against an online database to check if it has appeared online before, and in what context, so you can see if it has been altered from its original meaning.
  3. Remember to check a video’s basic information: Check if the YouTube channel you’re watching is verified (or not), read their informative description, view related content on their channel, audience size, links to their social channels and official website. This can give you a steer on a video’s credibility.
  4. Look closely at the URL: Some sites try to look like a reputable media by using similar domain names. This provides credibility to the information you are reading, and provokes a false sense of security that what you are reading is true.
  5. Search for the article’s references: False stories have an attention-grabbing headline to attract readers, but the article details probably won’t add up. If you can’t verify quoted information (people’s names or organizations), they might have been invented for the story’s purpose.






การรายงานข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เราขอแนะนำเครื่องมือที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับการรายงานข่าวของคุณในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

เข้าใจสิ่งที่ผู้คนกำลังค้นหา

คุณสามารถเข้าไปที่หน้าเพจเฉพาะที่เราจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเทรนด์การค้นหาเกี่ยวกับ COVID-19 บน Google นอกจากนี้ยังมีหน้าเพจในภาษาไทยด้วย แผนภูมิและภาพทั้งหมดในเว็บไซต์ Google Trends ถูกออกแบบมาให้สามารถนำไปแทรกในบทความ แชร์ และเผยแพร่ทางออนไลน์ได้ คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อรับจดหมายข่าวรายวันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกกำลังค้นหาเกี่ยวกับ COVID-19 หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของ Google Trends ได้ที่นี่


ทำให้ข้อมูลฟังดูสมเหตุสมผลและเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

เรียนรู้วิธีการจัดทำชุดข้อมูล การล้างข้อมูล และการจัดแสดงข้อมูลด้วยตัวคุณเอง นอกจากนี้คุณยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลผ่านไฟล์ GIF ได้ด้วย Data GIF Maker (เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือนี้ได้ที่นี่)


อธิบายเรื่องราวของคุณ

เรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับแผนที่เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MyMaps, Google Earth และฟีเจอร์อื่นๆ เช่น Timelapse


ตรวจสอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีอยู่ และเพิ่มมาร์กอัปสำหรับคุณเอง

สำรวจการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีอยู่เกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 โดยใช้ Fact Check Explorer และ API หากทีมของคุณกำลังดำเนินการกำจัดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่ถูกเผยแพร่ในช่วงวิกฤตการณ์นี้ คุณสามารถเพิ่มมาร์กอัปการตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งจะติดป้ายกำกับบทความของคุณในคุณสมบัติของ Google เป็น "การตรวจสอบข้อเท็จจริง"


ค้นพบข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้อย่างรวดเร็ว

Google Scholar เป็นเครื่องมือการค้นหาที่จะช่วยให้คุณค้นพบวรรณกรรมทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย โดยเนื้อหาที่เข้าถึงได้ประกอบไปด้วยบทความ วิทยานิพนธ์ หนังสือ และบทคัดย่อจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ สมาคมวิชาชีพ แหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ มหาวิทยาลัย และเว็บไซต์ต่างๆ คุณอาจพบว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการติดต่อนักวิชาการและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของพวกเขาเมื่อคุณศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา


ดูแลตัวเองระหว่างการรายงานข่าว

Dart Centre for Journalism and Trauma เป็นศูนย์รวบรวมแหล่งความรู้และเครือข่ายทั่วโลกเพื่อพัฒนาการทำข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง โศกนาฏกรรม และเหตุการณ์สะเทือนใจ ไม่ว่าจะเป็นเคล็ดลับในการทำข่าวเกี่ยวกับโรค หรือการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ที่รอดจากการติดเชื้อ ตลอดจนเคล็ดลับในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่เคยประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ



Tools for journalists reporting on COVID-19


Reporting on COVID-19 is non-stop, so we wanted to share with you some tools you might find useful to help in your reporting efforts.

To understand what people are searching for:

You will find a dedicated page on COVID-19 Google searches, as well as the Thai local page. All of the charts and visuals on the Google Trends site are embeddable and made to share and publish online. Signup for a daily newsletter on how the world is searching for COVID-19. If you need to learn more about how Google trends works, go here.


To make sense of data and visualize it:

Learn how to build your own data sets, clean them, and visualize them. You can also compare data through GIFs with the Data Gif Maker (learn more about the tool here).


To illustrate your stories:

Learn how to use a range of mapping tools to illustrate stories, from MyMaps, Google Earth and features like timelapse.


To review existing fact checks, and add a markup for your own:

Explore existing fact checks on the outbreak using the Fact Check Explorer and API. If your team is working on debunking misinformation being circulated on this crisis, you can also add a Fact Check markup, which will label your article on Google properties as "Fact Check”.


To quickly find hard facts and expert opinion:

Google Scholar is a search tool that allows you to find and explore a wide array of scholarly literature. Accessible material includes articles, thesis, books and abstracts from academic publishers, professional societies, online repositories, universities and websites. You might find it a useful way to contact academics and learn more about their work, as you research the coronavirus.


To take care of yourself while reporting:

The Dart Centre for Journalism and Trauma is a resource centre and global network dedicated to improving media coverage of trauma, conflict and tragedy. This includes tips on covering disease, interviewing victims and survivors, and working with colleagues exposed to traumatic events.


ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เราได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อช่วยให้คนไทยไม่ขาดการติดต่อและเข้าถึงข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ซึ่งยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดตัวฟีเจอร์ SOS Alert เกี่ยวกับ COVID-19 โดยเฉพาะใน Google Search ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงข้อแนะนำต่างๆ เพื่อความปลอดภัย และลิงค์สู่แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้จากองค์การอนามัยโลก (WHO) นอกจากนี้เรายังได้แชร์ข้อมูลอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับ COVID-19 ไว้ที่หน้าหลักของ YouTube เพื่อให้ผู้ใช้ YouTube รับรู้ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดให้ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ใช้ G Suite for Education ได้ฟรี จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เราได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อช่วยให้คนไทยไม่ขาดการติดต่อและเข้าถึงข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ซึ่งยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดตัวฟีเจอร์ SOS Alert เกี่ยวกับ COVID-19 โดยเฉพาะใน Google Search ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงข้อแนะนำต่างๆ เพื่อความปลอดภัย และลิงค์สู่แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้จากองค์การอนามัยโลก (WHO) นอกจากนี้เรายังได้แชร์ข้อมูลอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับ COVID-19 ไว้ที่หน้าหลักของ YouTube เพื่อให้ผู้ใช้ YouTube รับรู้ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดให้ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ใช้ G Suite for Education ได้ฟรี จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

เราเข้าใจดีว่าในสถานการณ์เช่นนี้ พนักงานบริษัท ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ทั่วประเทศ ต่างก็ต้องปรับตัวมาใช้วิธีการทำงานและการเรียนการสอนจากบ้านกันมากขึ้น แต่บางคนอาจยังไม่คุ้นชินกับการทำงานทางไกล หรือการศึกษาทางไกล ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับพวกเขา เพื่อให้ผู้คนเหล่านี้สามารถก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปได้ เราได้รวบรวมไอเดียและเคล็ดลับต่างๆ ที่จะช่วยให้คนไทยทำงานหรือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ขาดการติดต่อแม้ว่าจะทำงานหรือเรียนจากที่บ้าน

เคล็ดลับสำหรับพนักงานบริษัทในการมีส่วนร่วมกับทีม

ความท้าทายที่พบบ่อยสำหรับผู้ที่เพิ่งปรับเปลี่ยนมาทำงานจากทางไกลคือ พวกเขาไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน พวกเขามีคำถามมากมาย เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญที่ฉันควรทำเมื่อติดต่อสื่อสารทางออนไลน์กับเพื่อนร่วมงาน” “ฉันควรถามคำถามอะไร” เป็นต้น นี่คือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดก็ตาม

หากคุณและทีมทำงานทางไกลเป็นครั้งแรก


  • คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของคุณ หากคุณจำเป็นที่จะต้องประชุมเพื่อคุยงานทางโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล ควรมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าเสมอ และเลือกสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเพื่อลดการรบกวนจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบข้าง หรือการขัดข้องของการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การรับโทรศัพท์ระหว่างที่เดินทางอยู่ (อาจอยู่บนรถไฟฟ้า หรือกำลังเดินอยู่ข้างนอก) อาจไม่เหมาะสำหรับการประชุมที่คุณต้องมีส่วนร่วมในการสนทนาอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ ให้แจ้งทีมของคุณให้ทราบล่วงหน้า และปิดไมโครโฟนตอนที่คุณไม่ได้พูดเพื่อลดเสียงรบกวน หากคุณเข้าประชุมจากที่บ้าน ควรแจ้งให้สมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านทราบล่วงหน้าด้วย เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าคุณไม่ว่างในช่วงเวลาไหนบ้าง     
  • คุยเรื่องสัพเพเหระก่อนเริ่มประชุม การที่ไม่ได้ทำงานร่วมกันในออฟฟิศเหมือนเช่นเคยอาจทำให้บางคนรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่ค่อยมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์คุยกันหรือการประชุมทางไกล (video conference) ความสามัคคีปรองดองจะช่วยให้ทุกอย่างราบรื่นไปด้วยดี การตรงเข้าประเด็นการประชุมทันทีก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ควรใช้โอกาสนี้ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบของสมาชิกในทีมเช่นเดียวกับตอนที่ทำงานในออฟฟิศ ลองถามคำถามทั่วๆ ไป เช่น “เป็นยังไงบ้าง คนที่บ้านสบายดีไหม” หรือ “เที่ยงนี้จะกินอะไร” ซึ่งการทักทายเล็กๆ น้อยๆ นี้แสดงถึงความห่วงใยที่มีต่อกัน
หากคุณและทีมคุ้นเคยกับการประชุมทางไกลอยู่แล้ว แต่ตอนนี้จำเป็นต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าเดิม

  • แสดงตัวตนระหว่างการสนทนา สัญญาณการมีส่วนร่วมบางอย่างอาจหายไปเมื่อทำงานร่วมงานทางออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราปิดเสียงไมโครโฟน หรือเพ่งความสนใจไปที่แล็ปท็อป เปิดเสียงไมโครโฟนของคุณและตรวจสอบการมีส่วนร่วมของคนอื่น แค่ผงกหัว แล้วพูดว่า “อืม” หรือ “ใช่ เป็นไอเดียที่ดี” เท่านี้ก็เป็นอันใช้ได้แล้ว ระหว่างการประชุมทางไกลให้วางโทรศัพท์โดยคว่ำหน้าจอไว้ เว้นแต่ว่าคุณต้องใช้โทรศัพท์เพื่อจดบันทึก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนอื่นๆ สามารถมองเห็นคุณบนหน้าจอได้อย่างชัดเจน พยายามสบสายตาคนอื่นๆ และแสดงปฏิกิริยาต่างๆ ให้คนอื่นเห็นได้ชัด
  • เริ่มต้นด้วยการทำให้คนอื่นๆ รู้สึกมีส่วนร่วมในการประชุม บางครั้งการประชุมทางไกลอาจมีอุปสรรค เช่น เสียงของสมาชิกในทีมอาจขาดๆ หายๆ เป็นบางช่วง หรือได้ยินไม่ชัด เนื่องจากมีสิ่งรบกวน คุณสามารถเปิดโอกาสให้พวกเขาพูดได้ เช่น ขอข้อมูลหรือข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุมที่มักเก็บตัวเงียบเมื่อมีการอภิปรายร่วมกัน หรือหากคุณเห็นว่ามีคนพยายามที่จะเข้าร่วมการสนทนา ให้หยุดการสนทนา และเชิญชวนให้พวกเขาร่วมแสดงความคิดเห็น
การจัดการการศึกษาทางไกลสำหรับครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา

สำหรับครู อาจารย์ ที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราวอยู่ในขณะนี้ นี่คือวิธีที่จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียน นักศึกษา เพื่อทำให้การศึกษาทางไกลมีประสิทธิภาพ

  • กระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาทางไกลทำให้คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านเวลาเช่นเดียวกับการเรียนการสอนตามปกติในสถานศึกษา เช่น การเร่งให้นักเรียนเข้าห้องเรียน หรือ การเร่งสอนให้จบบทเรียนก่อนที่เสียงกริ่งบอกเวลาหมดคาบเรียนจะดังขึ้น เป็นต้น การศึกษาทางไกลทำให้นักเรียน นักศึกษามีเวลาในการทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น และสามารถซึมซับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ครู อาจารย์ ควรกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาเรียนรู้จากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากตำราเรียนของพวกเขาโดยการแนะนำหนังสือสำหรับอ่านเสริมนอกเวลา วิดีโอออนไลน์ที่มีเนื้อหาเพื่อการศึกษา หรือแม้กระทั่งการหางานอดิเรกใหม่ๆ นอกจากนี้เมื่อโรงเรียนและมหาวิทยาลัยกลับมาเปิดสอนตามปกติแล้ว คุณอาจพิจารณาจัดการสนทนาระหว่างนักเรียน นักศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แบ่งปันประสบการณ์และสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ในช่วงที่ต้องเรียนจากบ้าน
  • สำรวจสภาวะทางอารมณ์ของนักเรียน นักศึกษา เมื่อกิจวัตรของนักเรียน นักศึกษาหยุดชะงัก หลายคนอาจคิดถึงสถาบันของตัวเองและบรรยากาศการเรียนในห้องเรียนกับครู อาจารย์ ฉะนั้น การรักษาความรู้สึกสบายใจและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ แนะนำให้สร้างแบบสำรวจออนไลน์เกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอารมณ์ของพวกเขาในแต่ละวัน นอกจากนี้ ครู อาจารย์ อาจจัดทำบล็อกส่วนตัวเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกโดยการเขียนบันทึกหรือการบันทึกในรูปแบบวิดีโอ
วิธีสร้างพฤติกรรมที่ดีบนโลกดิจิทัลสำหรับผู้ปกครองและบุตรหลาน

การที่นักเรียน นักศึกษา และเด็กๆ ต้องอยู่บ้านในช่วงเวลานี้ อาจทำให้พวกเขาใช้เวลาท่องโลกออนไลน์มากขึ้น นี่คือเคล็ดลับในการสร้างพฤติกรรมที่ดีบนโลกดิจิทัลสำหรับทุกคนในครอบครัว

  • หมั่นเช็คการใช้เวลาบนหน้าจอ มันขึ้นอยู่กับคุณที่จะตัดสินใจว่าบุตรหลานควรใช้เวลาบนหน้าจอนานเท่าไหร่จึงจะถือว่าเหมาะสม แนะนำให้ใช้ Family Link ในการตั้งค่าเพื่อจำกัดเวลาการใช้งานบนหน้าจอและกำหนดเวลาเข้านอนของบุตรหลานบนอุปกรณ์ของพวกเขา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้พวกเขาใช้เวลาได้อย่างเหมะสม นอกจากนี้คุณยังสามารถล็อกอุปกรณ์จากระยะไกลเมื่อถึงเวลาพักสายตาได้ด้วย 
  • ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี เรารู้ดีว่าผู้ปกครองต้องไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน ชุดเครื่องมือ Digital Wellbeing ของ Google ช่วยให้ทุกคนจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ และหยุดพักการใช้งานบนหน้าจอเป็นระยะๆ เพื่อใช้เวลาร่วมกับครอบครัวให้มากขึ้น   


Helping businesses and schools in Thailand stay productive

Over the last several weeks, we’ve been taking necessary action to roll out various initiatives to help more Thais stay connected, informed and engaged as COVID-19 continues to spread. For instance, we introduced the SOS Alert in Search that connects people with the latest news plus safety tips and links to more authoritative information from the World Health Organization (WHO). In addition, most recent information on COVID-19 is also shared on the YouTube homepage so users can always stay informed, and made G Suite for Education cost-free until July 1, so teachers and students can continue to keep learning from wherever they are.

We also understand that more employees, educators and students across Thailand  are now recommended to adopt a work-from-home model. But for many who are not used to the concept of remote working or distance learning, this shift can be a challenging transition. To help with this, we have prepared some ideas and tips to help more Thais stay productive and connected while staying in.

For employees: How to stay engaged with your team

A common challenge for those new to remote working is that they don't know where to start: “What are the key things I should do when I’m communicating online with my colleagues? What questions should I be asking?” These are some best practices that can be easily implemented, no matter where you are based.

If you and the team are working remotely for the first time:

  • Be mindful of your environment If you need to jump on a discussion meeting over the phone or dial in for a video call, always plan ahead and consider being in a conducive environment to minimise distractions or network interruptions. For instance, taking calls on the move (on the train or while walking outside) might not be most effective if you’re required to actively participate during the discussion. If that does happen, give your team a heads up and consider muting your microphone when you’re not speaking to reduce background noises. If you’re taking the meeting at home, it can be helpful to inform your family members ahead of time if they are around, so they understand you might not be available between certain timings.
  • Have a casual conversation before starting the meeting Working away from the office or colleagues could make some employees feel isolated and disengaged. Whether you’re dialing in to a call or joining a video conference, a little rapport goes a long way. It might be tempting to start the meeting immediately, but consider creating opportunities to catch up with your distributed teammates just like you would if they sat next to you at the office. Start your conference calls or meetings with an open-ended, personal question. Try “How are you and the family doing?” or “what are you planning to have for lunch?” This small gesture can show care and concern for each other.
If you and the team are familiar with video conferencing, but are now using it for an extended period of time:

  • Be present on calls Some engagement signals are lost when working together virtually, particularly when we mute the microphone or focus intently on our laptops. Unmute your microphone and validate contributions from others. A head nod, “mmhmm”, or “yeah, good idea” will do it! Keep phones facing down when you’re doing video conferencing calls, unless you’re using it to take notes. Ensure you’re clearly visible on the video conferencing screen by zooming in, making eye contact, and expressing your reactions noticeably.
  • Start by making them feel included It can be hard for some teammates to be heard during video conferencing, as they often have to overcome barriers to jump in and share. You can help create the space for them to speak up. Ask for inputs or suggestions from the most isolated meeting participant any time the meeting breaks into a discussion. If you see someone trying to enter the conversation, stop and invite their comments.
For educators and students: How to handle distance learning

For educators who are currently facing school closures, there are effective ways to stay engaged with your students.

  • Encourage students to learn from alternative sources With distance learning, you don’t have to worry about time constraints of the normal school day: rushing students into the classroom or hurrying to finish your lesson before the bell rings. Students can take more time on some activities and breeze through lessons that come naturally to them. Encourage them to learn beyond their textbooks by recommending books to read, educational videos to watch online or even just picking up a new hobby. You could even consider having a sharing session when students are back to school to share what they learned during this period.
  • Check in with how your students are feeling When students’ routines are disrupted, many realize how much they actually miss the structure of school, and learning with their teacher. It’s important to maintain that feeling of comfort and safety during a time of uncertainty. Consider creating online surveys to create mood check-ins for students to share their emotional state on a daily basis. Educators can also set up a private blog for students to reflect on the experience by journaling or recording video reflections.
For parents and children: How to create positive, healthy digital habits

More students and younger children are staying home and this could also mean more time online. Here are some tips to help create  healthy, positive digital habits that are right for the family

  • Keep an eye on screen time It’s up to you to decide the right amount of screen time for your child. Consider using Family Link to set time limits and a bedtime for their device, so you can help them find a good balance. You can also remotely lock a device when it’s time to take a break.
  • Set a good example We know that parents want to be more thoughtful about their own technology use as role-models for their children. Our Digital Wellbeing tools help them focus their time and unplug when they want to spend offline time with their family.