Thailand Blog
ขอเชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ "การจัดการเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพ" พรุ่งนี้
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
เขียนโดย ทีมงาน Google AdWords
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไม …
มีคลิกแต่ไม่มีคนโทร
โฆษณาหยุด รายได้สะดุด
เว็บไซต์สวยหรู แต่คนดูไม่ซื้อ
ทำไม ทำไม ทำไม
30 เมษายนนี้ กลับมาอีกครั้งสำหรับผู้ใช้โฆษณา AdWords กับการอบรมออนไลน์ที่ทุกคนถามหา ครั้งนี้ในหัวข้อ "การจัดการเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพ" ซึ่งจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆดังนี้
• ทำไมถึงต้องจัดการเว็บไซต์
• เว็บไซต์ที่ดีในมุมมองของ Google เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของคุณ
• หลักการจัดการเว็บไซต์ที่ดี เพื่อป้องกันโฆษณาหยุดชะงัก
บรรยายโดย: ทีมงาน Google ชาวไทย
วันที่: 30 เมษายน 2556 (พรุ่งนี้)
เวลา: 11.00 – 12.00 น.
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ลงทะเบียนได้เลยที่นี่
http://w.on24.com/r.htm?e=610148&s=1&k=956DF3EA03E0907D4653230CF0F97263
หลังจากลงทะเบียนแล้ว Google จะส่งลิงก์ไปที่อีเมลของคุณ 1 ชั่วโมงก่อนเริ่มกิจกรรม เพื่อให้คุณ log in เข้าสู่ระบบการสัมมนาออนไลน์
ขอบคุณและหวังว่าเราจะได้พบกัน
ทีมงาน Google AdWords
แผนทีประเทศไทยใน Google แผนที่ดีขึ้นกว่าเดิม ~ Building Better Maps in Thailand
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556
Please scroll for English
คุณเคยยืนอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือเปล่า และกำลังมองหาเส้นทางเพื่อข้ามแม่น้ำ เดินทางไปยังพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว วันนี้เราเปิดตัวแผนที่สำหรับประเทศไทยที่ครอบคลุมและมีความแม่นยำขึ้นเพื่อให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวเองก็ตามได้พบสิ่งที่จำเป็น และหาทางไปยังสถานที่ที่พวกเขาต้องการไปถึงได้ง่ายกว่าเดิม
ลิง
ก์ไปยังตำแหน่งของสถานที่ที่ระบุไว้ในแผนที่นี้
การอัพเดตแผนที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคท์ “
Ground Truth
” ที่เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2551 ที่เป็นภารกิจต่อเนื่องของเราเพื่อมอบแผนที่ออนไลน์ที่มีความครอบคลุมและถูกต้องแม่นยำมากที่สุดให้กับผู้ใช้ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้ ตลอดระยะของโปรเจคเรารวบรวมแผนที่คุณภาพสูงทั่วโลกจากแหล่งข้อมูลแผนที่ที่ได้รับการรับรองและนำมาปรับให้เหมาะสมด้วยอัลกอริธึ่มชั้นสูง เพิ่มข้อมูลแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ (รวมถึงภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศและภาพสตรีทวิว) ผนวกกับการเพิ่มเติมจากผู้ใช้เพื่อทำให้เกิดเป็นแผนที่ที่สะท้อนโลกแห่งความเป็นจริงให้ใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ดังตัวอย่างเช่น แผนที่ประเทศไทยที่อัปเดตใหม่นี้ให้ข้อมูลของบริเวณศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครดังภาพที่แสดงอยู่ด้านล่างที่ครอบคลุมมากขึ้น ดังนั้นในโอกาสต่อไปถ้าคุณจำเป็นต้องหาเส้นทางเพื่อข้ามฟากมายังอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาคุณจะเห็นว่ามีรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางเรือด่วนหรือเรือข้ามฟากรวมไปถึงชื่อของท่าเรือต่างๆ ระบุไว้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นคุณยังมองลึกไปถึงยังจุดที่คุณสนใจ เช่น พระบรมมหาราชวัง หรือสถานที่ละแวกใกล้เคียง เช่น วัดโพธิ์ได้ด้วย
ลิง
ก์ไปยังตำแหน่งของสถานที่ที่ระบุไว้ในแผนที่นี้
เรายังเพิ่มเติมข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่นป้ายบนแผนที่ที่เป็นภาษาท้องถิ่น รายละเอียดเขตแนวเลียบชายฝั่ง และไฮไลต์สีสำหรับบริเวณที่เป็นสวนสาธารณะและป่า เป็นต้น ภาพตัวอย่างข้างล่างแสดงแผนที่ของเกาะราวี เกาะอาดัง และเกาะตะรุเตา ที่เป็นภาษาไทยและระบุอีกด้วยว่าทั้งสามเกาะนี้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ลิง
ก์ไปยังตำแหน่งของสถานที่ที่ระบุไว้ในแผนที่นี้
โลกของเราเปลี่ยนไปทุกวันและเราต้องการให้ Google แผนที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ถ้าคุณได้สังเกตุหรือเห็นอะไรบนแผนที่ที่ต้องได้รับการอัพเดตหรือแก้ไข คุณแจ้งให้เรารู้ได้โดยคลิกไปที่ลิงก์ “
รายงานปัญหา
” ที่อยู่มุมขวาด้านล่างของหน้าจอแผนที่ประเทศไทย เราจะพิจารณาความคิดเห็นและคำแนะนำของคุณ และปรับเปลี่ยนในแผนที่ตามความเหมาะสม ซึ่งคุณอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายครั้งในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเราได้พิจารณาความเห็นหรือคำแนะนำของคุณ
การอัปเดตบริการ Google แผนที่ของเราในวันนี้ ยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของหลายๆ เหตุการณ์สำคัญ สำหรับการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อที่จะสร้างให้แผนที่ของเรามีความแม่นยำและครอบคลุมให้ทั่วโลก เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Google แผนที่จะช่วยให้คุณได้สำรวจเส้นทางใน กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เเละจังหวัดอื่นๆ ได้อย่างดี
โพสต์โดย ไบรอัน แมคเคล็นดอน รองประธาน Google แผนที่ และ Google Earth
__________________
Have you ever found yourself standing on the western bank of the Chao Phraya river in Bangkok, looking for a way to get across to the Grand Palace and the Temple of the Emerald Buddha? In order to make it easier for locals and visitors alike to find what they need and get to where they want to go, today we are publishing a more comprehensive and accurate map for Thailand.
Link
to embedded map location
This map update is part of a project called
Ground Truth
that began in 2008 as part of our ongoing quest to provide people everywhere with the world’s most comprehensive and accurate online maps. Through this project, we collect high-quality map data from authoritative sources around the world and then apply a mix of advanced algorithms, supplemental data (including satellite, aerial and Street View imagery), and human input to help create a map that mirrors the real world as closely as possible.
For example, the updated map for Thailand now provides more comprehensive information about the Bangkok city center shown below. So next time you happen to find yourself needing to cross the Chao Phraya River, you’ll be able to see that many ferry routes across the river are now mapped in greater detail, with route names shown and piers clearly marked. You can also pinpoint nearby points of interest, such as the Grand Palace and other sites like Wat Pho (the Temple of the Reclining Buddha).
Link
to embedded map location
We’ve also added many other kinds of new information -- including local-language map labels, detailed coastal outlines, and colored highlights for parks and forests -- in areas across Thailand. For example, the new map shows the popular islands of Ko Rawi, Ko Adang and Ko Tarutao with Thai labels for the first time and displays them as part of the Tarutao National Park.
Link
to embedded map location
Of course, the world is always changing, and we want Google Maps to change with it. If you happen to notice something on the map that needs updating, you can let us know by clicking the
“Report a problem”
link, which is visible today in the lower right corner of your screen when you’re browsing the map of Thailand. We’ll review your comments and make the appropriate changes to the map; you’ll often see the updates take effect within just a few minutes or hours of the time we verify your feedback!
Today’s updated maps are just another milestone on our never-ending journey to bring you the most accurate and comprehensive maps of the entire world. We hope Google Maps will help you explore your way through Bangkok, Chiang Mai, Phuket and more!
Posted by Brian McClendon, VP Google Maps and Google Earth
ร่วมกันฉลองให้กับประเทศที่ 50 ที่มีการเปิดใช้ฟีเจอร์สตรีทวิว ~ Celebrating 50 countries on Street View
วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556
English
ไม่ว่าคุณกำลังวางแผนไปเที่ยวช่วงวันหยุดในฤดูร้อนที่
Colosseum
หรือกำลังสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงที่น่าสนใจสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวครั้งต่อไป ฟีเจอร์สตรีทวิวช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ที่คุณอยากจะเห็นได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งก่อนก้าวเท้าออกจากบ้าน
เราเปิดตัวฟีเจอร์สตรีทวิวในปี 2007 โดยเริ่มที่ 5 เมืองในสหรัฐฯ
เพื่อแสดงให้คุณเห็นสิ่งที่เราเรียกว่าประสบการณ์ “ชีพจรลงเท้า” เเละได้กำลังเติบโตไปสู่การทำให้โครงการนีมีความครอบคลุม, ถูกต้องแม่นยำและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน
วันนี้ เราได้เดินทางมาถึงประเทศในลำดับที่ 50 พร้อมด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์สตรีทวิวในประเทศฮังการีและประเทศเลโซโท และกำลังขยายพื้นที่ครอบคลุมไปยังประเทศโปแลนด์และโรมาเนีย รวมถึงสถานที่อื่นๆ จากทั่วโลก และนี่ยังถือ
เป็นการอัพเดตครั้งใหญ่สุด
ของภาพถ่ายสตรีทวิวที่เราได้มีการบันทึกมา ซึ่งประกอบด้วย ภาพใหม่ และ ภาพที่ได้รับการอัพเดต คิดเป็นระยะทางรวมเกือบ 350,000 ไมล์ (หรือประมาณ 560,000 กิโลเมตร) ผ่าน 14 ประเทศ
ตอนนี้คุณสามารถเดินทางผ่านแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญใจกลางกรุงบูดาเปสต์ เลียบไปกับแม่น้ำดานูป (เเม่น้ำที่แบ่งกั้นเมืองให้เป็นสองเมือง) พร้อมชม
อาคารรัฐสภาของชาวฮังการี
หรือ
สะพานโซ่
อันมีชื่อเสียงได้ด้วย
สะพาน Lánchíd (Chain bridge), ในกรุงบูดาเปสต์
อีกทั้งสมบัติของชาวฮังการีอื่นๆ ที่ได้รับการค้นพบ อันประกอบด้วย
Széchenyi thermal bath
ที่อาบน้ำพุร้อนบำบัดสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ตลอดจนชมความมหัศจรรย์ของ
ปราสาทบูดา
(Buda castle)
ประเทศเลโซโท เป็นประเทศเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วย
ประเทศแอฟริกาใต้
เป็นรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับความสูง 1,000 เมตร หรือมากกว่านั้น เหนือระดับน้ำทะเล ให้คุณได้ลองสำรวจบางภาพถ่ายที่มีลักษณะเป็นหุบเขาที่บันทึกด้วยรถสตรีทวิว ประกอบด้วย
winding roads
และ
lakes
เขต Leribe ในประเทศเลโซโท
และยังมีพื้นที่ที่น่าสนใจอื่นๆ ประกอบด้วย
Lesotho Evangelical Church
หนึ่งในโบสถ์คริสต์นิกายโปรเตนสแตนส์ที่เก่าแก่ที่สุดในแอฟริกา สร้างขึ้นในปี 1833 โดยมิสชันนารีจากกรุงปารีส พร้อมด้วย
สถาปัตยกรรมอันเก่าเเก่
ในเมือง Nkesi, เขต Maseru
เราได้ทำการอัพเดตและเพิ่มเติมภาพถ่ายสตรีทวิวในประเทศฝรั่งเศส อิตาลี โรมาเนีย รัสเซีย สิงคโปร์ และ ประเทศไทย รวมถึงได้เพิ่มชุดภาพถ่ายคอลเลกชั่นพิเศษ ในจุดต่างๆ โดยบันทึกผ่านเทคโนโลยีของ
จักรยานสามล้อ
(Street View Trike) ประกอบด้วย
พระราชวังแห่งชาติ Pena ในโปรตุเกส
หรือ
วัดเชอกุง
ในฮ่องกง หรือ
ปราสาทคิลเคนนี่ ในประเทศไอร์แลนด์
ปราสาท Kilkenny ประเทศไอร์แลนด์
เริ่มจากไม่กี่
เมืองในสหรัฐฯ
จนมาถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 6 ปีที่เราได้อัพเดท Google แผนที่ให้คุณได้เรียกดูและชมเมืองและหมู่บ้านหลายพันแห่งทั่วโลกได้ผ่านสตรีทวิว ตั้งเเต่
ทวีปแอนตาร์กติกา
ไปยัง
ประเทศออสเตรเลีย
จาก
ประเทศเกาหลีใต้
ไปยัง
ประเทศแอฟริกาใต้
จาก
จุดสูงสุดที่ปกคลุมด้วยหิมะบนยอดเขาเอเวอเรสต์
ไปจนถึง
แนวประการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ
(
Great Barrier Reef
) ให้คุณได้ท่องไปไกลด้วยระยะทางรวมมากกว่า 5 ล้านไมล์ทั่วโลก โดยไม่ต้องก้าวออกจากบ้านไปไหน
หมุนโลกได้ด้วยมือคุณเองได้แล้ว... และให้คุณได้เป็นหนึ่งในนักเดินทางไปยัง 50 ประเทศ
ผ่านฟีเจอร์ สตรีทวิว
โพสต์โดย ยูอีฟ สปิทเซอร์ ผู้จัดการโครงการ Google สตรีทวิว
บันทึกจากหลังคาโลก: เบื้องหลังการเดินทางสู่แหล่งมรดกโลกล่าสุด บน Google แผนที่ ~ Notes from the top of the world
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556
English
เร็วๆนี้เราได้เปิดตัว
ชุดภาพถ่ายบางส่วนของเทือกเขาที่โด่งดังและมีชื่อเสียงที่สุด
บนโลกใบนี้ ใน Google แผนที่ ฉันโชคดีสุดๆ ที่ได้เป็นส่วนนึงของทีม ที่ได้เดินทางท่องไปรอบโลกเพื่อบันทึกภาพและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ของภูเขาด้วยตัวเอง
ฉันชื่นชอบการผจญภัยอยู่ตลอด เมื่อตอนเพื่อนร่วมงานถามฉันในปี 2011 ว่า คุณอยากเดินทางไปกับทริปเอเวอเรสต์ เบสแคมป์ (Everest Base Camp) ด้วยกันไหม ฉันตอบตกลงทันที และเราก็ช่วยกันคัดเลือกผู้ที่จะร่วมเดินทางไปกับเราทั้งจากพนักงาน Google และผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจ จากนั้นก็ทราบว่า เราสามารถบันทึกภาพถ่ายจากการเดินทางนี้ไปไว้บน Google แผนที่ ด้วยกล้องดิจิตอลและขาตั้งได้ ซึ่งเราจัดเเจงข้าวของจำนวนมหาศาลลงกระเป๋า โหลดกล้องต่างๆ และชุดปีนเขาขึ้นเครื่องบินและเริงร่าเหิรฟ้าสู่ประเทศเนปาล
[
รูปภาพของเครื่องบินเล็ก
]
รูปภาพ: สนามบิน เทนซิง-ฮิลลารี่
สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก
การผจญภัยของเราเริ่มขึ้นในช่วงการเดินทางไปยังเอเวอเรสต์ เบสแคมป์ สถานที่ที่เราใช้เวลาถึง 12 วันเต็มๆ ต่อสู้กับโรคกลัวความสูง แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม พายุหิมะ และน้ำท่วมฉับพลัน ระดับความสูงของน้ำทะเลที่เราไปถึง คือ 18,192 ฟุต สูงกว่าทุกๆ พื้นที่ในอเมริกาที่เชื่อมต่อกัน เราปีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทางรวมไม่ต่ำกว่า 70 ไมล์ (ประมาณ 50 ชั่วโมง) ในระหว่างทริปนี้ ในมือพวกเราถืออุปกรณ์กล้องไปในทุกๆ ที่ และบันทึกภาพแบบพาโนราม่ากับจุดที่สำคัญๆ ของแคมป์ และจุดอื่นๆ ที่น่าสนใจระหว่างเราหยุดพัก ด้านล่างคือบางส่วนของข้อความที่ตัดตอนมาเล่าประสบการณ์สู่กันฟัง
[Group shot]
ภาพถ่าย: ที่สวดมนต์ของชาวพุทธนอกเมืองลุคลา
วันที่ 2: เป็นวันที่เราเดินทางมาถึงเมือง นัมเจ บาร์ซาร์ “ประตูสู่จุดสูงสุดของฮิมาลายา” มันเป็นเมืองขนาดกำลังเหมาะเชียวล่ะมีโรงเเรมมากมาย รวมถึงร้านค้าเเละร้านขายยา นักปีนเขาหลายคนหยุดพักที่นี่ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสภาพความสูงก่อนเดินทางสู่ยอดเขาเอเวอร์เรส
ซึ่งระหว่างที่เราพักแรมที่นี่ ได้เกิดเหตุ
แผ่นดินไหวถึง 6.9 ริกเตอร์
มันน่ากลัวมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณทราบว่า อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเเละอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินเหมือนที่บ้านในแคลิฟอร์เนีย เราโชคดีที่ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยตอนอยู่ที่นี่
[รูปถ่ายแบบฟิชอาย เมืองนัมเจ บาร์ซาร์]
รูปภาพ: เมืองนัมเจ บาร์ซาร์แบบฟิชอาย
วันที่ 3: เราตื่นขึ้นมาพร้อมกับเช้าอันสดใส เทือกเขาอันน่าตื่นตาตื่นใจ เราใช้เวลาทั้งวันเก็บบันทึกภาพต่างๆ ของเมืองด้วยกล้องสตรีทวิว และบันทึกไว้บนแผนที่อย่างพิถีพิถัน ซึ่งจะทำให้พวกเราจดจำได้ว่าเราบันทึกอะไรไว้บ้างตอนกลับไปสู่พื้ราบที่ระดับน้ำทะเลปกติ เราทุกๆ คน รวมทั้งฉัน รู้สึกได้ดีถึงผลกระทบที่ได้รับจากระดับความสูงเช่นนี้ (ส่วนใหญ่จะคลื่นไส้เเละปวดหัว) และเรามาถึงเกือบ 11,000 ฟุตเข้าให้เเล้ว
[Sara and Andrew with Ama Dablam in background]
Caption: Googlers Sara Pelosi and Andrew Swerdlow with Ama Dablam looming in the distance
[
ซาร่าและแอนดรู กับเอม่า ดาแบรม ที่เป็นฉากหลัง
]
ภาพถ่าย: พนักงาน Google ซาร่า เปโรซี่ และแอนดรู สเวิดโร่ กับ เอม่า ดาแบรม ที่กำลังเตรียมเดินทาง
วันที่ 4: เป็นเช้าที่พวกเราเดินทางกันได้สะดวกมากๆ ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางเดินตัดสันเขา หลังจากที่เราหยุดพักดื่มชา จากนั้นก็ต้อง ปีนขึ้นๆ ลงๆ เป็นระยะเวลาที่นานพอดู ตามคำเเนะนำของไกด์ ซึ่งพวกเราทั้งหมดต้องทำตาม เรามาหยุดพักทานข้าวเที่ยงอีกครั้งที่เมืองเทงโบเช่ (Tengboche) และถ่ายภาพวัดวาอารามต่างๆ ด้วยเลนส์ฟิชอาย มันเป็นสถานที่ที่สุดยอดมากๆ พระจำนวนมากมามองดูพวกเราใกล้ๆ ตอนเราเดินไปถ่ายรูปรอบๆ ฉันไม่แน่ใจนักว่าเค้าสนใจพวกเราที่เป็นคนอเมริกันหรือการถ่ายรูปกันเเน่
และแล้วเราก็เดินทางไปกันต่อ ไปยังปังบอเช่ (Pangboche) สถานที่พักแรมในคืนนี้ เมื่อเรามาถึงเมืองปังบอเช่ เราได้เห็นรุ้งกินน้ำที่พาดไปยังท้องฟ้าสีคราม ฉันยังมองโลกในแง่ดีว่า เราจะได้เห็นอะไรที่สุดยอดเมื่อไปถึงยังจุดสูงที่สุดของยอดเขาเอเวอร์เรส ไกด์บอกกับพวกเราว่า “เป็นไปได้นะ” ซึ่งเราทราบเเล้ว่ามันเป็นคำตอบในทุกๆ คำถามของเราที่ได้รับจากไกด์ เราไม่เคยมาถึงที่ความสูงระดับ 13,000 ฟุต ณ ที่นี่เลย และหนทางยังอีกยาวไกลนัก
[
ภาพวัดจากการเดินทางสู่ยอดเขาเอเวอร์เรท แบบพาโนราม่า
]
รูปภาพ: วัดเทงบอเช่ (Tengboche)
วันที่ 8: เราออกเดินทางตั้งเเต่เช้าตรู่ และใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการไต่เขา จนเรามาถึงหมู่บ้านเล็กๆ ที่เรียกว่า โกรัค ชีฟ (Gorak Shep) ซึ่งต้องไต่เขาในแนวราบไปตามแม่น้ำ ใช้เวลาหลายชั่วโมง และต้องปีนเขาที่สูงชันมาก เมื่อเรามาถึง เบส แคมป์ (Base Camp) มันเป็นความรู้สึกที่สุดยอดมาก เราได้ทำเรื่องที่เป็นที่สุดของโลก เราจะไม่สามารถเดินทางมาถึงที่นี่ได้ ถ้าเราไม่มีไกด์ผู้เชี่ยวชาญและลูกหาบที่มีความรู้เรื่องภูเขา เหมือนกับที่นี่อยู่บนหลังมือของพวกเขา และที่สำคัญ ช่วยทำให้การเดินทางในครั้งนี้ของเราประสบความสำเร็จเเละปลอดภัย ฉันขอหยุดความเพลิดเพลินนี้ไว้ก่อน และมุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุผลสำเร็จต่อไป - กับการถ่ายภาพ เบส แคมป์ (Base Camp) ที่พวกเราเดินทางไปถึงจุดสุดยอดจริงและได้ตั้งค่ายจริงๆ
[
เหล่านักเดินทาง
]
รูปภาพ: นักเดินป่าบนยอดเขาเอเวอร์เรสกับสุดยอดไกด์ของเรา
เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันนี้ภาพถ่ายอันน่ามหัศจรรย์นี้ให้กับคุณบน Google แผนที่ และแสดงให้โลกเห็นว่าชีวิตก็เหมือนมาจากจุดที่สูงที่สุด ชมรูปภาพเพิ่มเติมที่จากคอลเลคชั่นนี้ ที่
อัลบั้มสตรีทวิว
หรือดาวน์โหลด Google แผนที่
บนอุปกรณ์ไอโฟน
หรือ
แอนดรอยด์ของคุณ
โพสต์โดย ซาร่า เปโรซี่, ผู้จัดการโปรแกรมบุคคล และตัวแทนของทีมนักเดินทาง
ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ ~ Fighting human trafficking
วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556
English
การค้ามนุษย์ ยาเสพย์ติดและลักลอบค้าอาวุธ มีความเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ เป็นการกระทำที่มีเจตนาชั่วร้ายเพื่อสร้างความขัดแย้ง ความไม่มั่นคงและกระตุ้นการปราบปรามทั่วโลก ทั้งหลายทั้งปวงข้างต้นนี้ การค้ามนุษย์อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่ง่เลวร้ายที่สุดอันที่ทำให้คนเกือบ 21 ล้านคนตกเป็นทาส และ
สร้างรายได้
ที่น่ารังเกียจในแต่ละปีได้ถึง 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่
งานประชุมสุดยอด
Google Ideas
เมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาในหัวข้อ
ผังเครือข่ายการลักลอบและเปิดโปงเครือข่ายของขบวนการอันเลวร้าย
ได้ความเข้าใจร่วมกันว่าการเชื่อมโยงความช่วยเหลือเพื่อต่อต้านขบวนการลักลอบด้วยความร่วมมือแบ่งปันข้อมูลระดับโลกอาจเป็นการช่วยระบุรูปแบบการทำงานต่างๆ ของกลุ่มอาชญากรนี้ และช่วยให้เหยื่อจากการกระทำเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใดบนโลกได้รับความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ในวันนี้โครงการ
Polaris Project
โครงการ
Liberty Asia
และองค์กร
La Strada International
ได้รับรางวัล
Global Impact Award
เป็นเงินกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Google เพื่อดำเนินการใดๆ ในการต่อต้านกระบวนการค้ามนุษย์และช่วยเหลือเหยื่อเหล่านั้น ซึ่งเมื่อรวมกับ
เงินบริจาคของเราในปี 2011
ทำให้คำมั่นสัญญาของเราที่มีต่อความพยายามในการต่อต้านการค้ามนุษย์นั้นรวมกันเป็นเงิน 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รางวัล Global Impact Awards สนับสนุนองค์กรไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรอาสาสมัครเอกชนต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาแนวทางหรือโซโลชั่นต่างๆ ในแต่ละภาคส่วน เรา
เปิดตัว
โปรแกรม Global Impact Award เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับความคิดต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในภาพใหญ่ และที่
งานประชุมสุดยอด Google Ideas INFO
ในช่วงฤดูร้อนเราได้นำทั้งเทคโนโลยีมากมาย ผู้นำต่างๆ รวมไปถึงผู้คนที่มีประสบการณ์ส่วนตัวอันหลากหลาย — รวมไปถึงอดีตตัวแทนผู้ค้าอาวุธ และเหยื่อที่รอดมาจากการถูกกระทำของขบวนการค้ามนุษย์ต่างๆ — มาร่วมกันมองไปที่เครือข่ายต้องห้ามเหล่านี้และหาคำจำกัดความของอุปสรรคต่างๆ ด้วยการนำคนทำงานด้านเทคโนโลยีมาเชื่อมกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ พร้อมกับคนที่เข้าใจและใช้ชีวิตผ่านพ้นสถานการณ์เหล่านั้นมาได้ ทำให้หัวข้อสนทนาของเราที่งานนั้นมีศูนย์กลางร่วมกันที่คำถามพื้นฐานว่า ถ้าคนในชุมชน ประชาชนของแต่ละชาติและระดับภูมิภาคร่วมด้วยช่วยกันเพื่อต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ โดยเชื่อมโยงกันในระดับโลกด้วยเครือข่ายข้อมูลจะขัดขวางกระบวนการค้ามนุษย์ได้ขนาดไหน
เราทำงานร่วมกับโครงการ Polaris Project โครงการ Liberty Asia และองค์กร La Strada International มาตั้งแต่หลังการประชุมครั้งนั้นเพื่อให้แนวคิดที่นำเสนอมานั้นเกิดขึ้นจริง องค์กรเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อใช้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่เหยื่อต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และยุโรป ในตอนนี้เครือข่ายสายด่วน Global Human Trafficking Hotline Network จะรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานฮอตไลน์ต่างๆ ทั่วโลก แบ่งปันขั้นตอนการปฏิบัติ และร่วมกันสร้างกลยุทธ์เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะสร้างอยู่บนแนวทางและมุมมองร่วมกันในการยับย้ั้ง การป้องกัน และการคุ้มครองเหยื่อ เพื่อขยายความสามารถขององค์กรที่่ร่วมมือกันให้สามารถแบ่งปัน วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติจากข้อมูล ณ เวลาจริงของพวกเขา
Palantir Technologies
จะขยายความมสัมพันธ์กับโครงการ Polaris ด้วยการบริจาคแพลตฟอร์มการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับโครงการนี้ นอกจากนั้น
Salesforce.com
ให้การสนับสนุนศูนย์สายด่วนของโครงการ Polaris Prject และช่วยขยายขีดความสามารถให้กับโครงสร้างพื้นฐานการติดตามการแจ้งเหตุในระดับนานาชาติอีกด้วย
พันธมิตรเหล่านี้ไม่เพียงแค่ช่วยเหยื่อที่รอดจากการค้ามนุษย์แต่ยังขับเคลื่อนให้ทั่วโลกได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ข้อมูลที่เหมาะสมสามารถบอกชุมชนของคนต่อต้านการค้ามนุษย์ได้ว่าแคมเปญต่อต้านใดให้ผลกับการลดการค้าทาสได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หน่วยงานใดมีประสบการณ์เกี่ยวกับการด่อต้านการค้าทาส หรือหากการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศหนึ่งกลับทำให้การค้ามนุษย์ในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น
โครงการ Polaris Project ในสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมข้อมูลจากศูนย์สายด่วนจากการโทรเข้ามากว่า 72,000 ครั้ง ช่วยให้ชุมชนในท้องถิ่นและระดับชาติให้เข้าใจกระบวนการและความเคลื่อนไหวของอาชญากรประเภทนี้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่เคยมีข้อมูลในลักษณะนี้ในระดับโลก กลยุทธ์การต่อต้านที่ชัดเจนในระดับนานาชาติ การเพิ่มความร่วมมือ และการแบ่งปันข้อมูลที่เหมาะสมระหว่างองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์จะช่วยเหลือเหยื่อ สร้างความพยายามในการป้องกัน และส่งเสียงไปยังการกำหนดนโยบายต่างๆ เราสามารถหยุดยั้งการค้าทาสได้ เรามาร่วมต่อต้านการค้าทาสด้วยกัน
โพสต์โดย จาเร็ด โคเฮน
ผู้อำนวยการ Google Ideas และ แจ็กเกอลีน ฟูลเลอร์ ผู้อำนวยการ Director of Google Giving
พิสูจน์แล้วอย่างจริงเเท้บนคลาวด์: Gmail ทำงานได้ไม่มีสะดุดตลอดปี 2012 ~ Pure and Proven Cloud: Gmail Availability in 2012
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
English
ธุรกิจเป็นจำนวนล้านๆ ราย จากทั่วโลก ไว้วางใจ Google Apps ช่วยทำงานให้สำเร็จในทุกๆวัน
ซึ่งคล้ายกันกับการรักษาให้ Google การค้นหา มีผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น การทำให้ Google Apps สามารถใช้งานได้ในทุกที่ (และทุกเวลา) ตามที่คุณต้องการได้อย่างไม่สะดุด คือภารกิจที่สำคัญที่สุดของเรา
สำหรับลูกค้าที่ใช้งาน Google Apps ทั้งเพื่อการทำธุรกิจ เพื่อการศึกษาหรือการใช้ในภาครัฐบาล เรารับรองคุณภาพการทำงานได้ที่ 99.9% โดยไม่มีแม้เเต่การเสียเวลามาซ่อมเเซมระบบแม้เเต่น้อย ซึ่งข้อมูลจากในปี
2010
และ
2011
ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ดีกว่าการยืนยันนี้ของเรา และมันเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว
ในปี 2012 บริการ Gmail ประสบความสำเร็จถึง 99.983% โดยสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีสะดุด ขณะเดี่ยวกับที่มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ มากมายอยู่ตลอด นั่นแปลว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่เพียง 7 นาทีต่อเดือนที่บริการเกิดการหยุดชะงัก ซึ่งผู้ใช้แทบจะทุกคนไม่ทันได้รู้ตัวด้วยซ้ำ
เราภูมิใจกับความสำเร็จที่พิสูจน์มาแล้วของเรา เเต่เราก็รู้ว่างานของพวกเราไม่เคยมีวันจบ ทุกผลิตภัณฑ์และบริการของเราสร้างขึ้นจากผู้คน -- และเพราะว่าไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบไปทุกอย่าง แล้วก็ไม่มีเทคโนโลยีอันไหนที่สมบุรณ์แบบเหมือนกัน
เราทำงานหนักเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการติดขัดหรือสะดุดใดๆ จะเกิดขึ้นน้อยที่สุด หรือหากเกิดขึ้นก็อยุ่ในขอบเขตที่จัดการได้และได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามหากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นเราก็จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ใช้ของเราได้รับทราบ ท้ายที่สุดนี้คุณจะดูสถานะของบริการ Google Apps ในปัจจุบันได้ที่
แดชบอร์ดสถานะของ Google Apps
ได้ตลอดเวลาตามต้องการ
โพสต์โดย เวนคัท พันจาปาคีสัน รองประธานฝ่ายวิศวกรรม
กรอกสารพัดฟอร์มได้จากทุกที่ และเร็วกว่าเดิม ~ Fill out forms faster, from anywhere
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556
English
สำหรับคนขี้ลืม จำพาสเวิร์ดอะไรไม่ค่อยจะได้หรือเกร็งๆ ตอนพิมพ์ที่อยู่ตัวเองในเเบบฟอร์มสารพัดในช่องเล็กๆ บนหน้าจอของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต วันนี้ Chrome บนแอนดรอยด์ได้ปรับปรุงให้เสถียรกว่าเดิมเพื่อผู้ใช้ โดยให้คุณสามารถเข้าถึง พาสเวิร์ดต่างๆ ที่บันทึกไว้เเล้ว และกรอกรายการต่างๆ แบบอัตโนมัติที่คุณใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ ที่ลงชื่อใช้งาน Chrome ไว้เเล้ว ตอนนี้ คุณจะเรียกดูข้อมูลพวกนั้นได้จากทั้งบนมือถือเเละเเเท็บเล็ต ฟีเจอร์ใหม่นี้จะเปิดตัวในอีกสองสามวันข้างหน้า ดังนั้นคุณอาจจะยังไม่เห็นทันทีหลังจากอัพเกรด
ก่อนจะลองใช้ดูให้แน่ใจว่า คุณได้ลงชื่อเข้าใช้ Chrome จากทั้งบนเดสก์ท็อปเเละอุปกรณ์โมบายส์ ซึ่งหมายถึงคุณได้อยู่บน Chrome เวอร์ชั่นล่าสุดบนหน้าเดสก์ท็อปแล้ว นอกจากความสามารถในการซิงค์พาสเวิร์ดต่างๆ และกรอกรายการแบบอัตโนมัติแล้ว ลองเช็คดูสิว่าอะไรที่คุณยังทำได้อีกเมื่อลงชื่อเข้าใช้งาน Chrome จากวิดีโอด้านล่าง
เหมือนเช่นเคย คุณสามารถ
จัดการ
การลงชื่อใช้งานของคุณได้ที่ “การตั้งค่า” และเรายินดีรับฟังผลตอบรับของ Chrome สำหรับแอนดรอยด์ เวอร์ชั่นล่าสุดจากคุณเสมอ ซึ่งพร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วที่
Google Play
โพสต์โดย คริส ฮอพมัน วิศวกร
บริการ Google การค้นหา รองรับภาษาพม่าแล้ว ~ Google Search now supports Myanmar (Burmese) language
วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
Please scroll for English
ขณะที่ผู้ใช้ของเรามีการใช้ภาษาพม่าในการค้นหาสิ่งต่างๆ ผ่านบริการ Google การค้นหา เสมอ
และวันนี้ หน้าอินเทอร์เฟช บน Google ได้ปรับเปลี่ยนเป็นภาษาพม่าเรียบร้อยเเล้ว บนหน้าโฮมเพจใหม่ ที่
www.google.com.mm
มีผู้ใช้ภาษาพม่ามากกว่า 40 ล้านคน แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพม่ายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1% ดังนั้นการสนับสนุนภาษาพม่าจะเป็นไปในทิศทางที่ก้าวหน้าเพื่อช่วยเหลือชาวพม่าและผู้ที่ใช้ภาษาพม่า เข้าสู่โลกผ่านออนไลน์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ และได้สร้างเนื้อหาที่เเบ่งบันให้กับคนทั่วโลกได้
Google ได้นำตัวอักษรตัวอย่างที่ชื่อว่า Myanmar 3 หรือ (MM3) ซึ่งเป็นอักขระมาตรฐานสากล ที่สอดคล้องกับทุกโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ (Unicode-compliant ) และสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในพม่าได้ อาทิ ภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง ภาษาบาลี ภาษาปะหล่องรูไม และ ภาษาไทยใหญ่ และสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีแป้นพิมพ์ที่รองรับอักขระดังกล่าว ซึ่งเราได้ใส่ไว้ในแป้นพิมพ์เสมือนในกล่องค้นหาเรียบร้อยแล้ว
ขอขอบคุณเป็นพิเศษ ในความร่วมมือของ มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation) องค์กรประชาธิปไตยดิจิตอล (Digital Democracy) บริษัท Information Matrix และทุกๆ ท่าน รวมถึงอาสาสมัครมากมายที่เสียสละเวลา ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และความชำนาญ ที่ทำให้การเปิดตัวในวันนี้เกิดขึ้นได้ Google ยินดีต้อนรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกท่านที่เริ่มค้นหาครั้งเเรก
เป็นภาษาพม่า
โพสต์โดย ไบรอัน เคมเลอร์ ผู้จัดการฝ่ายโครงการและอาสาสมัครสากล
___________________________
While our users have always been able to search Google using the Burmese script, today Google’s interface will be presented in Myanmar (Burmese) by default to users in Myanmar on a new homepage
www.google.com.mm
There are more than 40 million Myanmar (Burmese) speakers and yet Internet penetration in Myanmar is less than 1%. It is our hope that by supporting this language, we can help the people of Myanmar and Myanmar (Burmese) speakers come online, access useful information and create content that can be shared with the world.
Google has adopted the Unicode-compliant Myanmar 3 Font (MM3), an international standard, which also supports the other languages of Myanmar; Mon, Karen, Kayah, Pali, Rumai Palaung and Shan. For those without a Unicode-compatible keyboard, we’ve included a new virtual keyboard in the search box itself.
Special thanks to The Asia Foundation, Digital Democracy, Information Matrix and most of all, the volunteers who dedicated their time, energy and expertise to making this launch possible. Google offers a warm welcome to those accessing the Internet for the first time in Myanmar.
Post by Brian Kemler, Program Manager and internationalization volunteer
ป้ายกำกับ
+1
2
#10YearsofYouTube
28
#2013 in Search
2
3D city maps
1
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
1
การค้นหา
1
การปิดกั้นโฆษณา
1
คลาวด์
1
คู่มือโมบายส์
1
โครงการภาษาที่ใกล้จะสูญหาย
1
โซเชียลแพลทฟอร์ม
1
ไซต์ไกสต์
1
เดวิด เบ็คแฮม
1
ตามรอยพระราชา
1
ทูตนักศึกษาของ Google
1
ธุรกิจไทยโกออนไลน์
2
ธุรกิจไทย GO ONLINE
2
นโยบายความเป็นส่วนตัว
1
นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว
1
นานาน่ารู้
1
ประเทศไทย
1
ปรากฎการณ์ทางดนตรี
1
พี่เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์
2
ภาษาพม่า
1
ภาษาลาว
1
มือถือ
1
โมบายส์แอพ
1
ยอดคุณแม่ยุคไอที
1
รามเกียรติ์
1
รามายณะ
1
รายงานความโปร่งใส
1
ลอนดอนเกมส์ 2012
1
ลิขสิทธิ์
1
ลิขสิทธิ์ในการค้นหา
1
วันครู
1
วันเด็กไทย
2
วันปีใหม่ไทย
1
วันพืชมงคล
1
#วันภาษาไทยแห่งชาติ
1
วันสงกรานต์
1
วันแห่งการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
1
วันแห่งความรัก
1
วันเเม่เเห่งชาติสากล
1
วาเลนไทน์
1
วิดีโอแชท
1
ศิลปิน K-Pop
1
#สตรีทวิว
5
อินเทอร์เน็ต
1
แฮงเอาท์
1
access
1
AdMob
1
AdSense feature
1
AdSense Payment
1
#adsleaderboard #leaderboard #thailand
1
advertising
2
AdWords
6
#AdWords #webinar #GoogleAdWords
1
AdWords Weekly Update
13
After School
1
agency
1
AI
1
Amit Singhal
1
Android
6
#AndroidOne
1
Andy Rubin
1
Antarctica
1
Apps for EDU
3
Beast
1
#Birthday
2
#BKKvote #เลือกตั้ง #ผู้ว่ากรุงเทพฯ #vote
1
black hat webspam
1
Brands
1
Build The Memory
1
Burmese
1
CBS
1
Censorship
1
Child Protection
1
Children's Day
1
#ChildrensDay2013
1
Chrome
10
#Chromebooks #GoogleTH
1
Chrome. #chromies
1
Chrome experiments
2
Chrome for Android
2
Chrome Web Lab
1
Chrome Web Store
2
#Chromies
3
Chulalongkorn Business School
1
Cloud
2
Cloud Computing
1
Computer Crimes Act
1
Consumer Product
2
Cool IT
1
Copyright
1
Cotto
1
#CreatorsForChange
1
Crisis Response
4
Culture
7
#DatallyByGoogle
2
David Beckham
1
Developers
4
DevFest
1
digital creativity
1
Digital insights
2
Disaster Relief
5
Display Ads Builder
1
Doodle
1
doodle 4 google
5
Drive
1
Education
1
Employment
1
Endangered Languages Project
1
Entrepreneurs
1
Environment
1
Evolution of Search
2
Family Safety
2
favourite places
1
#FilesGo
1
forms
1
Freedom of expression
2
free Internet
1
g|thailand
1
Gadgets
1
Galapagos
1
#gappschallenge
1
GASP
1
GCP
1
GDG
1
Get You Google Back
1
#Gmail
7
#Gmailtips
3
GMM Grammy
1
Go Google
1
GoMo
3
Go Mobile
3
#GoMoTH
2
Good To Know
1
Google
7
Google+
23
Google+ ใหม่
1
Google+ แฮงเอาท์
1
Google+ for business
1
Google+ for iPad
1
Google+ for iPhone
2
Google+ Mobile Website
1
Google ข่าวสาร
1
Google ไดรฟ์
1
Google แปลภาษา
2
Google แผนที่
10
Google แผนที่สำหรับไอโฟน
1
Google เพื่อการศึกษา
1
Google สตรีทวิว
2
Google AdSense
5
google adwords
28
google alerts
1
Google Ambassador Program
1
Google Analytics
2
Google Apps
3
Google Apps เพื่อการศึกษา
1
Google Apps สำหรับการศึกษา
2
Google Apps Developer Challenge
2
Google Apps for Education
3
Google Apps For NGOs
1
Google Art Project
2
Google Arts and Culture
1
Google Assistant
2
Google Campus Ambassador
1
#GoogleCardboard
1
Google Certification Program
1
google chrome
12
Google Classroom
1
Google Cultural Institute
1
Google Currents
1
Google Display Network
2
Google Docs
1
#Google Doodle
10
Google Drive
4
google earth
9
Google Earth for mobile
1
Google EDU
1
Google Engage
1
Google Flights
1
#GoogleForEducation
1
Google for Entrepreneurs
1
Google For Non-Profits
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate #loveyourlanguage
3
Google Guru
1
Google Handwrite
3
Google in Asia
3
#Google #IndoorMaps #GoogleMaps #Thailand #Shopping
1
Google Keep
1
#Googlelovesmom #GoogleTH #YouTubeTH
1
google maps
31
#GoogleMaps
8
Google Maps for iOS
3
Google Maps for iPhone
1
#GoogleMaps #GoogleTH
2
Google Maps on Android
2
Google Maps on mobile
1
googlenew
1
Google News
2
Google Now
1
Google Photography Prize
1
Google Play
1
#GooglePlayNewsstand
1
Google Plus
6
Google Plus Pages
3
Google Scholarship
1
Google Search
18
Google Street Roo
1
#GoogleStreetView
1
#GoogleStreetview #GoogleTH
2
Google Student Ambassadors
1
google summer of code
1
#GoogleTH
5
#GoogleTH #Gmail
1
#GoogleTH #GoogleMaps #LocalGuides
1
#GoogleTH #GoogleStreetView
1
#GoogleTH #GoogleStreetView #GoogleTourismTH
1
#Googleth #Yearinsearch2015
1
Google Trader
1
Google Transit
2
Google Translate
5
#GoogleTranslateCommunity
2
Google Trends
1
#GoogleTrends #GoogleTH
1
#googleupdate
1
Google Voice Search
1
#Google Zeitgeist
2
Googlies Award
1
Go Online
1
Grand Canyons
1
Greenpeace
1
GTBO
1
#gthailand
1
GTUG
1
hackathon
1
Hangouts
5
#HBDChrome
4
#HBDYouTube
15
#HBDYouTubeTH
15
How Search Works
1
HTML5
1
#iconicaudition
2
Iconic Online Audition
1
#IconicRecords
1
igoogle
1
Independent learning
1
INFINITE
1
Innovation Idols
1
#InnovationTH
1
Innovation Thailand
1
Innovation Thailand Report
1
insights for search
4
Internet
1
Internet economy
1
iOS
1
iPhone
1
IPv6
1
Japan Earthquake
1
Jobs
1
#kidday2013
1
King's Birthday
1
Knowledge Graph
1
K-Pop
1
languages
2
Laos
1
Launchpad Accelerator
2
#MarioMaps
1
#MFUgoesGoogle
1
Milan Design Week
1
mobile
4
Mobile World Congress
1
mobilised website
1
mobilized website
1
moonshot
1
moonshot thinking
1
#morethanamap
1
Mother's Day
1
Mum
1
Myanmar
1
My Places
1
Nelson Mandela
1
Nelson Mandela Archives
1
Nelson Mandela Centre of Memory
1
New AdSense Interface
1
new look Google+
1
new year resolutions
1
Next Billion Users
2
Nexus
1
Online for Floods
1
online marketing
1
open Internet
1
OTPC
1
Personal Search
1
#PhotoSpheres
1
Photo Tours
1
PIPA
1
#prideforeveryone #YouTubeTH
1
privacy
3
privacy policy
3
Product Launch
2
#ProudToBe #YouTubeTH
2
#racer
1
Ramayana
1
Reseller
1
#Review
1
#RISE
1
RISE Awards
1
#rollit
1
Royal Ploughing Ceremony
1
Safer Internet Day
2
Safe Search
1
Safety Center
1
Search
1
search engine optimization
1
Search Plus Your World
1
Security
1
SEO
1
#SID2013
1
SISTAR
1
smartphone
1
sme
1
#solveforx
1
Sonkran
1
SOPA
1
South Pole
1
#StarWars
1
#StreetView
3
Sustainability
1
teacher's day
1
#techforgood
3
Technology For Good
2
Thailand
1
Thai Language
2
Thai New Year
1
thai.ramaya.na
1
The Mobile Playbook
1
#thenextbillion
1
Think รายไตรมาส
2
Think Quarterly
2
#Trafficking
1
transparency
1
Transparency Report
1
Trekker
2
Trends
1
Tsunami
1
Valentine's Day
1
virtual keyboard
1
Voice Search
2
weather
1
Webmaster
2
webspam
1
Web Speech API
1
#weloveGmail
1
Western Union
1
white hat SEO
1
Windows 8
1
World Press Freedom Day
1
World Wonders
2
#Yearinsearch2016 #GoogleTH
1
#YearInSearch2017
1
#YearInSearch2018
1
#youtube
4
YouTube
3
YouTube Creators for Change
1
YouTube Go
2
YouTube on iOS
1
#YouTubePopUpSpace
1
#YouTubeRewind #YouTubeTH
2
#YouTubeRunForUNHCR
1
#YouTubeTH
33
#YouTube #YouTubeTH
1
#YTFF
1
Zeitgeist
3
บทความที่ผ่านมา
2019
กุมภาพันธ์
ก.พ. 15
ก.พ. 05
ก.พ. 04
มกราคม
ม.ค. 14
ม.ค. 04
2018
ธันวาคม
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 08
พฤศจิกายน
พ.ย. 27
พ.ย. 12
พ.ย. 09
ตุลาคม
ต.ค. 24
ต.ค. 22
ต.ค. 16
ต.ค. 15
ต.ค. 11
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 24
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 12
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 16
กรกฎาคม
ก.ค. 18
มิถุนายน
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 13
มิ.ย. 05
พฤษภาคม
พ.ค. 23
พ.ค. 16
พ.ค. 11
พ.ค. 08
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 14
มี.ค. 10
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 23
ก.พ. 16
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 18
2017
ธันวาคม
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 07
ธ.ค. 06
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
ตุลาคม
ต.ค. 13
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 21
ก.ย. 20
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 29
ส.ค. 28
ส.ค. 25
ส.ค. 17
ส.ค. 11
ส.ค. 08
ส.ค. 06
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 17
ก.ค. 06
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 08
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 24
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 22
มี.ค. 09
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
ม.ค. 20
ม.ค. 16
2016
ธันวาคม
ธ.ค. 19
ธ.ค. 16
ธ.ค. 14
ธ.ค. 08
ธ.ค. 06
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 22
พ.ย. 16
พ.ย. 08
พ.ย. 07
พ.ย. 04
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 04
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 15
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 25
ส.ค. 19
ส.ค. 16
ส.ค. 10
ส.ค. 05
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 15
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 24
มิ.ย. 23
มิ.ย. 22
พฤษภาคม
พ.ค. 26
พ.ค. 12
พ.ค. 04
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 29
มี.ค. 28
มี.ค. 11
มี.ค. 08
2015
ธันวาคม
ธ.ค. 22
ธ.ค. 16
ธ.ค. 09
ธ.ค. 04
พฤศจิกายน
พ.ย. 24
พ.ย. 20
พ.ย. 16
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 18
ก.ย. 16
ก.ย. 10
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 20
ส.ค. 11
ส.ค. 05
ส.ค. 04
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 14
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 25
มิ.ย. 24
มิ.ย. 12
มิ.ย. 08
มิ.ย. 05
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 28
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 21
พ.ค. 20
พ.ค. 19
พ.ค. 18
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 15
พ.ค. 14
พ.ค. 13
พ.ค. 12
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 07
พ.ค. 01
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 29
เม.ย. 10
เม.ย. 01
มีนาคม
มี.ค. 23
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 05
กุมภาพันธ์
ก.พ. 26
ก.พ. 25
ก.พ. 23
ก.พ. 21
ก.พ. 20
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 15
2014
ธันวาคม
ธ.ค. 23
ธ.ค. 17
ธ.ค. 16
ธ.ค. 11
ธ.ค. 10
ธ.ค. 04
ตุลาคม
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 15
ก.ย. 12
ก.ย. 10
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 14
ส.ค. 13
ส.ค. 08
กรกฎาคม
ก.ค. 08
ก.ค. 02
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 20
มิ.ย. 12
มิ.ย. 11
มิ.ย. 09
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 19
พ.ค. 09
เมษายน
เม.ย. 21
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 18
2013
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 19
ธ.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 21
สิงหาคม
ส.ค. 08
ส.ค. 06
กรกฎาคม
ก.ค. 29
มิถุนายน
มิ.ย. 20
มิ.ย. 18
มิ.ย. 17
มิ.ย. 03
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 28
พ.ค. 07
เมษายน
เม.ย. 29
ขอเชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ "การจัดการเว็บไซต์...
เม.ย. 25
แผนทีประเทศไทยใน Google แผนที่ดีขึ้นกว่าเดิม ~ Bui...
เม.ย. 24
ร่วมกันฉลองให้กับประเทศที่ 50 ที่มีการเปิดใช้ฟีเจอ...
เม.ย. 16
บันทึกจากหลังคาโลก: เบื้องหลังการเดินทางสู่แหล่งมร...
เม.ย. 10
ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ ~ Fighting human trafficki...
เม.ย. 09
พิสูจน์แล้วอย่างจริงเเท้บนคลาวด์: Gmail ทำงานได้ไม...
เม.ย. 05
กรอกสารพัดฟอร์มได้จากทุกที่ และเร็วกว่าเดิม ~ Fill...
เม.ย. 04
บริการ Google การค้นหา รองรับภาษาพม่าแล้ว ~ Google...
มีนาคม
มี.ค. 28
มี.ค. 19
มี.ค. 08
มี.ค. 07
มี.ค. 06
มี.ค. 04
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 25
ก.พ. 21
ก.พ. 19
ก.พ. 18
ก.พ. 15
ก.พ. 06
ก.พ. 05
ก.พ. 04
ก.พ. 01
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 30
ม.ค. 29
ม.ค. 25
ม.ค. 22
ม.ค. 15
2012
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 10
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 27
พ.ย. 26
พ.ย. 21
พ.ย. 10
พ.ย. 08
พ.ย. 02
พ.ย. 01
ตุลาคม
ต.ค. 18
ต.ค. 11
ต.ค. 09
ต.ค. 08
ต.ค. 05
ต.ค. 02
กันยายน
ก.ย. 26
ก.ย. 25
ก.ย. 24
ก.ย. 21
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 11
ก.ย. 10
ก.ย. 07
ก.ย. 06
ก.ย. 05
ก.ย. 04
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 22
ส.ค. 20
ส.ค. 15
ส.ค. 10
ส.ค. 07
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 19
ก.ค. 18
ก.ค. 16
ก.ค. 13
ก.ค. 12
ก.ค. 11
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 21
มิ.ย. 20
มิ.ย. 19
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 14
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 28
พ.ค. 25
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 14
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 04
พ.ค. 03
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 25
เม.ย. 19
เม.ย. 18
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 04
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 06
มี.ค. 05
มี.ค. 01
กุมภาพันธ์
ก.พ. 29
ก.พ. 28
ก.พ. 24
ก.พ. 22
ก.พ. 20
ก.พ. 14
ก.พ. 13
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 27
ม.ค. 23
ม.ค. 21
ม.ค. 18
ม.ค. 16
ม.ค. 14
ม.ค. 11
ม.ค. 06
2011
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 13
ธ.ค. 08
ธ.ค. 05
พฤศจิกายน
พ.ย. 29
พ.ย. 24
พ.ย. 18
พ.ย. 08
พ.ย. 03
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 15
ต.ค. 11
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 23
ก.ย. 13
ก.ย. 02
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 26
ส.ค. 12
มิถุนายน
มิ.ย. 08
เมษายน
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 01
มกราคม
ม.ค. 21
2010
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
ตุลาคม
ต.ค. 29
ต.ค. 12
ต.ค. 06
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 21
ก.ย. 14
ก.ย. 06
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 24
ส.ค. 16
ส.ค. 09
ส.ค. 03
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 20
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 10
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 25
พ.ค. 23
พ.ค. 12
พ.ค. 07
พ.ค. 05
เมษายน
เม.ย. 13
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 23
มี.ค. 11
มี.ค. 05
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 18
2009
ธันวาคม
ธ.ค. 14
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 12
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 22
ต.ค. 15
กันยายน
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 21
ส.ค. 10
กรกฎาคม
ก.ค. 16
ก.ค. 08
ก.ค. 02
มิถุนายน
มิ.ย. 25
มิ.ย. 15
พฤษภาคม
พ.ค. 22
พ.ค. 04
เมษายน
เม.ย. 29
เม.ย. 23
เม.ย. 20
เม.ย. 15
เม.ย. 13
เม.ย. 01
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 27
มี.ค. 11
Feed
Google
on
Follow @googlethailand