https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhUxrCj5wMObj7YbEKZybFxVjyCc8vxi6c_YUhKMTi4TJ5NOq6PsYd8_S4zQuvZWY8By4jMZ2kPSzx32Qi2CX7tp6PMvHb6WhMVNOojOhfeTdPRevtJgLWLdkvzUDrij2pB182yICSw0OA/s1600/Internet+Economy.png Google และ Temasek ได้ทำการวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตัวการวิจัยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยในปีนี้ Bain & Company ได้เข้ามามีส่วนร่วมวิจัยในฐานะพันธมิตรวิจัยหลักในการติดตามการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ผลการวิจัยล่าสุดจากรายงาน e-Conomy SEA 2019 ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยปัจจุบันทั่วทั้งภูมิภาคนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 360 ล้านคน เพิ่มขึ้น 100 ล้านคนจาก 4 ปีก่อน

ปัจจุบันยอดมูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value: GMV) ในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นเพียง 3.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ซึ่งต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา (6.5% ในปี พ.ศ. 2559) แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตอีกมหาศาล รายงานฯ คาดการณ์ว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตขึ้นถึง 3 เท่า แตะ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2568
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhUxrCj5wMObj7YbEKZybFxVjyCc8vxi6c_YUhKMTi4TJ5NOq6PsYd8_S4zQuvZWY8By4jMZ2kPSzx32Qi2CX7tp6PMvHb6WhMVNOojOhfeTdPRevtJgLWLdkvzUDrij2pB182yICSw0OA/s1600/Internet+Economy.png Google และ Temasek ได้ทำการวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตัวการวิจัยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยในปีนี้ Bain & Company ได้เข้ามามีส่วนร่วมวิจัยในฐานะพันธมิตรวิจัยหลักในการติดตามการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ผลการวิจัยล่าสุดจากรายงาน e-Conomy SEA 2019 ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยปัจจุบันทั่วทั้งภูมิภาคนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 360 ล้านคน เพิ่มขึ้น 100 ล้านคนจาก 4 ปีก่อน

ปัจจุบันยอดมูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value: GMV) ในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นเพียง 3.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ซึ่งต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา (6.5% ในปี พ.ศ. 2559) แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตอีกมหาศาล รายงานฯ คาดการณ์ว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตขึ้นถึง 3 เท่า แตะ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2568

เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2562 โดยเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 29% และคาดว่าจะเติบโตทะลุ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2568



การท่องเที่ยวออนไลน์ (ธุรกิจจองโรงแรม ที่พัก และเที่ยวบิน) ยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดและอิ่มตัวมากที่สุดในไทย โดยมูลค่าตลาด (Gross Bookings Value) ในปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 17%


การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซทะลุสถิติใหม่ โดยเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยอีคอมเมิร์ซเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตเร็วที่สุด โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 54% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะมีมูลค่าแตะ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2562 และ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2568


สื่อออนไลน์ (โฆษณา เกม บริการติดตามเพลงและวิดีโอ) ในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 39% และคาดว่าจะมีมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และทะลุ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2568 การเติบโตของสื่อออนไลน์ในไทยถูกขับเคลื่อนโดยอัตราการใช้โซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มวิดีโอที่สูงมากในหมู่ชาวไทย 


บริการเรียกรถออนไลน์ (Ride Hailing) ในไทยมีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2562 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 36% ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558


โอกาสกำลังขยายไปสู่พื้นที่นอกเมืองใหญ่ 
ปัจจุบันเมืองใหญ่ 7 เมืองที่มีประชากรคิดเป็นสัดส่วนเพียง 15% ของทั้งภูมิภาคกลับมีสัดส่วนการใช้จ่ายเกิน 50% ของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้ มีการคาดการณ์ว่าเขตเศรษฐกิจนอกเมืองใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตได้รวดเร็วกว่าเขตเศรษฐกิจในเมืองถึง 2 เท่า ภายในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งจะทำให้เกิดงานและโอกาสใหม่ๆ ตลอดจนความต้องการด้านการศึกษาและการฝึกอบรมที่สูงขึ้น


นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนยังคงไหลเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่สตาร์ทอัพไทยยังคงขาดเงินทุนสนับสนุนในการจัดตั้งธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Think with Google


Google, Temasek and Bain & Company predict Thailand’s Internet economy
will hit $50B by 2025

In 2016, Google and Temasek launched a multi-year research program to delve into the internet economies of Southeast Asia. This year, Bain & Company joined us as a lead research partner, as we continue to track the growth of the internet economy in the region. The latest e-Conomy SEA 2019 report shows that Southeast Asia’s internet economy reached $100 billion for the first time this year, with 360 million people now online—100 million more than just four years ago.

The internet economy (Gross Merchandise Value) in the region currently only accounts for 3.7% of national GDP, lower than the U.S. (6.5% in 2016). This represents a huge opportunity for accelerated growth. The report forecasts that by 2025, the regional internet economy will have tripled to $300 billion.

For Thailand, internet economy reached $16 billion in 2019, the second largest Internet economy in Southeast Asia after Indonesia. It has been growing at 29% per year and is expected to reach $50 billion by 2025.


Online Travel (Flights, Hotels, Vacation Rentals) remains the largest segment in Thailand and the most mature, at $7.2 billion in Gross Bookings Value in 2019, growing at 17% CAGR.


E-commerce, which is the largest and fastest growing segment in Southeast Asia, has hit new heights. For Thailand, e-commerce showed the most accelerated growth at 54% CAGR since 2015 to reach $5 billion in 2019 and is expected to increase to $18 billion by 2025.


Online Media  (Advertising, Gaming and Subscriptions Music & Video on Demand) is also growing rapidly in Thailand at 39% CAGR to reach $3 billion and is set to reach $7 billion by 2025. This is driven by the high levels of engagement on social media and video platforms among Thais.


Meanwhile, Ride Hailing in Thailand reached $1.3 billion in 2019, growing at 36% CAGR since 2015.


Opportunity is spreading beyond the big cities. 

To date, 7 major metropolitan areas have made up more than 50% of Southeast Asia’s internet economy, despite accounting for just 15% of the total population. But by 2025, it is forecasted to grow twice as fast outside cities as inside them, bringing new jobs, opportunities as well as greater demand for education and training.


While the region’s internet economy has experienced a surge in fundraising over the last 4 years, funding for Thai startups has dried up, particularly for late-stage funding.


For more insight from this year’s report, please visit Think with Google.

















https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhDDsoxgdpFXkR88HxIr_1SOtcvvxFABPl2Vx1sixzYEqM-2WCi_CwnAExptZSUBYcsZq8uwsF0DnhXK0QaVJOR18vMmYjWMdfd8eZbdTpcm6enAeguLBFTkHBF_QTZgE8X7gq7vSpSN0w/s1600/Kids+Care+Van+1.jpg YouTube จับมือช่อง Mahidol Kids และกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ร่วมส่งเสริมทักษะด้านการศึกษาด้วยกิจกรรมโรดโชว์ภายใต้โครงการ “มหิดล แชนแนล คิดส์ ครั้งที่ 1” กิจกรรมสัญจรเพื่อให้นักเรียนและครูได้เรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์ม YouTube ทางช่อง Mahidol Kids ที่นำเสนอคอนเท้นต์ที่มีคุณภาพและหลากหลายเพื่อส่งเสริมความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพที่แข็งแรง

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhDDsoxgdpFXkR88HxIr_1SOtcvvxFABPl2Vx1sixzYEqM-2WCi_CwnAExptZSUBYcsZq8uwsF0DnhXK0QaVJOR18vMmYjWMdfd8eZbdTpcm6enAeguLBFTkHBF_QTZgE8X7gq7vSpSN0w/s1600/Kids+Care+Van+1.jpg YouTube จับมือช่อง Mahidol Kids และกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ร่วมส่งเสริมทักษะด้านการศึกษาด้วยกิจกรรมโรดโชว์ภายใต้โครงการ “มหิดล แชนแนล คิดส์ ครั้งที่ 1” กิจกรรมสัญจรเพื่อให้นักเรียนและครูได้เรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์ม YouTube ทางช่อง Mahidol Kids ที่นำเสนอคอนเท้นต์ที่มีคุณภาพและหลากหลายเพื่อส่งเสริมความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพที่แข็งแรง



กิจกรรมดังกล่าว ซึ่งนำทีมโดย Mahidol Kids Care Van และ กทปส. พร้อมด้วยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ได้ทำการลงพื้นที่แนะแนวและให้ความรู้แก่นักเรียนและครูใน 10 โรงเรียน ครอบคลุม 3 ภูมิภาคในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี และสตูล ซึ่งกิจกรรมครั้งที่ 1 ที่ผ่านมา มีนักเรียนและครูเข้าร่วมกว่า 1,000 คน

จุดประสงค์หลักของโครงการฯ คือการแนะแนวและส่งเสริมทักษะแก่นักเรียนและครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลแต่ยังสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการใช้สื่อออนไลน์ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย และเพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความไว้วางใจบุตรหลานในการรับชมสื่อออนไลน์ด้วยตัวเอง รวมทั้งให้เกิดประโยชน์กับครูผู้สอน โดยสามารถนำมาเป็นไอเดียใหม่ๆ และปรับใช้ในการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการศึกษาต่อไปอย่างยั่งยืน




สำหรับการแนะแนวเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ผ่านทางช่อง Mahidol Kids บนแพลตฟอร์ม YouTube ครั้งนี้  ได้มีการให้ความรู้ผ่าน 5 รายการที่นำเสนอเนื้อหาสาระที่หลากหลาย สนุก และน่าติดตาม ได้แก่ รายการ Animals Speak ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ รายการ Bio O Yeah! ให้ความรู้ด้านชีวะวิทยา รายการฟิสิกส์สนุก ให้ความรู้เรื่องหลักการทำงานแบบฟิสิกส์อย่างไม่จำเจ รายการ Boogie Boo สอนให้น้องๆ รู้จักวิธีการออกกำลังกายแบบง่ายๆ และ รายการจิ๋วซ่านักประดิษฐ์ แนะนำไอเดียการประดิษฐ์สิ่งของในชีวิตประจำวัน


ทั้งนี้ YouTube ภายใต้การบริหารงานโดย Google ประเทศไทย ช่อง Mahidol Kids และ กทสป. มั่นใจว่าเด็กและครูที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการนี้จะมีการพัฒนาทักษะหลังจากที่ได้เรียนรู้ผ่านโครงการนี้ รวมทั้งจะสามารถนำไปเพิ่มพูนให้เกิดความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสนับสนุนกิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจหลักของ Google ประเทศไทย ที่มุ่งมั่นส่งเสริมด้านการศึกษาและสร้างโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Leave no Thai Behind”