วันนี้เป็นครั้งเเรกที่เราได้เปิดตัวชุดภาพถ่ายสตรีทวิวใหม่ของประเทศเคนย่า ซึ่งประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆ มากมาย อาทิ เขตสงวนพันธ์สัตว์แห่งชาติเเซมบูรู ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Lewa เเละศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติ David Sheldrick Wildlife Trust ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิ Save the Elephants เเละเเรงสนับสนุนจากรัฐบาลแห่งเมืองแซมบูรู ลองมาฟัง David Dabellen จากมูลนิธิ  Save the Elephants กันนะครับ - Ed
วันนี้เป็นครั้งเเรกที่เราได้เปิดตัวชุดภาพถ่ายสตรีทวิวใหม่ของประเทศเคนย่า ซึ่งประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆ มากมาย อาทิ เขตสงวนพันธ์สัตว์แห่งชาติเเซมบูรู ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Lewa เเละศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติ David Sheldrick Wildlife Trust ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิ Save the Elephants เเละเเรงสนับสนุนจากรัฐบาลแห่งเมืองแซมบูรู ลองมาฟัง David Dabellen จากมูลนิธิ  Save the Elephants กันนะครับ - Ed

ชีวิตในแคมป์วิจัยSave the Elephantsในเเซมบูรู ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางป่าทางตอนเหนือของประเทศเคนย่านี้ยังเป็นธรรมชาติอยู่มาก ช่วง 15 ปีที่ผ่านมาที่มูลนิธิช่วยเหลือช้าง ผมใช้เวลาหลายวันใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับช้างพวกนี้ร่วมกับเพื่อนๆ ชาวแซมบูรู เพื่อเรียนรู้เเละปกป้องพวกมัน จากผลวิจัยเเสดงให้เห็นว่าช่วงระหว่างปี 2010-2012 มีช้างทั่วแอฟริกากว่า 100,000 เชือก ถูกฆ่าเพื่อเอางา  ซึ่งต้องขอบคุณการทำงานของเราที่อุทยานสัตว์ป่าสงวนเเห่งชาติเเซมบูรู ที่ทำให้ตัวเลขการฆ่าเอางาช้างค่อยๆ ลดลง วันนี้การไปเยือนเเซมบูรูไม่ใช่เพียงเเค่การไปชมการอยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งชีวิตเหล่านี้ แต่ยังเป็นการค้นพบภาพวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนร่วมกับสัตว์ป่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผมได้เชิญคุณมาร่วมสัมผัสประสบการณ์การเดินทางท่องไปในบ้านเกิดของผมกับ ชุดภาพถ่ายสตรีทวิวใน Google Maps


ทุกครั้งที่ผมขับรถไปที่เขตสงวนพันธ์ุสัตว์แห่งชาติเเซมบูรู ผมจะเห็นใบหน้าของช้างเหล่านี้ที่ดูเชื่องเเละรู้สึกถึงการต้อนรับอันอบอุ่นเสมอ เเละเมื่อผมกลับออกมาก็ไม่เคยรู้เลยว่ามีเพื่อนๆ ชาวเมืองคนไหนขับรถชนพวกมันเข้าบ้างรึเปล่า ผมสามารถจดจำช้างได้บางส่วนจากจำนวนช้างกว่า 600 ตัว อย่างเช่น ครอบครัวของเจ้า Hardwood ที่มักเล่นซุกซนตามประสาช้าง หรือ กลุ่มนักรบเเซมบูรู ที่กำลังเดินไปยังแม่น้ำอีวาโซ ไนโร หรือ สิงโตเจ้าป่าที่กำลังพักผ่อนอยู่ใต้ร่มเงาไม้อันน้อยนิด หรือ เจ้าเสือดาว  ที่กำลังวิ่งข้ามถนน คุณจะพบว่ามีสิ่งที่น่ามหัศจรรย์รอคุณอยู่อีกมากมาย หากคุณเลือกเดินทางเเบบสตรีทวิว


ทางตอนใต้ของแซมบูรู ลึกเข้าไปยังหุบเขาของประเทศเคนย่า มี เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Lewa ที่กำลังรอคอยให้เข้าไปสำรวจ ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ คุณสามารถข้ามเขตทุ่งหญ้าสะวันนา สถานที่ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของฝูงม้าลายและแรดภายในเขตคุ้มครองให้ปลอดภัยจากพวกลักลอบฆ่าสัตว์เเละนักล่าอื่นๆ ทุกๆ วัน ศูนย์วิทยุของ Lewa จะรายงานความเคลื่อนไหวของโขลงช้าง (รวมไปถึงสัตว์ป่าตัวอื่นๆ ที่ติดเครื่องติดตาม GPS) ไปยัง Google Earth เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลทราบจุดที่โขลงช้างอยู่และเพื่อให้รู้ว่ามีอันตรายเกิดขึ้นกับโขลงช้างหรือไม่ หากเครื่องติดตามส่งสัญญาณเตือนแสดงว่าโขลงช้างหยุดการเคลื่อนไหว เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจะเตรียมลงพื้นที่พร้อมกับสุนัขเพื่อติดตามโขลงช้างต่อไป มูลนิธิ Save the Elephants เป็นโครงการแรกที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้รักษาประชากรช้างโดยเริ่มมีการจับช้าง 266 ตัวจากทั่วแอฟริกามาอยู่ในการดูแลตั้งแต่ปี 1998


หากคุณเข้าไปที่ไซต์ของ David Sheldrick Wildlife Trust คุณจะได้เห็นถึงผลกระทบของการรุกล้ำพื้นที่และสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของช้างในประเทศเคนย่า องค์กรนี้ก่อตั้งในปี 1997 เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าทั้ง ช้างและแรดกำพร้า  ที่โรงเลี้ยงช้างกำพร้าผู้ดูแลจะดูแลลูกช้างตลอด 24 ชั่วโมงพร้อมกับคอยป้อนนมสูตรพิเศษ พอช้างกำพร้าเหล่านั้นเติบโตจะถูกส่งกลับเข้าไปยังป่าที่พวกเขาจะได้รับการคุ้มครองโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์การรุกล้ำผืนป่าและเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังทางอากาศยาน วันนี้ David Sheldrick Wildlife Trust ได้รับช้างทารกกำพร้าเข้ามาอยู่ในความดูแลแล้วกว่า 180 ตัว อย่างเจ้าช้างน้อย Sokotei ที่ผมช่วยชีวิตมาจากแซมบูรู ตอนอายุได้ 6 เดือนหลังจากที่แม่ของมันเสียชีวิตตามธรรมชาติ ช้างตัวนี้เป็นหนึ่งในช้างนับพันตัวที่เคยสูญหายไปในหลายๆ ทวีป เเละเมื่อคุณกำลังต่อสู้กับความท้าทายระดับนี้ คุณควรให้ความสำคัญกับช้างทุกตัว


ผมหวังว่าสักเสี้ยวหนึ่งที่คุณได้เหลียวไปมองไปยังสรรพสัตว์ที่อยู่ในแซมบูรู จะช่วยจุดประกายให้คุณได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับชะตากรรมของพวกช้างเหล่านี้และรู้วิธีที่คุณจะช่วยเหลือพวกมันได้อย่างไร โดยสามารถให้การสนับสนุนการวิจัยของโครงการ Save the Elephants บริจาคเพื่อสนับสนุนความพยายามในการป้องกันการรุกล้ำผืนป่าของ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Lewa หรือร่วมช่วยเหลือช้างกำพร้าได้ที่ David Sheldrick Wildlife Trust หลังจากที่คุณได้สำรวจสิ่งต่างๆ ผ่านสตรีทวิวแล้ว ไปพบกับพวกเราตัวเป็นๆ ได้ที่นี่ ประเทศเคนย่า พวกเรารอที่จะพบคุณอยู่!

โพสต์โดย David Daballen, หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการในพื้นที่ ณ มูลนิธิ Save the Elephants  




Today for the first time, we’re releasing Street View imagery of Kenya—including the Samburu National Reserve, Lewa Wildlife Conservancy and the David Sheldrick Wildlife Trust—in partnership with Save the Elephants and with the support of the Samburu County Government. We'll let Save the Elephants' David Dabellen take it from here. -Ed.

It’s a wild life at the Save the Elephants research camp in Samburu, in the heart of northern Kenya’s wilderness. For the last 15 years at Save the Elephants, I’ve spent my days among the elephants, working alongside my fellow Samburu people to study and protect them. Research shows that 100,000 elephants across Africa were killed for their ivory between 2010-2012, but thanks to our work in the Samburu National Reserve their numbers are now slowly increasing. Today, a visit to Samburu is a chance not only to see these magnificent creatures in their natural habitat, but also discover a uniquely beautiful landscape where people’s live are interwoven with the landscape’s wildlife. It’s my honour to invite you on a journey to my homeland with Street View in Google Maps.


Every time I drive into the Reserve, I can see the trust on the elephants’ faces and feel a warm welcome. When I’m out and about, I never know which of my fellow citizens I’ll bump into next. It could be some of the 600+ elephants I can recognize—like the Hardwood family—frolicking together, a group of Samburu warriors walking along the Ewaso Nyiro River, a pride of lions enjoying a bit of shade, or a leopard crossing the path. While you make your journey through Street View, you may be surprised what awaits.


South of Samburu, up into the hills of Kenya, the Lewa Wildlife Conservancy awaits exploration. In this greener landscape, you can cross the open savannah, where animals like zebras and rhinoceroses live protected from poachers and hunters. Every day, the Lewa radio command center plots the movements of elephants (and other GPS-collared wildlife) onto Google Earth to help rangers determine where elephants are and when they might be in danger. If an elephant’s GPS collar sends an alert to indicate the elephant has stopped moving, a team of rangers and tracking dogs will investigate. Save the Elephants was one of the first organizations to use this technology, having collared 266 elephants across Africa since 1998.



Visiting the David Sheldrick Wildlife Trust, you can see the devastating effect of poaching and other causes of elephant deaths in Kenya. Founded in 1977, the Trust provides lifesaving assistance to wild animals in need, including orphaned elephants and rhinos. At their Elephant Orphanage in Nairobi, elephant caretakers stand in for an elephant’s lost family, providing 24/7 care and specially formulated milk. As the orphans grow, they are gradually reintegrated back into the wild, where they are protected by the charity’s Anti-Poaching and Aerial Surveillance Teams. To date, the David Sheldrick Wildlife Trust has hand-raised more than 180 orphaned infant elephants, including little Sokotei, who I helped to rescue in Samburu after his mother died of natural causes when he was six months old. He’s just one elephant amid thousands that have been lost across the continent, but when you're up against a challenge of this scale, every elephant counts.


I hope this glimpse into life in Samburu has inspired you to learn more about elephants’ plight and how you can help. Samburu is my home and is full of life. To ensure it remains that way, please consider supporting the research of Save the Elephants, making a donation to the anti-poaching efforts of Lewa Wildlife Conservancy, or fostering an orphaned elephant at the David Sheldrick Wildlife Trust. After exploring in Street View, come and see us here in Kenya in person—we’d love to have you!

Posted by David Daballen, Head of Field Operations at Save the Elephants




วิศวกรซอฟต์แวร์ Google
ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากมาย และเมื่อพวกเขาออนไลน์เราอยากให้ Google News ได้ทักทายพวกเขาเป็นภาษาไทยเพื่อเติมเต็มเรื่องข่าวสารข้อมูลที่พวกเขาต้องการทราบข้อเท็จจริง วันนี้เราเปิดตัว Google News ฉบับภาษาไทย


วันนี้เมื่อคุณเข้าไปที่ news.google.co.th คุณจะเห็นหน้าเว็บเพจรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับคุณมากที่สุดจากองค์กรผู้ผลิตข่าวต่างๆ ที่คุณเชื่อถือและสนใจ ซึ่งคุณสามารถปรับหน้าตาของ Google News ให้ตรงกับควาามต้องการของคุณได้เช่นสร้างหมวดหมู่ข่าวที่คุณชื่นชอบ ผสมผสานและจับคู่หมวดข่าวปกติจากภาษาและภูมิภาคของข่าวนั้น หรือถ้าที่ใดมีหมวดข่าวท้องถิ่นคุณก็เลือกเพิ่มเติมได้เช่นกัน หรือจะจัดระเบียบให้กับหน้า Google News โฮมเพจของคุณก็ยังทำได้
2015-09-24.png
คุณสามารถปรับการแสดงผลบนโทรศัทพ์ได้ด้วยการคลิกที่ menu เมนูตั้งค่าที่อยู่มุมบนขวาของหน้าและเลือกลงชือเข้าใช้

เมื่อลงชือเข้าใช้ด้วยบัญชี Google แล้วคลิกที่เมนูอีกครั้งและเลือกปรับแต่งตามความต้องการของคุณ
จากตรงนั้นคุณสามารถเปลี่ยนขนาดของการ์ดเรื่องราวและขนาดตัวอักษร ไปจนถึงเปลี่ยนธีมระหว่างสีอ่อนไปเป็นเข้มได้เช่นกัน

Google News ฉบับท้องถิ่นนำเสนอในรูปแบบทั้งแบบเดสก์ท็อปและมือถือไปจนถึงแอปในระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS

เราหวังว่าคุณจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงผู้ใช้ภาษาไทยได้มากขึ้นจากเอดิชั่นใหม่นี้ ซึ่งนี่เป็นการแสดงความมุ่งมั่นที่ Google นำเสนอสู่ผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง

โพสต์โดย ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล
วิศวกรซอฟต์แวร์ Google


Spreading the News in Thai

More internet users are coming online in Thailand than ever before, and when they do, we want Google News to be there with the latest new and views from the media they know and trust. Today, we’re announcing the launch of Google News in the local Thai edition.

Now, when you visit news.google.co.th, you’ll see a page with the top most relevant stories to you from the local media you care about. You can also personalize Google News by creating new sections for your favorite topics, mixing and matching existing standard sections from language and regional editions, adding local sections where available, or reorganizing your Google News homepage.
2015-09-24.png
You can customize your mobile experience by clicking the menu Settings menu at the top right of the page, and selecting Sign in.

Once you’re signed in to your Google Account, click the menu again and select Preferences.

From here, you can change the size of the story cards and the font size, as well as change the theme from Light to Dark.

The local edition of Google News will be delivered on desktop and mobile web, as well as our native Android or iOS mobile apps.

With this new edition, we hope we can help bring the news closer to more Thai speakers, and by doing so continue to show the commitment Google has to Thai users.    

Posted by Thadpong Pongthawornkamol
Software Engineer, Google

อะไรทำให้เราเป็นมนุษย์


เราร่วมมือกับอาร์ธัส-เบอร์ทรันด์ มูลนิธิ Goodplanet และมูลนิธิ Bettencourt Schueller เพื่อนำ HUMAN มาสู่สายตาคุณผ่านทาง Google Play, YouTube และสถาบันวัฒนธรรมของ Google เพื่อให้โปรเจ็คนี้ไปสู่สายตาผู้ชมจากทั่วโลกให้กว้างไกลที่สุด

อะไรทำให้เราเป็นมนุษย์

ตลอดสามปีที่ผ่านมาศิลปินและนักสร้างภาพยตร์คนหนึ่งชื่อ ญานน์ อาร์ธัส-เบอร์ทรันด์ ได้ท่องเที่ยวไปใน 60 ประเทศทั่วโลกและสัมภาษณ์ผู้คนมากกว่า 2,000 คนในภาษาต่างๆ กันมากมายเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามว่า: อะไรทำให้เรามีเป็นมนุษย์? ผลที่ได้คือ HUMAN ที่เป็นภาพยนตร์เชิงสารคดีที่ร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมายจากผู้ที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในยูเครน เกษตรกรในประเทศมาลี นักโทษประหารในสหรัฐอเมริกาและอีกหลากหลายคนมาเป็นหัวข้อที่รวมพวกเราไว้ด้วยกันตั้งแต่ความรัก ความยุติธรรม ครอบครัวและอนาคตของดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ใบนี้

เราร่วมมือกับอาร์ธัส-เบอร์ทรันด์ มูลนิธิ Goodplanet และมูลนิธิ Bettencourt Schueller เพื่อนำ HUMAN มาสู่สายตาคุณผ่านทาง Google Play, YouTube และสถาบันวัฒนธรรมของ Google เพื่อให้โปรเจ็คนี้ไปสู่สายตาผู้ชมจากทั่วโลกให้กว้างไกลที่สุด

ชมเวอร์ชั่นเต็มๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ที่ YouTube และ Google Play
เราเปิดตัวภาพยนตร์สารคดี HUMAN ให้คุณได้รับชมผ่านทาง YouTube ไปตั้งแต่วันที่ 12 กันยายนและถัดไปใน Google Play สำหรับเวอร์ชั่นผู้กำกับหรือ director’s cut ความยาว 90 นาทีจะเผยแพร่ในภาษาอื่นๆ อาทิ อารบิก อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส รัสเซียและภาษาเสปน  ซึ่งคุณสามารถชมเวอร์ชั่นที่มีความยาวเป็นพิเศษบน YouTube ที่รวบรวมเอาบทสัมภาษณ์คนสำคัญๆ ที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ อาทินายบัน-คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ นักต่อสู้เพื่อสิทธิของสัตว์ เจน กู๊ดดาล นักแสดงสาวคาเมรอน ดิแอซ


ชม HUMAN ไปพร้อมกับสถาบันวัฒนธรรมของ Google
ที่สถาบันวัฒนธรรมของ Google คุณสามารถเรียนรู้ที่มาของภาพยนตร์เเละรับฟังเกล็ดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนที่นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตของพวกเขา คุณยังสามารถพบเจอชีวิตจริงของเหล่านักเเสดงมากมายทั้งที่อยู่ในจอเเละที่เกี่ยวข้องกับวงการ กับ 6 เบื้องหลังนิทรรศการการจัดเเสดงภาพถ่ายและวิดีโอที่เผยให้คุณสำรวจเรื่องราวตลอดการสร้าง HUMAN ที่ใช้เวลากว่าสามปี ซึ่งรวมถึงภาพคอลเลกชันพิเศษๆ ที่เผยถึงวิธีการถ่ายภาพกลางอากาศที่มีลายเซ็นของผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ อาร์ธัส-เบอร์ทรันด์

นิทรรศการต่างๆ ของการจัดเเสดงผลงานที่สถาบันวัฒนธรรมของ Google

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการที่ g.co/humanthemovie หรือที่ HUMAN Behind The Scenes mobile app พร้อมชมเเล้วใน Google Play เราต้องการช่วยให้คนทั่วโลกเชื่อมถึงกันด้วยภาพยนตร์สารคดีเรื่อง HUMAN ดังนั้นช่วยตอบคำถามเราสักนิดถึงอะไรที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ ส่งเสียงของคุณเข้าไปในบทสนทนากับ #WhatMakesUsHUMAN

โพสต์โดย ราฟาเอล กัวเมน หัวหน้าฝ่ายการตลาดคอนซูเมอร์ ฝรั่งเศส


###

What makes us Human?

Over the past three years, filmmaker and artist Yann Arthus-Bertrand travelled to 60 countries, interviewing more than 2,000 people in dozens of languages, in an attempt to answer the question: What is it that makes us human? The result is HUMAN, a documentary film that weaves together a rich collection of stories from freedom fighters in Ukraine, farmers in Mali, death row inmates in the United States, and more—on topics that unite us all: love, justice, family, and the future of our planet.

Now we’re partnering with Arthus-Bertrand, the Goodplanet Foundation and Bettencourt Schueller Foundation, to bring HUMAN to you on Google Play, YouTube and the Google Cultural Institute so we can share this project with the widest audience throughout the world.

Watch an extended version of the film on YouTube and Google Play
We’re making HUMAN available on YouTube starting September 12, and later on Google Play. This “director’s cut”of three 90-minute films will be available in Arabic, English, French, Portuguese, Russian and Spanish. On YouTube, you can also watch extra footage including interviews with figures like United Nations Secretary General Ban-Ki Moon, animal rights activist Jane Goodall and actress Cameron Diaz, all of whom participated in the film.


Explore HUMAN with the Google Cultural Institute
Over at the Google Cultural Institute, you can learn about the origin of the film and listen to anecdotes from the people who brought it to life. You can also meet the characters in and around the movie in their daily lives, with six exhibits of behind the scenes photos and videos that let you explore how HUMAN was made over three years. This includes a collection highlighting how the director shot the aerial views that are a signature of Arthus-Bertrand’s filmmaking.


Exhibitions on Google the Cultural Institute platform
Learn more about this project at g.co/humanthemovie or on the HUMAN Behind The Scenes mobile app, available on Google Play. With HUMAN, we want to help citizens around the world connect together. So we’d like to hear your answer to the question of what makes us human. Add your voice to the conversation with #WhatMakesUsHUMAN.

Posted by Raphael Goumain, Head of Consumer Marketing, France


เรียนรู้เพิ่มเติมว่าคุณจะใช้เวลากับธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องไอทีอีกต่อไปได้ที่นี่: https://www.google.com/intx/th/work/apps/business/







Find out more about how you can spend more time running your business, not your IT here: https://www.google.com/intx/th/work/apps/business/
Google Apps for Work ปรับราคาลงให้ธุรกิจของคุณใช้ได้ง่ายขึ้น

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของบูติกแฟชั่นในกรุงเทพหรือผู้ส่งออกสินค้าหัตกรรมในเชียงใหม่ ถ้าคุณมีธุรกิจขนาดเล็ก ไม่มีเวลาจะมาจัดการกับเซิร์ฟเวอร์หรือแก้ปัญหาเวลาอีเมล์ล่ม คุณจำเป้นต้องต่องานให้ติด ทำงานได้จากทุกที่ จากทุกอุปกรณ์ตลอดเวลาต้องการ

ตั้งแต่วันนี้เราจะช่วยให้คุณจัดการเรื่องข้างบนได้ง่ายขึ้น Google Apps for Work ปรับราคาลดลงให้ลูกค้าชาวไทย — ลดราคาลงถึง 40% เหลือเพียง $30 ต่อผู้ใช้ต่อปีจากเดิม $50 ต่อผู้ใช้ต่อปี

Google Apps for Work ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ อาทิ อีเมล พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ปฏิทินที่ทุกคนในออฟฟิสเข้าถึงได้ การประชุมทางวิดีโอ ที่รวมถึง Gmail ปฏิทิน ไดรฟ์และแฮงเอาท์ เจ้าของธุรกิจได้ที่อยู่อีเมลอย่างมืออาชีพจาก Google Apps ความยืดหยุ่นที่ให้ทุกคนทำงานได้จากทุกอุปกรณ์ได้ตลอดเวลาและความปลอดภัยพร้อมกับการควบคุมที่จำเป็น คุณไม่จำเป็นต้องมาจัดการเรื่องฮาร์ดแวร์ อัพเดตความปลอดภัยหรือซอฟต์แวร์เอง เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เหมือนโทรศัพท์ของคุณ

Screen Shot 2015-09-16 at 12.49.55 AM.png

ผู้ประกอบการไทยสามารถเลือกซื้อ Google Apps for Work ได้ทั้งแบบรายปีหรือแบบรายเดือน โดยแบบรายปีจะมีค่าบริการเพียง $30 ต่อผู้ใช้ต่อปีหรือจะเลือกใช้แผนบริการแบบยืดหยุ่นแบบรายเดือนด้วยค่าบริการเพียง $3 ต่อผู้ใช้ต่อเดือนเท่านั้น

เรียนรู้เพิ่มเติมว่าคุณจะใช้เวลากับธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องไอทีอีกต่อไปได้ที่นี่: https://www.google.com/intx/th/work/apps/business/

###

Google Apps for Work is now more affordable

Whether you own a boutique in Bangkok, or a handicraft exporter in Chiang Mai, if you’re running
a small business, you don’t have time to manage servers or deal with email downtime. You need to be able to get on with the job, working from anywhere, on any device, when it suits you.

From today we’re making it easier for you to do just that. Google Apps for Work will now cost Thai customers USD30 per person per year, down from USD50 per person, per year —  a 40% reduction in the price.

Google Apps for Work consists of email, online storage, shared calendars and video meeting tools including Gmail, Calendar, Drive, Docs and Hangouts. With Google Apps business owners get a professional email address, the flexibility to work from any device at any time, and the security and controls they need. There is no need to manage hardware, security updates or software patches. To get started all you need is an internet-connected device like your smartphone.

Screen Shot 2015-09-16 at 12.49.55 AM.png

Thai businesses have the option to  buy Google Apps for Work on an annual or monthly plan. The Annual Plan costs USD30 per person per year, while the Flexible Plan costs USD3 per person per month.

Find out more about how you can spend more time running your business, not your IT here: https://www.google.com/intx/th/work/apps/business/


โพสต์โดย ชิว่า คูม่า ทีม Google Play Newsstand



Read all about it! Google Play Newsstand launches in Thailand

Google Play Newsstand คือ แอพพลิเคชั่นที่จะนำเรื่องราวจากสื่อต่างๆ ที่นำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ บล็อก นิตยสารและหนังสือต่างๆ มาสู่สายตาคุณด้วยประสบการณ์การอ่านที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน  คุณจะอ่านพาดหัวข่าวล่าสุดจากสื่อชั้นนำต่างๆ เช่น เนชั่นทีวี หรือติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองจาก Kapook หรือ อัพเดทผลการแข่งกีฬาล่าสุดจากสยามกีฬา ได้จากแท็บเเล็ตหรือโทรศัพท์ระบบ Android ของคุณ เพียงแค่ปัดนิ้วบนหน้าจอรายละเอียดทั้งหมดของข่าวหรือบทความนั้นก็จะปรากฎสู่สายตาคุณ โดยในแอพพ์จะมาครบทั้งภาพประกอบ เสียงหรือวิดีโอของข่าวนั้นๆ

screen.pngScreenshot_2015-08-19-21-39-38.png Screenshot_2015-08-19-21-40-17.png

ข่าวเด็ดทั่วไทยและทั่วโลก
ด้วยแอพพ์ Newsstand คุณสามารถค้นหาและสมัครสมาชิกทั้งแบบไม่มีค่าใช้จ่ายและแบบมีค่าสมาชิกเพื่อรับข่าวสารจากผู้ผลิตข่าวกว่า 2,000 รายทั่วโลก ซึ่งรวมถึงผู้ผลิตข่าวระดับโลกอย่าง The New York Times, The Guardian และ Reuters นอกจากข่าวจากทั่วโลกแล้วคุณยังติดตามข่าวสารในประเทศได้จากผู้ผลิตข่าวชั้นนำของไทยเช่น เนชั่นกรุ๊ป สยามสปอร์ตดิจิตอลมีเดีย บัณฑิตเซ็นเตอร์  ASTV ผู้จัดการ และสนุกดอทคอม

นิตยสารเล่มโปรดของคุณ
สำรวจแผงหนังสือที่จะทั้งสร้างแรงบันดาลใจและให้ความบันเทิงแก่คุณในรูปแบบที่สวยงามออกแบบมาเพื่อการอ่านจากแท็บเเล็ตหรือโทรศัพท์ คุณจะไม่พลาดนิตยสารเล่มล่าสุดจาก FHM หรือ Positioning, Mars Manager และอื่นๆ อีกมากมายที่จะมาในรูปแบบที่ตื่นตาตื่นใจ ภาพประกอบสีสันสดใสความคมขัดสูง  โดยคุณยังสามารถทดลองอ่านหรือรับโปรโมชั่นจากนิตยสารหลายเล่มได้ฟรีถึง 30 วัน ในขณะที่สมาชิกแบบเล่มยังได้รับสิทธิ์ในการอ่านเวอร์ชั่นดิจิทัลได้ฟรีอีกด้วย

พัฒนามาเพื่อคุณ
ฟีเจอร์ Read Now อำนวยความสะดวกให้คุณประหยัดเวลาพลิกหาข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าหรือกรองเอาข่าวหรือบทความชิ้นล่าสุดจากเว็บมาสู่สายตาคุณได้ทันที ไม่ว่าคุณจะสนใจเรื่องราวอะไรเป็นพิเศษ Newsstand จะเอาเรื่องราวนัันมาอยู่ตรงหน้าตรงกลางสายตาของคุณ ยิ่งอ่านมากคุณจะยิ่งพบคำแนะนำดีๆ ยิ่งขึ้น

อ่านแบบออฟไลน์
ไม่มีสัญญาณเน็ต? ก็ไม่ใช่ปัญหา เราสามารถทำบุ๊กมาร์คหัวข้อต่างๆ ที่ต้องการอ่านเเบบออฟไลน์กับนิตยสาร MARS หรือ สยามดารา เล่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่เล่มล่าสุดบนเเผงหนังสือก็ได้เช่นกัน
—————

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่น่าสนใจจาก Google Play Newsstand ที่เรากำลังเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ ให้มากขึ้น คุณสามารถดาวน์โหลดแอพพ์ Google Play Newsstand  สำหรับมือถือหรือเเท็บเเล็ตแอนดรอยด์ ได้จาก Google Play

โพสต์โดย ชิว่า คูม่า ทีม Google Play Newsstand



Read all about it! Google Play Newsstand launches in Thailand

Google Play Newsstand is an app that brings together your favorite online newspapers, websites, blogs, print magazines and books into one simple reading experience. On your Android tablet or phone, you can now get the latest headlines from Nation TV, catch up on politics with Kapook, or get sports update from Siamsport. With the swipe of a finger, you can browse full length articles, with beautiful images, audio and video right inside the app.

screen.pngScreenshot_2015-08-19-21-39-38.png Screenshot_2015-08-19-21-40-17.png

Top international and local news
With Newsstand you can find and subscribe to free and paid content from over 2,000 different sources. Global publishers include The New York Times, The Guardian and Reuters. In additional to international news you can also get the best from top Thai publishers like Nation Group, Siam Sport Digital media, Bundit Center, Manager Publishing and Sanook.

Your favorite magazines
Explore a library of inspiring and entertaining magazines, in a beautiful format designed for reading on your tablet or phone. Get the latest from FHM, Positioning, Mars, Manager and more, in vibrant, full-color HD display. Many titles offer free 30-day trials and promotions, while print subscribers get free digital access.

Built for you
The Read Now feature saves you digging through the morning paper, or scouring the web to find the latest breaking news and articles. Based on your interests, Newsstand will put the news you care about most front and center based. The more you read, the better recommendations you’ll find.

Offline Access
No connection? No problem. You can bookmark titles so that going offline doesn’t mean putting down the latest issue of MARS and Siamdara magazines.

—————

There is something for every interest on Google Play Newsstand and we’re always adding new content. You can download the Google Play Newsstand app for your Android phone or tablet from Google Play.  

Posted by Shiva Kumar, for Google Play Newsstand