1. แหล่งข่าวมาจากไหน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรู้ที่มาของข่าว อย่าแชร์ถ้าไม่สามารถระบุหรือยืนยันที่มาของข่าวได้
2. แหล่งข่าวนี้น่าเชื่อถือหรือไม่
คำกล่าวอ้างที่เหลือเชื่อย่อมต้องหาหลักฐานที่เหลือเชื่อมาอธิบาย ลองค้นหาแหล่งข้อมูลหลักอย่างเป็นทางการ เช่น สื่อที่น่าเชื่อถือหรือเว็บไซต์ของรัฐบาล และต้องแน่ใจว่าบทความนั้นมีข้อมูลสนับสนุนคำกล่าวอ้างด้วยการใส่ลิงก์ของแหล่งที่มา รูปภาพและวิดีโอ
3. ใครคือ “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ว่า
คุณต้องตรวจสอบว่าคำกล่าวอ้างนั้นเป็นของบุคคลที่เป็นที่ยอมรับว่ารู้จริงในเรื่องนั้นๆ หรือไม่ และพิจารณาไตร่ตรองมุมมองของพวกเขาประกอบกับความคิดเห็นอื่นๆ ที่หาได้
4. สิ่งที่คุณอ่านบอกให้คุณทำอะไรหรือเปล่า เช่น กดไลก์ กดแชร์ สมัครใช้บริการ หรือซื้อสินค้า
เรื่องราวที่ดึงดราม่าเพื่อทำให้เข้าใจว่าเป็นสถานการณ์เร่งด่วน จริงๆ แล้วอาจเป็นการพยายามที่จะบีบให้คุณกระทำการบางอย่างเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลอื่นก็เป็นได้
5. คำกล่าวอ้างนั้นน่าตกใจหรือพยายามกระตุ้นให้เกิดความกลัวหรือความเกลียดชังหรือไม่
เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่มีผู้คนที่เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ และแฝงเจตนาร้ายเพื่อสร้างความเจ็บปวดหรือก่อความเดือดร้อน ดังนั้นคุณจึงควรคิดให้ดีก่อนแชร์
หากเกิดข้อสงสัยขณะอ่านข่าว เราขอแนะนำให้คุณเข้าไปที่ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท หรือ Cofact เพื่อตรวจสอบว่าพวกเขาได้มีการตีพิมพ์บทความเพื่อหักล้างข่าวนี้หรือไม่ ซึ่งทั้งสององค์กรนี้เป็นพันธมิตรด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราในประเทศไทย การสนับสนุนพวกเขาจะช่วยให้ทั้งชุมชนอยู่รอดปลอดภัย
เยาวชนทั้งหลายพร้อมเข้าร่วมการแข่งขันสุดท้าทายหรือไม่
หากคุณเป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และรู้สึกสนใจเนื้อหาในโพสต์นี้ ลองเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ โดยตอนนี้โครงการ APAC Youth Verification Challenge ที่ Google News Initiative (GNI) ร่วมมือกับ Cofact และ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท กำลังเปิดรับสมัครผู้ร่วมโครงการรุ่นที่ 2 ซึ่งคุณสามารถเข้าร่วมเพื่ออบรมและฝึกฝนทักษะการตรวจสอบข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันก็สามารถนำความรู้และทักษะดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการประลองฝีมือการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับคนอื่นๆ ทางออนไลน์ได้ด้วย การแข่งขันนี้จะจัดขึ้นเป็นเวลา 5 เดือน โดยครอบคลุม 8 ภาษา รวมถึงภาษาไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
It’s International Fact-checking Day: how to read the news like a fact-checker
Fact checkers hold an important job of verifying all the facts and claims in a story to ensure it’s accurate and represented fairly. But we can also play a part in spotting and not spreading misinformation.
To celebrate this incredibly important work on this International Fact-checking Day on April 2, 2022, we wanted to share with you some tips from the fact-checkers themselves, five questions they ask themselves when reading the news, so you too can spot when something shouldn’t be trusted.
1. What is the source?
Know where the news comes from. Do not share if you cannot locate or verify the original source.
2. Can I trust this source?
Extraordinary claims require extraordinary evidence. Look for official primary sources of information like reputable media or government websites and make sure the article backs up its claims with links to sources, photos and videos.
3. Who is the “expert”?
Check that the claims are being made by someone who is a recognized authority on the subject. And keep in mind the perspective they bring and what other points of view are available.
4. Is it telling me to do something - like, share, subscribe, buy?
Stories that use drama to create some sort of urgency can in fact be an attempt to get you to act in a way that's lucrative for someone else.
5. Is the claim shocking, or trying to drum up fear or hate?
Sadly, there are people who spread potentially harmful and wrong information to cause hurt or mischief. Think before you share!
If in doubt when reading the news, do visit Thai fact-checking organizations such as MCOT’s Sure and Share Center or Cofact to check whether they have published an article debunking this news. Supporting them helps the entire community thrive.
Calling all youths: up for a challenge?
If you’re between 15 and 24 years old, and you found this post interesting, why not commit to learning more? The GNI APAC Youth Verification Challenge in partnership with Cofact Thailand and MCOT Sure and Share, is now open for its second edition, and you can join to go through training and sharpen your fact-checking skills, while also applying them in live fact-checking battles against others! The challenge will run for 5 months in 8 languages, including Thai. Find out more here.