Thailand Blog
การจัดการโฆษณาที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หรือ bad ads เพื่อปกป้องผู้ใช้
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563
ผู้คนไว้ใจและเลือกใช้ Google ในการค้นหาข้อมูล และเรามุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถไว้ใจโฆษณาที่พวกเขาเห็นบนแพลตฟอร์มของเรา ความมุ่งมั่นนี้ยิ่งมีความสำคัญในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน อย่างเช่นช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ที่โลกต้องรับมือกับ COVID-19
การตอบสนองต่อสถานการณ์ COVID-19
นับตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เราได้จับตามองพฤติพรรมของผู้ลงโฆษณาอย่างใกล้ชิดเพื่อปกป้องผู้ใช้จากโฆษณาที่หวังหาประโยชน์จากวิกฤติครั้งนี้ โดยโฆษณาประเภทนี้มักเป็นฝีมือของผู้ที่มีชั้นเชิงต่าง ๆ ในการหลบหลีกระบบตรวจจับของเรา ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่สถานการณ์กำลังแย่ลง เราได้เห็นโฆษณาหลอกขายสินค้าที่เป็นที่ต้องการอย่างหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งโฆษณาเหล่านี้มักขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าปกติมาก รวมทั้งหลอกลวงผู้บริโภคถึงคุณภาพที่แท้จริงของสินค้า หรือลงขายสินค้าเพื่อหลอกเอาเงินแล้วไม่ยอมส่งสินค้า
เราได้ตั้งทีม COVID-19 เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้โดยเฉพาะ พวกเขาผลัดกันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการตรวจจับของเรา ความพยายามนี้กำลังเห็นผล โดยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เราได้ทำการบล็อกและลบโฆษณาเกี่ยวกับ COVID-19 ไปแล้วกว่าหลายสิบล้านรายการ เนื่องจากโฆษณาเหล่านี้ละเมิดนโยบายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการโก่งราคา การหาประโยชน์จากการขาดแคลนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ การหลอกลวงผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ในการรักษาโรค และการหลอกลวงเรื่องการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมในกรณีว่างงาน
ในขณะเดียวกัน COVID-19 ได้กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญและพูดถึงกันทุกวัน และเรากำลังหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ลงโฆษณาจากหลากหลายอุตสาหกรรมสามารถนำเสนอข้อมูลอัปเดตต่าง ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้ให้การช่วยเหลือองค์กรพัฒนาเอกชน รัฐบาล โรงพยาบาล และผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับแคมเปญรณรงค์เพื่อสังคม เรายังคงพัฒนาระบบการบังคับใช้กฏของเราอย่างระมัดระวังเพื่อปกป้องผู้ใช้และจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลจากผู้ลงโฆษณาที่ไว้ใจได้
การรักษาคุณภาพของระบบนิเวศของเรา
การรักษาคุณภาพของโฆษณาบนแพลตฟอร์มของเรา อย่างที่เรากำลังทำในช่วงวิกฤติ COVID-19 เป็นการสานต่องานที่เราทำอยู่ทุกวันเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ละเมิดนโยบายของเราและหยุดการกระทำของผู้ไม่หวังดี เรามีพนักงานหลายพันคนกระจายตัวอยู่ในทีมต่าง ๆ ทั่วโลกที่ร่วมกันทำงานเพื่อปกป้องผู้ใช้ และสร้างระบบนิเวศที่ปลอดภัยสำหรับผู้ลงโฆษณาและผู้เผยแพร่โฆษณา และในทุก ๆ ปีเราจะสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของเรา
ในปี 2019 เราได้ทำการบล็อกและลบโฆษณาที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หรือ bad ads ออกไปถึง 2.7 พันล้านรายการ หรือมากกว่า 5,000 รายการต่อนาที นอกจากนี้เรายังได้ระงับบัญชึของผู้ลงโฆษณาที่ละเมิดนโยบายของเราอีกเกือบ 1 ล้านราย ในส่วนของผู้เผยแพร่โฆษณา เราลบไป 1.2 ล้านบัญชี และลบโฆษณาออกจาก 21 ล้านเว็บเพจที่อยู่ในเครือข่ายผู้เผยแพร่โฆษณาของเราเนื่องจากทำการละเมิดนโยบายของเรา การลบบัญชี ซึ่งไม่ใช่แค่การลบตัวโฆษณาหรือเว็บเพจ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่เราใช้กับผู้ลงโฆษณาหรือผู้เผยแพร่โฆษณาที่ทำการละเมิดนโยบายของเราอย่างร้ายแรง หรือมีประวัติการละเมิดนโยบาย
การพัฒนาระบบการป้องกันการฟิชชิง และ “โฆษณาที่หลอกให้คลิก”
ถ้าเราพบว่าโฆษณาประเภทใดประเภทหนึ่งนั้นมีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการนำไปใช้หลอกลวงผู้ใช้ เราจะจัดสรรทรัพยากรของเราเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีหาประโยชน์จากมันได้ หนึ่งในพฤติกรรมที่เราคุ้นเคยดีคือการฟิชชิง ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ไม่หวังดีใช้เป็นประจำเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวจากผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ในปี 2019 เราได้เห็นการหลอกหลวงของผู้ไม่หวังดีที่พุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนที่ต้องการต่ออายุหนังสือเดินทางเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโฆษณาที่ผู้ไม่หวังดีนำมาใช้เป็นเหยื่อล่อมักมีหน้าตาเหมือนกับโฆษณาของเว็บไซต์สำหรับการต่ออายุหนังสือเดินทางจริง ๆ แต่เป้าหมายที่แท้จริงของมันคือการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เช่น ข้อมูลประกันสังคม หรือหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ใช้ โฆษณาอีกประเภทที่มักละเมิดกฏของเราคือ “โฆษณาที่หลอกให้คลิก” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกไปที่โฆษณานั้น (ตัวอย่างเช่นโฆษณาที่เขียนว่า “คลิกที่นี่”) ซึ่งโฆษณาประเภทนี้มักจะถูกออกแบบมาให้หน้าตาเหมือนระบบเตือนภัยของคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
เนื่องด้วยเราตระหนักดีว่าการหลอกลวงผู้ใช้ด้วยการฟิชชิงและการหลอกให้คลิกนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงสามารถรับมือกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2019 เราได้ตั้งทีมภายในองค์กรเพื่อแกะรอยและติดตามรูปแบบและสัญญาณของกลลวงต่าง ๆ ของผู้ลงโฆษณาที่มีเจตนาหลอกลวงผู้ใช้ เพื่อที่เราจะสามารถระบุได้ว่าโฆษณารายการไหนที่เป็นการหลอกลวงและลบโฆษณาเหล่านั้นออกไปให้เร็วยิ่งขึ้น ผลลัพธ์คือเราได้เห็นโฆษณาที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หรือ bad ads ในสองประเภทนี้ลดน้อยลงถึง 50% โดยรวมแล้วเราได้ทำการบล็อกโฆษณาฟิชชิงไปกว่า 35 ล้านรายการ และ “โฆษณาที่หลอกให้คลิก” อีก 19 ล้านรายการ ในปี 2019
การปรับเปลี่ยนนโยบายและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ
อุตสาหกรรมบางประเภทมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ไม่หวังดีมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น เมื่อมีผู้ใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์มากขึ้น เราสังเกตว่าโฆษณาเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลที่นำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขของสินเชื่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ เราได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของเราให้เฉพาะผู้ลงโฆษณาที่ให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง และประโยชน์ของสินเชื่อในเว็บไซต์หรือแอปของพวกเขาเท่านั้นที่สามารถลงโฆษณาเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลได้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้โดยมีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน นโยบายใหม่นี้ช่วยให้เราสามารถนำโฆษณาที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หรือ bad ads ออกไปได้ถึง 9.6 ล้านรายการในปี 2019 ซึ่งมากกว่าปี 2018 ถึงสองเท่า
เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เราได้เปิดตัวโปรแกรมรับรองสำหรับผู้ลงโฆษณาเกี่ยวกับบริการบริหารหนี้ในบางประเทศที่เสนอจะเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้ให้กับลูกหนี้ เรารู้ดีว่าผู้ที่มองหาบริการเช่นนี้มักเป็นผู้ที่อยู่ในสภาพที่อ่อนไหวและตกเป็นเป้าโจมตีได้ง่ายที่สุด เราจึงต้องการสร้างประสบการณ์ที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา โปรแกรมใหม่นี้ช่วยให้เราอนุญาตเฉพาะผู้ลงโฆษณาที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานกำกับดูแลในท้องถิ่นให้สามารถลงโฆษณาสำหรับบริการประเภทนี้ได้ เรายังคงมองหาช่องทางในการขยายโปรแกรมนี้ไปยังประเทศอื่น ๆ และให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลการบริการด้านการเงินในประเทศนั้น ๆ
การมองไปข้างหน้า
การรักษาความเชื่อมั่นในระบบนิเวศของโฆษณาดิจิทัลเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของ Google ในช่วงที่ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสำคัญที่สุด การเตรียมความพร้อมและการรับมือกับความพยายามในการเอาเปรียบผู้ใช้จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ เรารู้ดีว่าชั้นเชิงของผู้ไม่หวังดีนั้นมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา และปัญหาสังคมใหม่ ๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจะเดินหน้าปกป้องผู้ใช้ ผู้ลงโฆษณา และผู้เผยแพร่โฆษณาจากผู้ไม่หวังดีบนทุกแพลตฟอร์มโฆษณาของเราต่อไป
Scott Spencer
Vice President of Product Management, Ads Privacy and Safety
Stopping bad ads to protect users
People trust Google when they’re looking for information, and we’re committed to ensuring they can trust the ads they see on our platforms, too. This commitment is especially important in times of uncertainty, such as the past few months as the world has confronted COVID-19.
Responding to COVID-19
Since the beginning of the COVID-19 outbreak, we’ve closely monitored advertiser behavior to protect users from ads looking to take advantage of the crisis. These often come from sophisticated actors attempting to evade our enforcement systems with advanced tactics. For example, as the situation evolved, we saw a sharp spike in fraudulent ads for in-demand products like face masks. These ads promoted products listed significantly above market price, misrepresented the product quality to trick people into making a purchase or were placed by merchants who never fulfilled the orders.
We have a dedicated COVID-19 task force that’s been working around the clock. They have built new detection technology and have also improved our existing enforcement systems to stop bad actors. These concerted efforts are working. We’ve blocked and removed tens of millions of coronavirus-related ads over the past few months for policy violations including price-gouging, capitalizing on global medical supply shortages, making misleading claims about cures and promoting illegitimate unemployment benefits.
Simultaneously, the coronavirus has become an important and enduring topic in everyday conversation and we’re working on ways to allow advertisers across industries to share relevant updates with their audiences. Over the past several weeks, for example, we’ve specifically helped NGOs, governments, hospitals and healthcare providers run PSAs. We continue to take a measured approach to adjusting our enforcement to ensure that we are protecting users while prioritizing critical information from trusted advertisers.
Preserving the integrity of the ecosystem
Preserving the integrity of the ads on our platforms, as we’re doing during the COVID-19 outbreak, is a continuation of the work we do every day
to minimize content that violates our policies and stop malicious actors. We have thousands of people working across our teams to make sure we’re protecting our users and enabling a safe ecosystem for advertisers and publishers, and each year we share a summary of the work we’ve done.
In 2019, we blocked and removed 2.7 billion bad ads—that’s more than 5,000 bad ads per minute. We also suspended nearly 1 million advertiser accounts for policy violations. On the publisher side, we terminated over 1.2 million accounts and removed ads from over 21 million web pages that are part of our publisher network for violating our policies. Terminating accounts—not just removing an individual ad or page—is an especially effective enforcement tool that we use if advertisers or publishers engage in egregious policy violations or have a history of violating policy.
Improving enforcement against phishing and "trick-to-click" ads
If we find specific categories of ads are more prone to abuse, we prioritize our resources to prevent bad actors from taking advantage of users. One of the areas that we’ve become familiar with is phishing, a common practice used by deceptive players to collect personal information from users under false pretenses. For example, in 2019 we saw more bad actors targeting people seeking to renew their passport. These ads mimicked real ads for renewal sites but their actual intent was to get users to provide sensitive information such as their social security or credit card number. Another common area of abuse is “trick-to-click” ads—which are designed to trick people into interacting with them by using prominent links (for example, “click here”) often designed to look like computer or mobile phone system warnings.
Because we’ve come to expect certain recurring categories like phishing and “trick-to-click,” we’re able to more effectively fight them. In 2019, we assembled an internal team to track the patterns and signals of these types of fraudulent advertisers so we could identify and remove their ads faster. As a result, we saw nearly a 50 percent decrease of bad ads served in both categories from the previous year. In total, we blocked more than 35 million phishing ads and 19 million “trick-to-click” ads in 2019.
Adapting our policies and technology in real time
Certain industries are particularly susceptible to malicious behavior. For example, as more consumers turn to online financial services over brick and mortar locations, we identified an increase in personal loan ads with misleading information on lending terms. To combat this, we broadened our policy to only allow loan-related ads to run if the advertiser clearly states all fees, risks and benefits on their website or app so that users can make informed decisions. This updated policy enabled us to take down 9.6 million of these types of bad ads in 2019, doubling our number from 2018.
At the end of last year, we also introduced a certification program for debt management advertisers in select countries that offer to negotiate with creditors to remedy debt or credit problems. We know users looking for help with this are often at their most vulnerable and we want to create a safe experience for them. This new program ensures we’re only allowing advertisers who are registered by the local regulatory agencies to serve ads for this type of service. We’re continuing to explore ways to scale this program to more countries to match local finance regulations.
Looking forward
Maintaining trust in the digital advertising ecosystem is a top priority for Google. And with global health concerns now top of mind for everyone, preparing for and responding to attempts to take advantage of our users is as important as it has ever been. We know abuse tactics will continue evolving and new societal issues will arise. We'll continue to make sure we’re protecting our users, advertisers and publishers from bad actors across our advertising platforms.
Scott Spencer
Vice President of Product Management, Ads Privacy and Safety
เคล็ดลับหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในโลกออนไลน์ช่วง COVID-19
วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563
ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกต้องอยู่บ้านเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 หลายคนหันมาใช้แอปพลิเคชันและวิธีการสื่อสารแบบใหม่เพื่อใช้ในการทำงาน การเรียนการสอน การค้นหาข้อมูล และติดต่อกับคนที่รักและห่วงใย
แม้ว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้จะมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเรา แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทีมงานวิเคราะห์ภัยคุกคามของเรา (Threat Analysis Group) ได้ทำการตรวจสอบการแฮกของมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐอย่างต่อเนื่อง และ
พบว่า
มีการโจมตีโดยใช้ข้อความเกี่ยวกับ COVID-19 ในการหลอกล่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ระบบรักษาความปลอดภัยของเรายัง
ตรวจพบ
กลโกงใหม่ ๆ เช่น อีเมลฟิชชิงที่หลอกให้ผู้รับเข้าใจว่าเป็นข้อความขอความช่วยเหลือจากองค์กรการกุศลและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่กำลังรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 อีเมลปลอมที่อ้างว่าเป็นคำสั่งจาก “ผู้บริหาร” ของบริษัทถึงพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน และอีเมลปลอมที่อ้างว่าเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ไม่เพียงเท่านี้ ระบบรักษาความปลอดภัยของเรายังตรวจพบเว็บไซต์ที่มีมัลแวร์แฝงอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมักจะล่อลวงให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้บัญชีโซเชียลมีเดียยอดนิยม เว็บไซต์ขององค์กรด้านสุขภาพ และกระทั่งแผนที่แสดงการระบาดของ COVID-19 ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาระบบคัดแยกขั้นสูงที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงของเราได้ตรวจพบมัลแวร์และการฟิชชิงที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 สูงถึงวันละ 18 ล้านรายการ นอกเหนือจากข้อความสแปมเกี่ยวกับ COVID-19 ที่พบอีกมากกว่า 240 ล้านรายการในแต่ละวัน
เพื่อปกป้องผู้ใช้จากความเสี่ยงเหล่านี้ เราได้สร้างมาตรการการป้องกันความปลอดภัยขั้นสูงลงในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเราเพื่อระบุและหยุดภัยคุกคามโดยอัตโนมัติก่อนที่จะเข้าถึงผู้ใช้ โดยโมเดลการทำงานของแมชชีนเลิร์นนิงใน Gmail ได้ตรวจพบและบล็อกสแปม ฟิชชิง และมัลแวร์ได้มากกว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบ built-in ของเรายังช่วยปกป้องผู้ใช้ด้วยการแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนเข้าเว็บไซต์หลอกลวง รวมไปถึงการตรวจสอบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใน Google Play ก่อนที่ผู้ใช้จะดาวน์โหลด และอีกมากมาย ทั้งนี้ เราต้องการช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความปลอดภัยในทุกช่องทางออนไลน์ ไม่ใช่แค่ในผลิตภัณฑ์ของเราเท่านั้น ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำเคล็ดลับง่าย ๆ รวมทั้งเครื่องมือและทรัพยากรที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันกลโกงต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19
วิธีสังเกตและหลีกเลี่ยงกลโกงเกี่ยวกับ COVID-19
กลโกงเกี่ยวกับ COVID-19 ส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบของอีเมลฟิชชิง ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องตรวจสอบและไตร่ตรองอีเมลเกี่ยวกับ COVID-19 ที่คุณได้รับอย่างถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนที่จะกดลิงก์หรือดำเนินการอื่น ๆ และต้องระวังการขอข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ที่อยู่ หรือข้อมูลบัญชีธนาคารของคุณ เป็นต้น ลิงก์ปลอมมักจะพยายามเลียนแบบเว็บไซต์ทางการโดยเพิ่มคำหรือตัวอักษรบางตัวเข้าไป คุณสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ URL ได้โดยการเลื่อนเมาส์ไปบนลิงก์ดังกล่าว (หากทำบนเดสก์ท็อป) หรือกดที่ลิงก์ค้างไว้ (หากทำบนมือถือ) ใช้
เคล็ดลับ
เหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่
g.co/covidsecuritytips
ใช้บัญชีอีเมลของบริษัทในการทำงาน
จากประสบการณ์ในการร่วมงานกับลูกค้าองค์กร เราพบว่าพนักงานมีโอกาสที่จะสร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจของบริษัทได้ถ้าพนักงานใช้บัญชีอีเมลหรืออุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการทำงานจากที่บ้าน แต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนควรทำคือต้องแยกอีเมลงานและอีเมลส่วนตัวออกจากกัน ซึ่งบัญชีอีเมลองกรค์จะมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมที่จะช่วยเก็บรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของบริษัทไว้เป็นอย่างดี หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยออนไลน์ของบริษัทของคุณ ให้ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม เช่น ระบบการยืนยันตัวตนสองปัจจัย (two-factor authentication) เป็นต้น
การรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ใช้แอปการประชุมผ่านวิดีโอ
การควบคุมความปลอดภัยที่สร้างขึ้นมาสำหรับ
Google Meet
จะถูกเปิดใช้งานตั้งแต่ต้น ดังนั้นลูกค้าองค์กรและผู้ใช้จะได้รับการป้องกันโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่จะช่วยให้การใช้แอปประชุมผ่านวิดีโอมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ดังนี้
เพิ่มขั้นตอนในการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะผู้ที่ได้รับคำเชิญเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้
เมื่อมีการส่งคำเชิญเข้าร่วมการประชุมแบบสาธารณะ ผู้ส่งคำเชิญต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟีเจอร์ “knocking” เปิดใช้งานอยู่ โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ส่งคำเชิญสามารถตรวจสอบและตอบรับผู้เข้าร่วมประชุมคนใหม่ก่อนที่จะเข้าร่วมการประชุม
หากคุณได้รับคำเชิญเข้าร่วมการประชุมที่ต้องติดตั้งแอปการประชุมผ่านวิดีโอใหม่ คุณควรตรวจสอบคำเชิญและไตร่ตรองให้แน่ใจว่าผู้ส่งคำเชิญเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่ผู้ที่แอบอ้างเป็นบุคคลอื่น ก่อนที่จะติดตั้งแอปนั้น
ติดตั้งการอัปเดตด้านความปลอดภัยเมื่อได้รับการแจ้งเตือน
ในขณะที่คุณทำงานจากที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานอาจไม่ได้รับการอัปเดตเทคโนโลยีความปลอดภัยโดยอัตโนมัติเหมือนกับตอนที่อยู่ในสำนักงานและเชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องทำการติดตั้งการอัปเดตด้านความปลอดภัยทันทีเมื่อได้รับการแจ้งเตือน ซึ่งการอัปเดตต่าง ๆ จะช่วยแก้ปัญหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่แฮกเกอร์จ้องจะโจมตีและใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา
ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน หรือ password manager เพื่อสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและเก็บรักษาให้ปลอดภัย
เมื่อคุณต้องติดตั้งแอปพลิเคชันและบริการใหม่ ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานและการเรียน คุณอาจจะใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับแอปพลิเคชันและบริการใหม่ที่ใช้ จากข้อมูลสถิติพบว่า 66% ของชาวอเมริกันยอมรับว่ามีการใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลาย ๆ บัญชี ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณมีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวอย่างแท้จริง ควรใช้รหัสผ่านที่ไม่เหมือนใครและคาดเดาได้ยาก ซึ่งเครื่องมือจัดการรหัสผ่าน หรือ password manager อย่างเช่นที่มีอยู่ใน
Android,
Chrome
และ
บัญชี Google ของคุณ
สามารถช่วยทำสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
หากคุณมีบัญชี Google คุณสามารถตรวจสอบปัญหาด้านความปลอดภัยล่าสุดได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งรับคำแนะนำเฉพาะบุคคลเพื่อช่วยปกป้องข้อมูลและอุปกรณ์ของคุณได้ด้วยฟีเจอร์ตรวจสอบความปลอดภัย หรือ
Security Checkup
นอกจากนี้ยังมีส่วนขยายสำหรับการตรวจสอบรหัสผ่านที่เรียกว่า
Password Checkup
ที่จะช่วยให้คุณทราบว่ารหัสผ่านที่คุณบันทึกไว้สำหรับเว็บไซต์หรือบัญชีต่าง ๆ ถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ และช่วยให้คุณเปลี่ยนรหัสผ่านได้ง่ายขึ้นหากจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยขึ้นไปอีกขั้น คุณควรพิจารณาเพิ่มการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (หรือเรียกอีกอย่างว่า การยืนยันตัวตนสองปัจจัย) ซึ่งคุณอาจจะใช้สำหรับบริการธนาคารออนไลน์และบริการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันอยู่แล้ว การเพิ่มการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนนี้จะช่วยป้องกันการเข้าถึงบัญชีของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยกำหนดให้ต้องใช้ปัจจัยรองนอกเหนือจากชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการลงชื่อเข้าสู่ระบบบัญชี คุณสามารถเพิ่มการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนสำหรับบัญชี Google ของคุณโดยเข้าไปที่
g.co/2SV
และหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเป้าต่อการโจมตีทางออนไลน์ เช่น สื่อมวลชน นักเคลื่อนไหว นักการเมือง หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขที่มีชื่อเสียง สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการรักษาความปลอดภัยระดับสูง หรือ Advanced Protection Program ของเราได้ที่
g.co/advancedprotection
ช่วยให้เด็ก ๆ ท่องโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย
ในขณะนี้โรงเรียนทั่วโลกต้องปิดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว จึงทำให้เด็ก ๆ ท่องโลกออนไลน์กันมากขึ้น ผู้ปกครองสามารถช่วยให้บุตรหลานเรียนรู้วิธีสังเกตกลลวงออนไลน์ผ่านทางหลักสูตร
Be Internet Awesome
และเกมการเรียนรู้แบบโต้ตอบที่ชื่อว่า
Interland
นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้
Family Link
เพื่อสร้างบัญชีที่เหมาะสมกับวัย ควบคุมการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของบุตรหลาน และติดตามกิจกรรมออนไลน์ของพวกเขาได้
ทีมงานของเรายังคงเฝ้าระวังภัยคุกคามความปลอดภัยออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่คุณจะได้ทราบความเคลื่อนไหวต่าง ๆ และได้รับการป้องกันอยู่เสมอ ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงความปลอดภัยออนไลน์ได้ที่
ศูนย์ความปลอดภัย
ของเรา
มาร์ค ไรเชอร์
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย Account Security, Identity, and Abuse
Helping you avoid COVID-19 online security risks
As people around the world are staying at home due to COVID-19, many are turning to new apps and communications tools to work, learn, access information, and stay connected with loved ones.
While these digital platforms are helpful in our daily lives, they can also introduce new online security risks. Our Threat Analysis Group continually monitors for sophisticated, government-backed hacking activity and is
seeing
new COVID-19 messaging used in attacks, and our security systems have
detected
a range of new scams such as phishing emails posing as messages from charities and NGOs battling COVID-19, directions from “administrators” to employees working from home, and even notices spoofing healthcare providers. Our systems have also spotted malware-laden sites that pose as sign-in pages for popular social media accounts, health organizations, and even official coronavirus maps. During the past couple of weeks, our advanced, machine-learning classifiers have seen 18 million daily malware and phishing attempts related to COVID-19, in addition to more than 240 million COVID-related spam messages.
To protect you from these risks, we've built advanced security protections into Google products to automatically identify and stop threats before they ever reach you. Our machine learning models in Gmail already detect and block more than 99.9 percent of spam, phishing and malware. Our built-in security also protects you by alerting you before you enter fraudulent websites, scanning apps in Google Play before you download, and more. But we want to help you stay secure everywhere online, not just on our products, so we’re providing these simple tips, tools and resources.
Know how to spot and avoid COVID-19 scams
With many of the COVID-19 related scams coming in the form of phishing emails, it’s important to pause and evaluate any COVID-19 email before clicking any links or taking other action. Be wary of requests for personal information such as your home address or bank details. Fake links often imitate established websites by adding extra words or letters to them—check the URL’s validity by hovering over it (on desktop) or with a long press (on mobile). Keep these
tips handy
and learn more at
g.co/covidsecuritytips
.
Use your company’s enterprise email account for anything work-related
Working with our enterprise customers, we see how employees can put their company’s business at risk when using their personal accounts or devices. Even when working from home, it’s important to keep your work and personal email separate. Enterprise accounts offer additional security features that keep your company’s private information private. If you’re unsure about your company’s online security safeguards, check with your IT professionals to ensure the right security features are enabled, like two-factor authentication.
Secure your video calls on video conferencing apps
The security controls built into
Google Meet
are turned on by default, so that in most cases, organizations and users are automatically protected. But there are steps you can take on any video conferencing app to make your call more secure:
Consider adding an extra layer of verification to help ensure only invited attendees gain access to the meeting.
When sharing a meeting invite publicly, be sure to enable the “knocking” feature so that the meeting organizer can personally vet and accept new attendees before they enter the meeting.
If you receive a meeting invite that requires installing a new video-conferencing app, always be sure to verify the invitation—paying special attention to potential imposters—before installing.
Install security updates when notified
When working from home, your work computer may not automatically update your security technology as it would when in the office and connected to your corporate network. It’s important to take immediate action on any security update prompts. These updates solve for known security vulnerabilities, which attackers are actively seeking out and exploiting.
Use a password manager to create and store strong passwords
With all the new applications and services you might be using for work and school purposes, it can be tempting to use just one password for all. In fact, 66 percent of Americans admit to using the same password across multiple accounts. To keep your private information private, always use unique, hard-to-guess passwords. A password manager, like the one built into Android,
Chrome
, and
your Google Account
can help make this easier.
Protect your Google Account
If you use a Google Account, you can easily review any recent security issues and get personalized recommendations to help protect your data and devices with the
Security Checkup
. Within this tool, you can also run a
Password Checkup
to learn if any of your saved passwords for third party sites or accounts have been compromised and then easily change them if needed.
You should also consider adding two-step verification (also known as two-factor authentication), which you likely already have in place for online banking and other similar services to provide an extra layer of security. This helps keep out anyone who shouldn’t have access to your accounts by requiring a secondary factor on top of your username and password to sign in. To set this up for your Google Account, go to
g.co/2SV
.
And if you’re someone who is at risk of a targeted attack—like a journalist, activist, politician or a high profile healthcare professional—enroll in the Advanced Protection Program, our strongest security offering, at
g.co/advancedprotection
.
Help your kids stay safe online
With schools closed around the world, kids are online more than ever before. You can help your kids learn how to spot scams with the educational material at
Be Internet Awesome
and within the interactive learning game,
Interland
. You can also use
Family Link
to create age-appropriate accounts, control your kids’ app downloads, and monitor their activity.
Our teams continue to monitor the evolving online security threats connected to COVID-19 so that we can keep you informed and protected. For more tips to help you improve your online security, visit our
Safety Center
.
Mark Risher
Senior Director for Account Security, Identity, and Abuse
Google จัดทำเว็บไซต์รวบรวมแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563
Google ประเทศไทย จัดทำเว็บไซต์
google.com/covid19
ศูนย์รวมข้อมูลและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรับมือกับสถาณการณ์ในปัจจุบัน โดยเว็บนี้ได้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่
1.
เคล็ดลับความปลอดภัยและการป้องกัน
รวบรวมข้อมูลการดูแลและการป้องกันเบื้องต้น เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) การอยู่บ้านเพื่อช่วยลดอัตราการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ รวมทั้งข้อมูลที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ ไป เช่น ข่าวล่าสุด หรือความหมายของการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) รวมทั้งการปฏิบัติต่อกันในสังคม
2.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมจาก Google
รวบรวมแหล่งข้อมูลที่ Google ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือสำหรับผู้คนในหลายภาคส่วน ได้แก่
บุคคลทั่วไป สามารถทำงานและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อที่จะไม่พลาดทุกการติดต่อ และได้รับข้อมูลครบถ้วนเสมอ ผ่านบทเรียนจาก
แหล่งข้อมูลการฝึกอบรมสำหรับการทำงานและการเรียนรู้ทางไกล
รวมไปถึง
การค้นหาตำแหน่งงาน
นักการศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านชั้นเรียนออนไลน์ ซึ่ง Google ได้นำ
G Suite for Education
ชุดเครื่องมือทางการศึกษาให้บริการฟรี รวมทั้ง
การใช้ Hangouts Meet พรีเมียมได้ฟรี
ด้วยเช่นกัน และ
การสำรวจแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ทางไกล
เจ้าของธุรกิจ
สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ด้วยข้อมูลเพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม
อีกทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือของ Google เช่น
Hangouts Meet ระดับพรีเมียมฟรี
หรือ
G Suite ในการทำงานร่วมกัน
พร้อมทั้ง
ดูแลทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.
ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึก
เป็นการเผยข้อมูลเชิงลึกที่สามารถค้นหาได้จาก Google Trends เช่น คำค้นหายอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา หรือ ความสนใจในการค้นหาเรื่องไวรัสโคโรนาในแต่ละประเทศ
4.
แหล่งข้อมูลเพื่อช่วยเหลือ
YouTube จัดทำแคมเปญพิเศษ StayHome #WithMe โดยได้นำคอนเทนต์ที่มีทั้งสาระและความบันเทิงจากเหล่า YouTube ครีเอเตอร์ ทั้งในแวดวงศิลปิน กีฬา และผู้ที่มีชื่อเสียงมาฟีเจอร์เป็นเพลย์ลิสต์ #WithMe บน
Google Thailand YouTube Channel
เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนที่ต้องอยู่บ้านมีความสุขไปกับการชมเพลย์ลิสต์วิดีโอสนุก ๆ เหล่านั้นไปด้วยกัน ซึ่งมีทั้ง
Stay Home With Me
,
Cook With Me
,
Learn With Me
,
Parent With Me
,
Move With Me
และ
Sing With Me
ซึ่งแต่ละเพลย์ลิสต์จะมีการปรับเปลี่ยนวิดีโอไปทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อความหลากหลาย
5.
สนับสนุนภารกิจบรรเทาทุกข์
Google.org
ตั้งเป้าบริจาคเงินจำนวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่องค์กรที่รับมือกับ COVID-19 ทั่วโลก และจะร่วมสมทบทุนเพิ่ม 2
ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการบริจาคทุก ๆ 1
ดอลลาร์สหรัฐจากบุคคลทั่วไป โดยยอดบริจาคทั้งหมดจะนำไปสมทบกองทุน COVID-19 Solidarity Response Fund ขององค์การอนามัยโลก
เพื่อช่วยสนับสนุนการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองในชุมชนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของ COVID-19
สิ่งที่เราทำเพื่อรับมือกับ COVID-19
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ก่อให้เกิดผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่องของสุขภาพ การดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพของประชาชน ส่งผลให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงาน ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจในวงกว้าง แต่เราก็ยังคงได้ยินเรื่องราวอันน่าประทับใจและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานหน้าที่ในแนวหน้าของการรับมือกับ COVID-19 หรือภาคธุรกิจที่ช่วยจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นและให้การสนับสนุนช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ตลอดจนครอบครัวและชุมชนที่คอยให้กำลังใจและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน เราจะสามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน
การเอาชนะวิกฤตในระดับนี้ต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่อง และเราจะทำ
ทุกอย่างที่เราทำได้
เพื่อสนับสนุนทุกฝ่ายในการรับมือกับ COVID-19 นับตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด Google ได้มุ่งเน้นความสำคัญในเรื่องของการทำให้ผู้คนเข้าถึง
ข้อมูลและเครื่องมือต่าง ๆ
ที่จำเป็น แต่เรารู้ดีว่ายังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมายรออยู่ข้างหน้า
วันนี้เราจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของเราเพื่อสนับสนุนประเทศไทยในการรับมือกับไวรัส COVID-19 ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมุ่งเน้นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก 3 ประการที่เราเชื่อว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ซึ่งได้แก่
การส่งเสริมข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้
การช่วยเหลือสนับสนุนความต่อเนื่องทางธุรกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคสาธารณสุข ภาคการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนจะได้รับความช่วยเหลือในยามที่พวกเขาต้องการมากที่สุด และเริ่มการฟื้นฟูเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เราต้องการต่อยอดการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งและโครงการต่าง ๆ ของเราที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศไทย และตอบสนองต่อความท้าทายเร่งด่วนที่เราเผชิญอยู่ในขณะนี้
การส่งเสริมแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
การทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพที่น่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถทำการตัดสินใจต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้างจาก COVID-19 เพื่อให้มั่นใจว่าผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ เราได้นำ
ข้อมูลอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับ COVID-19 และคำแนะนำด้านสุขภาพ
จากหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกไว้ในหน้าแรกของ Google Search รวมทั้งโปรโมทแคมเปญรณรงค์การรักษาสุขอนามัยที่ดี อย่างเช่นแคมเปญ
'Do the Five'
ที่นำเสนอ 5 ขั้นตอนพื้นฐานในการป้องกันตัวเองจาก COVID-19 สำหรับ
YouTube
เราจะเพิ่มแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ลงในผลการค้นหาให้มากขึ้น และจะแสดง
แผงข้อมูล
ไว้ข้าง ๆ วิดีโอที่เกี่ยวข้อง (ณ ปัจจุบันแสดงผลไปแล้ว 1 หมื่นล้านครั้ง) และเราจะเร่งการดำเนินงานในส่วนของการจัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เผยแพร่บน Google และ YouTube หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใน Google Play Store ทั้งนี้ นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราได้นำวิดีโอเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่มีเนื้อหาอันตรายและทำให้เกิดการเข้าใจผิดออกจาก YouTube ไปแล้วหลายพันรายการ และเรายังคงเดินหน้าลบวิดีโอที่ส่งเสริมวิธีการป้องกันไวรัสโคโรนาที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แทนการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ออกจาก YouTube อย่างต่อเนื่อง
เราจะดำเนินการเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนต่อจากนี้ สำหรับประเทศไทย เราจะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งข้อมูลอัปเดตที่เกี่ยวข้องและสำคัญในทุกแพลตฟอร์มของเราอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมผลการค้นหาและการแสดงข้อมูลแจ้งเตือนในฟีเจอร์ SOS Alert เพื่อทำให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปมีความถูกต้องมากที่สุด นอกจากนี้เราจะสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอเกี่ยวกับ COVID-19 ที่คัดสรรมาโดยเฉพาะไว้บน
YouTube
พร้อมทั้งแนะนำแอปพลิเคชันใน
Google Play
อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้คนปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ไม่เพียงเท่านี้ เรายังจะเดินหน้าให้ความร่วมมือแก่หน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยจะใช้ Google Cloud CDN ในการรองรับทราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข
Google Search ช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับ COVID-19
COVID-19 news shelf นำเสนอข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ
การทำให้มั่นใจว่าผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้ถือเป็นการสนับสนุนงานสำคัญของสื่อมวลชนและองค์กรข่าวอีกทางหนึ่ง เรายังคง
สานต่อความมุ่งมั่น
ที่จะให้การช่วยเหลือสนับสนุนสื่อมวลชนด้วย
ทรัพยากร
และ
การฝึกอบรม
ที่เป็นประโยชน์ต่อการรายงานข่าว พร้อมทั้งให้การสนับสนุน
เครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงนานาชาติ
(International Fact-Checking Network หรือ IFCN) และองค์กรอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อเท็จจริงและการวิจัยที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้เรายังได้จัดทำ
ข้อมูล Google Trends
เพื่อช่วยให้สื่อมวลชน รวมถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุขและรัฐบาลทราบถึงความกังวลและสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญ
และเมื่อเร็วๆ นี้ Google News Initiative ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP)
จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นเวลา 2 วัน
ผ่านทาง Hangout Meets เพื่อสนันสนุนสื่อมวลชนไทยรักษาคุณภาพและมาตรฐานของการรายงานข่าวให้มีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจเพื่อต่อสู้กับการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบนโลกออนไลน์ที่สร้างความตื่นตระหนกและความกังวลใจในหมู่สาธารณชน
การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้
ปัจจุบัน นักเรียน นักศึกษา จำนวนกว่า 700 ล้านคนทั่วโลกไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้คนและการรวมตัวของคนจำนวนมาก สำหรับในประเทศไทย มีนักเรียนที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ประมาณ 15 ล้านคน ส่งผลให้เกิดแรงกดดันอย่างสูงต่อครอบครัว โรงเรียน และครู อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้บ่มเพาะความหลงใหลในการเรียนรู้ของเยาวชน
เพื่อช่วยให้ครู อาจารย์ ได้รับการสนับสนุนที่พวกเขาต้องการสำหรับการจัดการเรียนการสอนทางไกล เราได้เปิดให้พวกเขา
ใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเราได้ฟรี
เช่น Hangouts Meet และ Google Classroom ตลอดจนให้การฝึกอบรมและเคล็ดลับต่าง ๆ ผ่านทาง
Google
และ
YouTube
นอกจากนี้เรากำลังเตรียมเปิดตัวเว็บไซต์
Teach from Home
ร่วมกับ UNESCO เพื่อให้เป็นศูนย์กลางสำหรับครู อาจารย์ ทั่วโลก
นอกจากนี้ เรายังได้จัดทำเว็บไซต์
Grow with Google
ศูนย์การเรียนรู้ที่รวบรวมคอร์สฝึกอบรมออนไลน์และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานและการเรียนรู้ทางไกล โดยได้จัดเนื้อหาไว้ตามประเภทต่าง ๆ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาความรู้และทักษะ ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ขาดการติดต่อกัน
การช่วยเหลือสนับสนุนความต่อเนื่องทางธุรกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ธุรกิจขนาดเล็กถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและชุมชนของเรา และในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 บรรดาผู้ค้าปลีกรายย่อยและร้านอาหารจัดเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น ถือเป็นหน้าที่ของธุรกิจขนาดใหญ่เช่น Google ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาในการรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และช่วยนำทางพวกเขาไปสู่การฟื้นตัว
เมื่อเร็ว นี้ เราได้ประกาศเกี่ยวกับการจัดสรร
งบประมาณจำนวน 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 พร้อมทั้งให้เครดิตโฆษณาเพื่อช่วยพยุงธุรกิจในช่วงวิกฤตนี้ โดยการสนับสนุนดังกล่าวครอบคลุมประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้เรายังมีแผนที่จะจัดฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้กับธุรกิจขนาดเล็ก รวมทั้งจัดหาเครื่องมือระบบคลาวด์ให้กับพวกเขา และช่วยให้พนักงานของพวกเขาสามารถทำงานจากทางไกลได้ด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเรา อาทิ แอปพลิเคชัน
Primer
และ
Skillshop
การยึดมั่นในความรับผิดชอบของเรา
วิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วนในด้านต่าง ๆ และเรามีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะยึดมั่นในความรับผิดชอบของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเช่นนี้ เราจะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ให้การสนับสนุนการศึกษาทางไกล หนุนธุรกิจขนาดเล็ก ฯลฯ โครงการริเริ่มและการดำเนินงานต่างๆ ที่เราแจ้งให้ทุกคนได้ทราบในวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เราพร้อมที่จะยืนหยัดเคียงข้างประเทศไทยและทำทุกอย่างที่เราทำได้เพื่อช่วยให้ประเทศไทยเอาชนะ COVID-19 และสร้างอนาคตที่แข็งแกร่งกว่าเดิม
แจ็คกี้ หวาง
Country Manager, Google ประเทศไทย
How we're responding to COVID-19
Around the world, the spread of COVID-19 has had a devastating impact on health, lives and jobs, including here in Thailand. We’ve had to make fundamental changes to the way we live and work, and the economic impact is affecting businesses everywhere. Yet we’ve also heard humbling and inspiring stories of health care workers on the front lines, businesses providing vital resources and support, and families and communities being there for one another—showing us that if everyone plays their part, we can and will get through this together.
Overcoming a crisis on this scale will take a sustained effort, and we want to do
everything we can
to help. Since the virus first began to spread, our focus at Google has been on making sure people have the
information and tools
they need. But we know there’s much more work ahead.
Today, we’re sharing the actions we’re going to be taking to support Thailand both in the ongoing short-term response to the virus, and in the long-term, concentrating on three priorities that we believe are critical to a sustainable recovery:
Promoting authoritative and reliable information;
Supporting education and learning; and
Contributing to business continuity and economic recovery
We’ll be working closely with government, business, the health and education sectors, nonprofits and community organisations to ensure people can get help when they need it most, and start to rebuild when the time is right. We want to build on the strong, established partnerships and programs we already have to support Thailand’s progress, while responding to the urgent challenges we now face.
Promoting authoritative and reliable information sources
It's crucial that people have access to health information they can trust online, so they can make the right decisions to protect themselves and those around them from COVID-19. To help make that reliable information available, we’ve surfaced the
latest updates and health advice
from international health authorities and promoted hygiene awareness campaigns like
'Do the Five'
. On
YouTube
, we’re raising up authoritative sources in search results and showing
information panels
alongside relevant videos on YouTube (so far, they’ve had 10 billion impressions). We’ve also stepped up our work to curb misinformation spreading on Google, YouTube or through apps on the Play Store. We’ve already taken down thousands of YouTube videos featuring dangerous or misleading coronavirus information since early February 2020, and we continue to remove videos that promote medically unproven methods to prevent coronavirus in place of seeking medical treatment.
We're going to build on these efforts in months ahead. In Thailand, we will continue to link users to the most crucial and relevant updates across all of our platforms—including organizing search results and flagging SOS alerts to ensure we are sharing the most accurate information. We will continue to create curated playlists on
YouTube
and
Play
to help people stay informed and adapt to being indoors. And we will continue our partnerships with government agencies such as the Ministry of Public Health to connect people with authoritative local information, using Google Cloud CDN to absorb traffic to the Ministry’s website.
Google Search helps users find timely and useful information about COVID-19
COVID-19 news shelf on YouTube featuring content from authoritative sources
Ensuring people have access to trusted information also means supporting the vital work of journalists and news organisations. We’ve
strengthened our commitment
to help reporters with
resources
and
training
, while expanding our backing for the
International Fact-Checking Network
and other organisations working to share authoritative facts and research. And we’ve made
Google Trends data
available to inform the media, as well as health authorities and governments, about people’s concerns and priorities around the world.
In Thailand the Google News Initiative and SONP (สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์),
hosted a two-day online training
course via Hangout Meets to help media practitioners uphold high quality journalism and newsworthy information at a time when misinformation is spreading widely online.
Supporting education and learning
Globally, more than 700 million students
are out of school because of restrictions on movement and gathering sizes. In Thailand, that’s approximately 15 million students. That’s putting huge pressure on families, schools and the incredible teachers who nurture our children’s passion for learning.
In addition we have also launched a learning hub in our
Grow with Google website
, which has centralized all of our online training and tools which support remote work and learning. These resources have been categorized for small medium businesses, professionals, teachers, and students so they can continue to develop their skills, run their businesses, and stay connected.
Contributing to business continuity and economic recovery
Small businesses are the heart of the Thai economy and communities, from small retailers to restaurants, they've been hit hardest by the outbreak. Large businesses like Google have a responsibility to help them withstand the economic impact and lead the way in the recovery.
We recently announced an
$800 million commitment
to support small businesses with access to finance, ad credits and grants to help meet the costs of the virus. That support will be available in Thailand.
At the same time, we will be expanding our programs to train small businesses in digital skills, provide them with cloud-based tools, and enable their employees to work remotely—including through our
Primer
and
Skillshop
apps.
Upholding our responsibility
COVID-19 puts intense demands on us all, and we’re determined to uphold our responsibility in this unprecedented time: to enable access to trusted information, support remote learning, back small businesses, and more. The initiatives we’re announcing today are just the start. We’re ready to stand with Thailand and do all we can to help as we overcome COVID-19 and shape a stronger future.
Jackie Wang
Country Manager, Google Thailand
ป้ายกำกับ
+1
2
#10YearsofYouTube
28
#2013 in Search
2
3D city maps
1
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
1
การค้นหา
1
การปิดกั้นโฆษณา
1
คลาวด์
1
คู่มือโมบายส์
1
โครงการภาษาที่ใกล้จะสูญหาย
1
โซเชียลแพลทฟอร์ม
1
ไซต์ไกสต์
1
เดวิด เบ็คแฮม
1
ตามรอยพระราชา
1
ทูตนักศึกษาของ Google
1
ธุรกิจไทยโกออนไลน์
2
ธุรกิจไทย GO ONLINE
2
นโยบายความเป็นส่วนตัว
1
นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว
1
นานาน่ารู้
1
ประเทศไทย
1
ปรากฎการณ์ทางดนตรี
1
พี่เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์
2
ภาษาพม่า
1
ภาษาลาว
1
มือถือ
1
โมบายส์แอพ
1
ยอดคุณแม่ยุคไอที
1
รามเกียรติ์
1
รามายณะ
1
รายงานความโปร่งใส
1
ลอนดอนเกมส์ 2012
1
ลิขสิทธิ์
1
ลิขสิทธิ์ในการค้นหา
1
วันครู
1
วันเด็กไทย
2
วันปีใหม่ไทย
1
วันพืชมงคล
1
#วันภาษาไทยแห่งชาติ
1
วันสงกรานต์
1
วันแห่งการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
1
วันแห่งความรัก
1
วันเเม่เเห่งชาติสากล
1
วาเลนไทน์
1
วิดีโอแชท
1
ศิลปิน K-Pop
1
#สตรีทวิว
5
อินเทอร์เน็ต
1
แฮงเอาท์
1
access
1
AdMob
1
AdSense feature
1
AdSense Payment
1
#adsleaderboard #leaderboard #thailand
1
advertising
2
AdWords
6
#AdWords #webinar #GoogleAdWords
1
AdWords Weekly Update
13
After School
1
agency
1
AI
8
Amit Singhal
1
Android
10
Android Games
1
#AndroidOne
1
Andy Rubin
1
Antarctica
1
Apps for EDU
3
artists
1
Bard
3
Beast
1
Be Internet Awesome
2
#Birthday
2
#BKKvote #เลือกตั้ง #ผู้ว่ากรุงเทพฯ #vote
1
black hat webspam
1
Brands
1
Build The Memory
1
Burmese
1
CBS
1
Censorship
1
Child Protection
1
Children's Day
1
#ChildrensDay2013
1
Chrome
10
#Chromebooks #GoogleTH
1
Chrome. #chromies
1
Chrome experiments
2
Chrome for Android
2
Chrome Web Lab
1
Chrome Web Store
2
#Chromies
3
Chulalongkorn Business School
1
Cloud
2
Cloud Computing
1
Computer Crimes Act
1
Consumer Product
2
Cool IT
1
Copyright
1
Cotto
1
creators
2
#CreatorsForChange
1
Crisis Response
4
Culture
7
#DatallyByGoogle
2
David Beckham
1
Developers
4
DevFest
1
digital creativity
1
Digital insights
2
Disaster Relief
5
Display Ads Builder
1
Diversity and Inclusion
3
Doodle
1
doodle 4 google
5
Drive
1
Education
3
Employment
1
Endangered Languages Project
1
Entrepreneurs
1
Environment
1
Evolution of Search
2
Family Safety
3
favourite places
1
#FilesGo
1
Flights and Hotels
3
forms
1
Freedom of expression
2
free Internet
1
g|thailand
1
Gadgets
1
Galapagos
1
game
1
#gappschallenge
1
GASP
1
GCP
1
GDG
1
geberative AI
1
Get You Google Back
1
#Gmail
7
#Gmailtips
3
GMM Grammy
1
Go Google
1
GoMo
3
Go Mobile
3
#GoMoTH
2
Good To Know
1
Google
7
Google+
23
Google+ ใหม่
1
Google+ แฮงเอาท์
1
Google+ for business
1
Google+ for iPad
1
Google+ for iPhone
2
Google+ Mobile Website
1
Google ข่าวสาร
1
Google ไดรฟ์
1
Google แปลภาษา
2
Google แผนที่
10
Google แผนที่สำหรับไอโฟน
1
Google เพื่อการศึกษา
1
Google สตรีทวิว
2
Google Ads
2
Google AdSense
5
google adwords
28
google alerts
1
Google Ambassador Program
1
Google Analytics
2
Google Apps
3
Google Apps เพื่อการศึกษา
1
Google Apps สำหรับการศึกษา
2
Google Apps Developer Challenge
2
Google Apps for Education
3
Google Apps For NGOs
1
Google Art Project
2
Google Arts and Culture
3
Google Arts & Culture
3
Google Assistant
3
Google Campus Ambassador
1
#GoogleCardboard
1
Google Certification Program
1
google chrome
13
Google Classroom
2
Google Cloud
4
Google Cloud Summit
1
Google Cultural Institute
1
Google Currents
1
Google Display Network
2
Google Docs
1
#Google Doodle
10
Google Drive
4
google earth
9
Google Earth for mobile
1
Google EDU
1
Google Engage
1
Google Flights
1
#GoogleForEducation
1
Google for Entrepreneurs
1
Google For Non-Profits
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate #loveyourlanguage
3
Google Guru
1
Google Handwrite
3
Google Health
1
Google in Asia
3
#Google #IndoorMaps #GoogleMaps #Thailand #Shopping
1
Google Keep
1
Google Lens
1
#Googlelovesmom #GoogleTH #YouTubeTH
1
google maps
45
#GoogleMaps
8
Google Maps for iOS
3
Google Maps for iPhone
1
#GoogleMaps #GoogleTH
2
Google Maps on Android
2
Google Maps on mobile
1
Google Meet
1
Google My Business
1
googlenew
1
Google News
2
Google News Initiative
1
Google Now
1
Google.org
1
Google Photography Prize
1
Google Play
7
Google Play Games
1
#GooglePlayNewsstand
1
Google Plus
6
Google Plus Pages
3
Google Scholarship
1
Google Search
30
Google Shopping
2
Google Station
1
Google Street Roo
1
#GoogleStreetView
1
#GoogleStreetview #GoogleTH
2
Google Student Ambassadors
1
google summer of code
1
#GoogleTH
5
#GoogleTH #Gmail
1
#GoogleTH #GoogleMaps #LocalGuides
1
#GoogleTH #GoogleStreetView
1
#GoogleTH #GoogleStreetView #GoogleTourismTH
1
#Googleth #Yearinsearch2015
1
Google Trader
1
Google Transit
2
Google Translate
6
#GoogleTranslateCommunity
2
Google Trends
5
#GoogleTrends #GoogleTH
1
Google TV
1
#googleupdate
1
Google Voice Search
1
Google Wallet
1
Google Workspace
4
#Google Zeitgeist
2
Googlies Award
1
Go Online
1
Grand Canyons
1
Greenpeace
1
Grow with Google
2
G Suite
1
GTBO
1
#gthailand
1
GTUG
1
hackathon
1
Hangouts
5
#HBDChrome
4
#HBDYouTube
15
#HBDYouTubeTH
15
How Search Works
1
HTML5
1
#iconicaudition
2
Iconic Online Audition
1
#IconicRecords
1
igoogle
1
Independent learning
1
INFINITE
1
Innovation Idols
1
#InnovationTH
1
Innovation Thailand
1
Innovation Thailand Report
1
insights for search
4
Internet
1
Internet economy
1
iOS
1
iPhone
1
IPv6
1
Japan Earthquake
1
Jobs
1
#kidday2013
1
King's Birthday
1
Knowledge Graph
1
K-Pop
1
languages
2
Laos
1
Launchpad Accelerator
2
#MarioMaps
1
#MFUgoesGoogle
1
Milan Design Week
1
mobile
4
mobile games
1
Mobile World Congress
1
mobilised website
1
mobilized website
1
moonshot
1
moonshot thinking
1
#morethanamap
1
Mother's Day
1
Mum
1
Myanmar
1
My Places
1
Nelson Mandela
1
Nelson Mandela Archives
1
Nelson Mandela Centre of Memory
1
New AdSense Interface
1
new look Google+
1
new year resolutions
1
Next Billion Users
6
Nexus
1
Online for Floods
1
online marketing
1
open Internet
1
OTPC
1
PC
1
Personal Search
1
#PhotoSpheres
1
Photo Tours
1
PIPA
1
#prideforeveryone #YouTubeTH
1
privacy
5
privacy policy
3
Product Launch
2
products and features
1
#ProudToBe #YouTubeTH
2
#racer
1
Ramayana
1
Reseller
1
#Review
1
#RISE
1
RISE Awards
1
#rollit
1
Royal Ploughing Ceremony
1
Safer Internet Day
2
Safe Search
1
Safety and Security
16
Safety Center
1
Search
3
search engine optimization
1
Search Plus Your World
1
Security
1
SEO
1
Shorts
3
#SID2013
1
SISTAR
1
smartphone
1
sme
1
#solveforx
1
Sonkran
1
SOPA
1
South Pole
1
#StarWars
1
#StreetView
4
Sustainability
2
teacher's day
1
#techforgood
3
Technology For Good
2
Thailand
1
Thai Language
2
Thai New Year
1
thai.ramaya.na
1
The Mobile Playbook
1
#thenextbillion
1
Think รายไตรมาส
2
Think Quarterly
2
#Trafficking
1
transparency
1
Transparency Report
1
Trekker
2
Trends
1
Tsunami
1
Valentine's Day
1
virtual keyboard
1
Voice Search
2
Wear OS
1
weather
1
Webmaster
2
webspam
1
Web Speech API
1
#weloveGmail
1
Western Union
1
white hat SEO
1
Windows 8
1
World Press Freedom Day
1
World Wonders
2
#YearInSearch
3
#Yearinsearch2016 #GoogleTH
1
#YearInSearch2017
1
#YearInSearch2018
1
#YearInSearch2019
1
#youtube
4
YouTube
4
YouTube Ads Leaderboard
1
YouTube Creators for Change
1
YouTube Go
2
YouTube Kids
1
YouTube on iOS
1
#YouTubePopUpSpace
1
YouTube Rewind
1
#YouTubeRewind #YouTubeTH
2
#YouTubeRunForUNHCR
1
YouTube Shorts
5
#YouTubeTH
33
#YouTube #YouTubeTH
1
#YTFF
1
Zeitgeist
3
บทความที่ผ่านมา
2023
พฤศจิกายน
พ.ย. 17
พ.ย. 15
พ.ย. 08
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 19
ต.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 27
ก.ย. 22
ก.ย. 21
ก.ย. 19
ก.ย. 11
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 30
ส.ค. 08
ส.ค. 04
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 24
ก.ค. 13
มิถุนายน
มิ.ย. 12
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 11
พ.ค. 02
เมษายน
เม.ย. 26
เม.ย. 11
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 29
มี.ค. 15
มี.ค. 08
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 24
ก.พ. 20
ก.พ. 09
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 18
ม.ค. 12
2022
ธันวาคม
ธ.ค. 06
ธ.ค. 02
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 22
พ.ย. 18
พ.ย. 15
พ.ย. 10
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 25
ต.ค. 21
ต.ค. 12
ต.ค. 05
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 21
ก.ย. 09
สิงหาคม
ส.ค. 25
กรกฎาคม
ก.ค. 25
มิถุนายน
มิ.ย. 27
พฤษภาคม
พ.ค. 24
เมษายน
เม.ย. 28
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 19
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 24
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 22
ก.พ. 17
ก.พ. 16
ก.พ. 11
ก.พ. 10
ก.พ. 07
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
2021
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 08
ธ.ค. 02
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 28
กันยายน
ก.ย. 30
ก.ย. 29
ก.ย. 21
ก.ย. 16
สิงหาคม
ส.ค. 23
ส.ค. 18
ส.ค. 09
ส.ค. 05
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 13
มิถุนายน
มิ.ย. 24
มิ.ย. 14
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 19
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 17
มี.ค. 16
มี.ค. 11
มี.ค. 08
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 17
ก.พ. 09
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 11
2020
ธันวาคม
ธ.ค. 09
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 30
ต.ค. 06
ต.ค. 02
ต.ค. 01
กันยายน
ก.ย. 29
สิงหาคม
ส.ค. 27
ส.ค. 12
ส.ค. 05
กรกฎาคม
ก.ค. 31
ก.ค. 15
ก.ค. 09
มิถุนายน
มิ.ย. 25
มิ.ย. 23
มิ.ย. 15
มิ.ย. 11
พฤษภาคม
พ.ค. 21
พ.ค. 19
พ.ค. 15
เมษายน
เม.ย. 30
การจัดการโฆษณาที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หรือ bad ads ...
เม.ย. 29
เคล็ดลับหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในโลกออ...
เม.ย. 16
Google จัดทำเว็บไซต์รวบรวมแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ COV...
เม.ย. 13
สิ่งที่เราทำเพื่อรับมือกับ COVID-19
เม.ย. 10
เม.ย. 08
เม.ย. 06
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 27
มี.ค. 26
มี.ค. 25
มี.ค. 20
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 16
มี.ค. 12
กุมภาพันธ์
ก.พ. 17
ก.พ. 14
ก.พ. 12
ก.พ. 06
มกราคม
ม.ค. 29
ม.ค. 14
ม.ค. 08
ม.ค. 07
2019
ธันวาคม
ธ.ค. 11
ธ.ค. 06
ธ.ค. 03
พฤศจิกายน
พ.ย. 22
พ.ย. 14
พ.ย. 06
ตุลาคม
ต.ค. 31
ต.ค. 21
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 20
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 30
ส.ค. 28
ส.ค. 21
ส.ค. 20
ส.ค. 08
ส.ค. 01
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 24
ก.ค. 22
ก.ค. 11
ก.ค. 04
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 07
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 15
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
กุมภาพันธ์
ก.พ. 20
ก.พ. 15
ก.พ. 05
ก.พ. 04
มกราคม
ม.ค. 14
ม.ค. 04
2018
ธันวาคม
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 08
พฤศจิกายน
พ.ย. 27
พ.ย. 12
พ.ย. 09
ตุลาคม
ต.ค. 24
ต.ค. 22
ต.ค. 16
ต.ค. 15
ต.ค. 11
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 24
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 12
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 16
กรกฎาคม
ก.ค. 18
มิถุนายน
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 13
มิ.ย. 05
พฤษภาคม
พ.ค. 23
พ.ค. 16
พ.ค. 11
พ.ค. 08
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 14
มี.ค. 10
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 23
ก.พ. 16
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 18
2017
ธันวาคม
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 07
ธ.ค. 06
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
ตุลาคม
ต.ค. 13
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 21
ก.ย. 20
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 29
ส.ค. 28
ส.ค. 25
ส.ค. 17
ส.ค. 11
ส.ค. 08
ส.ค. 06
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 17
ก.ค. 06
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 08
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 24
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 22
มี.ค. 09
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
ม.ค. 20
ม.ค. 16
2016
ธันวาคม
ธ.ค. 19
ธ.ค. 16
ธ.ค. 14
ธ.ค. 08
ธ.ค. 06
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 22
พ.ย. 16
พ.ย. 08
พ.ย. 07
พ.ย. 04
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 04
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 15
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 25
ส.ค. 19
ส.ค. 16
ส.ค. 10
ส.ค. 05
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 15
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 24
มิ.ย. 23
มิ.ย. 22
พฤษภาคม
พ.ค. 26
พ.ค. 12
พ.ค. 04
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 29
มี.ค. 28
มี.ค. 11
มี.ค. 08
2015
ธันวาคม
ธ.ค. 22
ธ.ค. 16
ธ.ค. 09
ธ.ค. 04
พฤศจิกายน
พ.ย. 24
พ.ย. 20
พ.ย. 16
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 18
ก.ย. 16
ก.ย. 10
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 20
ส.ค. 11
ส.ค. 05
ส.ค. 04
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 14
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 25
มิ.ย. 24
มิ.ย. 12
มิ.ย. 08
มิ.ย. 05
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 28
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 21
พ.ค. 20
พ.ค. 19
พ.ค. 18
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 15
พ.ค. 14
พ.ค. 13
พ.ค. 12
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 07
พ.ค. 01
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 29
เม.ย. 10
เม.ย. 01
มีนาคม
มี.ค. 23
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 05
กุมภาพันธ์
ก.พ. 26
ก.พ. 25
ก.พ. 23
ก.พ. 21
ก.พ. 20
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 15
2014
ธันวาคม
ธ.ค. 23
ธ.ค. 17
ธ.ค. 16
ธ.ค. 11
ธ.ค. 10
ธ.ค. 04
ตุลาคม
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 15
ก.ย. 12
ก.ย. 10
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 14
ส.ค. 13
ส.ค. 08
กรกฎาคม
ก.ค. 08
ก.ค. 02
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 20
มิ.ย. 12
มิ.ย. 11
มิ.ย. 09
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 19
พ.ค. 09
เมษายน
เม.ย. 21
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 18
2013
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 19
ธ.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 21
สิงหาคม
ส.ค. 08
ส.ค. 06
กรกฎาคม
ก.ค. 29
มิถุนายน
มิ.ย. 20
มิ.ย. 18
มิ.ย. 17
มิ.ย. 03
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 28
พ.ค. 07
เมษายน
เม.ย. 29
เม.ย. 25
เม.ย. 24
เม.ย. 16
เม.ย. 10
เม.ย. 09
เม.ย. 05
เม.ย. 04
มีนาคม
มี.ค. 28
มี.ค. 19
มี.ค. 08
มี.ค. 07
มี.ค. 06
มี.ค. 04
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 25
ก.พ. 21
ก.พ. 19
ก.พ. 18
ก.พ. 15
ก.พ. 06
ก.พ. 05
ก.พ. 04
ก.พ. 01
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 30
ม.ค. 29
ม.ค. 25
ม.ค. 22
ม.ค. 15
2012
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 10
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 27
พ.ย. 26
พ.ย. 21
พ.ย. 10
พ.ย. 08
พ.ย. 02
พ.ย. 01
ตุลาคม
ต.ค. 18
ต.ค. 11
ต.ค. 09
ต.ค. 08
ต.ค. 05
ต.ค. 02
กันยายน
ก.ย. 26
ก.ย. 25
ก.ย. 24
ก.ย. 21
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 11
ก.ย. 10
ก.ย. 07
ก.ย. 06
ก.ย. 05
ก.ย. 04
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 22
ส.ค. 20
ส.ค. 15
ส.ค. 10
ส.ค. 07
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 19
ก.ค. 18
ก.ค. 16
ก.ค. 13
ก.ค. 12
ก.ค. 11
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 21
มิ.ย. 20
มิ.ย. 19
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 14
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 28
พ.ค. 25
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 14
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 04
พ.ค. 03
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 25
เม.ย. 19
เม.ย. 18
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 04
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 06
มี.ค. 05
มี.ค. 01
กุมภาพันธ์
ก.พ. 29
ก.พ. 28
ก.พ. 24
ก.พ. 22
ก.พ. 20
ก.พ. 14
ก.พ. 13
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 27
ม.ค. 23
ม.ค. 21
ม.ค. 18
ม.ค. 16
ม.ค. 14
ม.ค. 11
ม.ค. 06
2011
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 13
ธ.ค. 08
ธ.ค. 05
พฤศจิกายน
พ.ย. 29
พ.ย. 24
พ.ย. 18
พ.ย. 08
พ.ย. 03
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 15
ต.ค. 11
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 23
ก.ย. 13
ก.ย. 02
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 26
ส.ค. 12
มิถุนายน
มิ.ย. 08
เมษายน
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 01
มกราคม
ม.ค. 21
2010
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
ตุลาคม
ต.ค. 29
ต.ค. 12
ต.ค. 06
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 21
ก.ย. 14
ก.ย. 06
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 24
ส.ค. 16
ส.ค. 09
ส.ค. 03
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 20
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 10
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 25
พ.ค. 23
พ.ค. 12
พ.ค. 07
พ.ค. 05
เมษายน
เม.ย. 13
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 23
มี.ค. 11
มี.ค. 05
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 18
2009
ธันวาคม
ธ.ค. 14
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 12
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 22
ต.ค. 15
กันยายน
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 21
ส.ค. 10
กรกฎาคม
ก.ค. 16
ก.ค. 08
ก.ค. 02
<