สิ่งหนึ่งที่เราชื่นชมมากที่สุดเกี่ยวกับครีเอเตอร์คือความสามารถและทักษะอันน่าทึ่งของพวกเขา พวกเขาเป็นทั้งนักเล่าเรื่อง ผู้กำกับ บรรณาธิการ นักการตลาด และผู้ประกอบการ เพื่อให้ครีเอเตอร์เข้าถึงโอกาสในการต่อยอดสู่ความสำเร็จ YouTube จึงได้พัฒนาจากการเป็นเพียงแพลตฟอร์มสำหรับอัปโหลดและแชร์วิดีโอไปสู่การเป็นสถานที่ที่ครีเอเตอร์สามารถค้นหาฐานผู้ชมใหม่ๆ เชื่อมต่อกับแฟนๆ ในรูปแบบต่างๆ และต่อยอดธุรกิจที่กำลังเติบโต

เราได้วางรากฐานสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบใหม่ไว้เมื่อ 14 ปีที่แล้วด้วยการเปิดตัวโปรแกรมพาร์ทเนอร์ YouTube (YPP) ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ในเวลานั้นที่มีการแบ่งรายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นบน YouTube ให้กับครีเอเตอร์ ในช่วงเวลาเพียง 3 ปีที่ผ่านมา เราได้จ่ายเงินไปกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐให้แก่ครีเอเตอร์ ศิลปิน และบริษัทสื่อต่างๆ และในไตรมาส 2 ของปีนี้ เราได้จ่ายเงินให้แก่ครีเอเตอร์และพาร์ทเนอร์มากกว่าไตรมาสใดๆ ในประวัติศาสตร์ของเรา

ในระหว่างนี้ เรายังคงเดินหน้าพัฒนาวิธีสร้างรายได้แบบใหม่ๆ สำหรับครีเอเตอร์นอกเหนือจากการโฆษณา ซึ่งรวมถึงสินค้าดิจิทัลแบบชำระเงิน สินค้า เนื้อหาที่มีแบรนด์ และอื่นๆ อีกมากมาย เป้าหมายร่วมกันของเรากับครีเอเตอร์คือการช่วยให้พวกเขาสร้างโมเดลธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลายที่ได้ผลทั้งในส่วนของเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์และส่วนของกลุ่มผู้ชม

จากการเปิดตัวของ YouTube Shorts Fund ตอนนี้เรามีวิธีสร้างรายได้บน YouTube สำหรับครีเอเตอร์และศิลปินถึง 10 วิธีด้วยกัน ซึ่งได้แก่

  1. เงินสนับสนุนของ Shorts เงินสนับสนุนของ YouTube Shorts จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐได้รับการจัดสรรสำหรับการสนับสนุนครีเอเตอร์ในช่วงปี 2021-2022 เราจะติดต่อครีเอเตอร์หลายพันคนในแต่ละเดือนเพื่อแจ้งให้ทราบว่าครีเอเตอร์รายนั้นๆ มีสิทธิ์รับเงินสนับสนุนของ YouTube Shorts โดยครีเอเตอร์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จะได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 100 - 10,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะพิจารณาจากยอดผู้ชมและการมีส่วนร่วมในวิดีโอ Shorts ของพวกเขา เงินสนับสนุนของ Shorts ถือเป็นก้าวแรกในการสร้างโมเดลการสร้างรายได้สำหรับการทำวิดีโอ Shorts บน YouTube และไม่จำกัดเพียงครีเอเตอร์ที่อยู่ในโปรแกรมพาร์ทเนอร์ YouTube (YPP) เท่านั้น โดยครีเอเตอร์ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้เช่นกัน ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่ นอกจากนี้เรายังมอบเงินสนับสนุนผ่านทาง Black Voices Fund และ Kids Fund อีกด้วย 
  2. โฆษณา โฆษณาถือเป็นแหล่งรายได้หลักของครีเอเตอร์ และยังคงเป็นช่องทางหลักในการสร้างรายได้บน YouTube ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ที่ครีเอเตอร์ได้รับมาจากโฆษณาบน YouTube
  3. YouTube Premium YouTube Premium เป็นการสมัครใช้บริการแบบชำระเงินที่ให้สมาชิกรับชมวิดีโอบน YouTube ได้แบบไม่มีโฆษณาคั่น เล่นขณะล็อกหน้าจอหรือขณะใช้แอปอื่น ดาวน์โหลดวิดีโอ และเข้าถึง YouTube Music Premium ได้ โดยรายได้จากการติดตามส่วนใหญ่จะเป็นของพันธมิตร YouTube
  4. การเป็นสมาชิกของช่อง ครีเอเตอร์สามารถใช้การเป็นสมาชิกของช่องเพื่อมอบสิทธิพิเศษและเนื้อหาแบบเอ็กซ์คลูซีฟให้กับผู้ชมที่สมัครเป็นสมาชิกของช่องแบบชำระเงินรายเดือนในราคาที่ครีเอเตอร์เป็นผู้กำหนดเอง
  5. ฟีเจอร์ Super Chat แฟนๆ ที่รับชมการสตรีมแบบสดและวิดีโอพรีเมียร์สามารถซื้อ Super Chat ซึ่งเป็นข้อความที่จะถูกไฮไลต์ในแชทของสตรีมแบบสดซึ่งจะโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ เพื่อให้ได้รับความสนใจจากครีเอเตอร์คนโปรดมากยิ่งขึ้น
  6. ฟีเจอร์ Super Thanks ตอนนี้ผู้ชมสามารถแสดงความชื่นชมและขอบคุณครีเอเตอร์สำหรับวิดีโอที่อัปโหลดผ่านทาง Super Thanks ได้แล้ว โดยผู้ที่ซื้อ Super Thanks จะได้รับความคิดเห็นสีสันสดใสอันโดดเด่นเป็นโบนัสในส่วนความคิดเห็นของวิดีโอ ซึ่งครีเอเตอร์สามารถเข้ามาตอบกลับได้ 
  7. ฟีเจอร์ Super Stickers Super Stickers เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่แฟนๆ สามารถแสดงการสนับสนุนครีเอเตอร์ในระหว่างการสตรีมแบบสดและวิดีโอพรีเมียร์ โดยแฟนๆ สามารถซื้อสติกเกอร์ที่โดดเด่นเพื่อส่งให้กับครีเอเตอร์ที่ตนชื่นชอบผ่านทางแชทได้
  8. ฟีเจอร์สินค้า ชั้นวางสินค้าช่วยให้ช่องต่างๆ แสดงสินค้าที่มีแบรนด์อย่างเป็นทางการของตนเองบน YouTube ได้ โดยมีผู้ค้าปลีก 30 รายทั่วโลกให้ครีเอเตอร์เลือก
  9. ฟีเจอร์การจำหน่ายตั๋ว ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้แฟนเพลงทราบข้อมูลเกี่ยวกับคอนเสิร์ตที่กำลังจะจัดขึ้น และซื้อตั๋วได้ง่ายๆ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของพาร์ทเนอร์ผู้จำหน่ายตั๋วโดยตรง
  10. YouTube BrandConnect YouTube BrandConnect (มีชื่อเรียกเดิมว่า FameBit) ช่วยให้ครีเอเตอร์และแบรนด์สร้างเนื้อหาที่มีแบรนด์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ YouTube BrandConnect นำเสนอข้อมูลเชิงลึก การวัดผล และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนกลยุทธ์การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์ ครีเอเตอร์ และผู้ชมเข้าด้วยกัน
เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิธีใหม่ๆ สำหรับครีเอเตอร์ในการยกระดับธุรกิจของพวกเขาไปอีกขั้น เพราะความสำเร็จของพวกเขาคือความสำเร็จของเราเช่นกัน ที่ YouTube เราเฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งใหม่หรือเป้าหมายที่ทำได้สำเร็จร่วมกัน ในขณะที่ครีเอเตอร์กำลังกลายเป็นบริษัทสื่อรุ่นต่อไป เราก็จะยังคงเดินหน้านำเสนอวิธีใหม่ๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จและเติบโต

Robert Kyncl Chief Business Officer, YouTube


ปัจจุบัน ผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสมากกว่าที่เคยเป็นมา และความก้าวหน้าทางปัญญาประดิษฐ์จะเปลี่ยนวิธีที่เราใช้ข้อมูลเหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง ด้วยความสามารถในการค้นพบข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ที่สามารถช่วยเราทั้งในชีวิตประจำวันและวิธีที่เราสามารถจัดการกับความท้าทายระดับโลกที่ซับซ้อนได้


ในงาน Search On วันนี้ เราได้แชร์วิธีที่เรานำความก้าวหน้าล่าสุดของ AI มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Google เพื่อทำให้ผู้คนมีวิธีใหม่ๆ ในการค้นหาและสำรวจข้อมูลด้วยวิธีที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น


ทำให้การค้นหาหลายรูปแบบเป็นไปได้ด้วย MUM


เมื่อต้นปีนี้ที่งาน Google I/O เราได้ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการทำความเข้าใจข้อมูลด้วยโมเดลหลายรูปแบบ (Multitask Unified Model หรือ MUM) หรือเรียกสั้นๆ ว่า MUM


เราได้ทดลองใช้ความสามารถอันทรงพลังของ MUM เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีประโยชน์มากขึ้น และทำให้เกิดวิธีใหม่ๆ ในการค้นหาข้อมูล วันนี้ เราจะแชร์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่สามารถทำได้ด้วย MUM


ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เราจะเปิดตัววิธีใหม่ในการค้นหาข้อมูล ให้คุณสามารถถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเห็นได้ นี่คือตัวอย่างว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างด้วย MUM



ด้วยความสามารถใหม่นี้ เมื่อคุณเจอรูปของเสื้อที่ชอบ คุณสามารถแตะไปที่ไอคอน Lens และขอให้ Google ค้นหาเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น เช่น ถุงเท้า ที่มีลายแบบเดียวกันได้ ฟีเจอร์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในกรณีที่คุณกำลังมองหาบางสิ่งที่อาจอธิบายได้ยากด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์ว่า “ถุงเท้าสไตล์วิคตอเรียนลายดอกไม้สีขาว” คุณอาจไม่พบลายที่ต้องการ การรวมรูปภาพและข้อความเข้าเป็นคำค้นหาเดียว ทำให้เราค้นหาด้วยภาพได้ง่ายขึ้นและแสดงคำถามด้วยวิธีที่เป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น


บางคำถามอย่างอาจซับซ้อนกว่าปกติ เช่น จักรยานของคุณมีชิ้นส่วนหนึ่งที่เสีย และคุณต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีซ่อมชิ้นส่วนนั้น แทนที่จะเปิดดูแคตตาล็อกชิ้นส่วนจักรยานแล้วมองหาคลิปสอนวิธีซ่อม โหมดการค้นหาแบบชี้แล้วถามจะช่วยให้คุณพบสิ่งที่ต้องการในวิดีโอได้ง่ายขึ้น

ช่วยคุณสำรวจด้วยหน้าค้นหาที่ออกแบบใหม่


ภายในงาน เรายังได้พูดถึงการใช้ความก้าวหน้าของ AI เช่น MUM เพื่อออกแบบ Google Search ใหม่ ฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้เป็นก้าวล่าสุดของเราในการทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นธรรมชาติและใช้งานง่ายขึ้น

ประการแรก เราจะทำให้การสำรวจและทำความเข้าใจหัวข้อใหม่ๆ ง่ายขึ้นด้วยฟีเจอร์ “Things to know” (เรื่องน่ารู้) สมมติว่าคุณต้องการตกแต่งอพาร์ทเมนต์ของคุณ และคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวาดภาพสีอะคริลิก


หากคุณค้นหา “การวาดภาพสีอะคริลิค” Google จะเข้าใจวิธีที่ผู้คนสำรวจหัวข้อนี้โดยทั่วไป และแสดงแง่มุมต่างๆ ที่ผู้คนมักจะมองเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น เราสามารถระบุหัวข้อเกี่ยวกับการวาดภาพสีอะคริลิคได้มากกว่า 350 หัวข้อ และช่วยให้คุณค้นพบสิ่งที่คุณต้องการ

เราจะเปิดตัวฟีเจอร์นี้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ในอนาคต MUM จะปลดล็อกข้อมูลเชิงลึกที่คุณอาจไม่เคยค้นหามาก่อน เช่น “วิธีวาดภาพสีอะคริลิคด้วยของใช้ในบ้าน” และเชื่อมโยงคุณกับเนื้อหาบนเว็บที่คุณไม่เคยพบมาก่อน


ประการที่สอง เพื่อช่วยให้คุณสำรวจไอเดียอื่นๆ เพิ่มเติม เราจะทำให้การขยายหัวข้อเป็นเรื่องง่ายด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ สำหรับปรับแต่งและขยายการค้นหา

ในกรณีนี้ คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคเฉพาะ เช่น การเทสีลงบนผ้าใบ หรือชั้นเรียนศิลปะที่คุณสามารถเข้าเรียนได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถขยายขอบเขตการค้นหาของคุณเพื่อดูหัวข้อที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น วิธีการวาดภาพแบบอื่นๆ และจิตรกรที่มีชื่อเสียง ฟีเจอร์เหล่านี้จะเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า



ประการที่สาม เราจะทำให้การค้นหาแรงบันดาลใจด้วยภาพง่ายขึ้นด้วยหน้าผลการค้นหาที่ได้รับการออกแบบใหม่และสามารถเลื่อนดูได้ หากการเทสีลงบนผ้าใบดึงดูดสายตาของคุณ เพียงค้นหา “ไอเดียการเทสีลงบนผ้าใบ” เพื่อดูหน้าเว็บที่เต็มไปด้วยไอเดียต่างๆ ซึ่งมีบทความ รูปภาพ วิดีโอ และอื่นๆ ที่คุณสามารถเลื่อนดูได้อย่างง่ายดาย

หน้าผลการค้นหาภาพใหม่นี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจ เช่น “ไอเดียการตกแต่งธีมฮาโลวีน” หรือ “ไอเดียสวนแนวตั้งในร่ม” และคุณสามารถทดลองใช้ได้แล้ววันนี้

ได้ข้อมูลจากวิดีโอมากขึ้น

เราใช้ระบบ AI ขั้นสูงเพื่อระบุช่วงเวลาสำคัญในวิดีโอ เช่น ช็อตแห่งชัยชนะในการแข่งขันบาสเก็ตบอล หรือขั้นตอนการทำอาหาร วันนี้ เรากำลังก้าวไปอีกขั้นด้วยประสบการณ์ใหม่ที่ระบุหัวข้อที่เกี่ยวข้องในวิดีโอ พร้อมลิงก์สำหรับการเจาะลึกและเรียนรู้เพิ่มเติม


เมื่อใช้ MUM เราสามารถแสดงหัวข้อที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ได้กล่าวถึงอย่างชัดเจนในวิดีโอ โดยอิงจากความเข้าใจขั้นสูงเกี่ยวกับข้อมูลในวิดีโอ ในตัวอย่างนี้ แม้ว่าวิดีโอจะไม่ได้พูดคำว่า “เรื่องราวชีวิตของเพนกวินมักกะโรนี” ระบบของเราก็เข้าใจว่าหัวข้อที่อยู่ในวิดีโอเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ เช่น วิธีที่เพนกวินมักกะโรนีตามหาสมาชิกในครอบครัวและหลบหลีกจากสัตว์นักล่า  เราจะเปิดตัวเวอร์ชันแรกของฟีเจอร์นี้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และเราจะเพิ่มการปรับปรุงภาพเพิ่มเติมในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

จากประสบการณ์ MUM ทั้งหมดเหล่านี้ เราหวังว่าจะช่วยให้ผู้คนค้นพบหน้าเว็บ วิดีโอ รูปภาพ และไอเดียต่างๆ ที่พวกเขาอาจไม่เคยพบเจอหรือค้นหามาก่อน

Google ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น

การอัปเดตที่เราประกาศในวันนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ MUM เท่านั้น เรายังทำให้การซื้อสินค้าจากร้านค้าต่างๆ ทั้งรายใหญ่และรายเล็กเป็นเรื่องง่ายขึ้น และมีทุกอย่างให้คุณเลือกสรร และเรากำลังช่วยให้ผู้คนประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลบนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรากำลังค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด

สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยผู้คนทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังช่วยครีเอเตอร์ ผู้เผยแพร่โฆษณา และธุรกิจอีกด้วย ในแต่ละวันเรานำทางผู้คนไปยังเว็บไซต์ต่างๆ มากกว่า 100 ล้านเว็บไซต์ และในแต่ละเดือน Google เชื่อมโยงผู้คนกับธุรกิจมากกว่า 120 ล้านแห่งที่ไม่มีเว็บไซต์ โดยการเปิดใช้งานการโทร เส้นทางขับรถ และการเข้าชมหน้าร้านจริง

ในขณะที่เรายังคงเดินหน้าสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องและขยายขอบเขตของความหมายของการค้นหา เราก็หวังว่าจะได้ช่วยเหลือผู้คนในการค้นหาคำตอบที่ต้องการ และจุดประกายคำถามให้มากขึ้นไปพร้อมกัน

Prabhakar Raghavan, Senior Vice President


How AI is making information more useful


Today, there’s more information accessible at people’s fingertips than at any point in human history. And advances in artificial intelligence will radically transform the way we use that information, with the ability to uncover new insights that can help us both in our daily lives and in the ways we are able to tackle complex global challenges.


At our Search On livestream event today, we shared how we’re bringing the latest in AI to Google’s products, giving people new ways to search and explore information in more natural and intuitive ways.


Making multimodal search possible with MUM


Earlier this year at Google I/O, we announced we’ve reached a critical milestone for understanding information with Multitask Unified Model, or MUM for short.


We’ve been experimenting with using MUM’s capabilities to make our products more helpful and enable entirely new ways to search. Today, we’re sharing an early look at what will be possible with MUM.


In the coming months, we’ll introduce a new way to search visually, with the ability to ask questions about what you see. Here are a couple of examples of what will be possible with MUM.



With this new capability, you can tap on the Lens icon when you’re looking at a picture of a shirt, and ask Google to find you the same pattern — but on another article of clothing, like socks. This helps when you’re looking for something that might be difficult to describe accurately with words alone. You could type “white floral Victorian socks,” but you might not find the exact pattern you’re looking for. By combining images and text into a single query, we’re making it easier to search visually and express your questions in more natural ways.



Some questions are even trickier: Your bike has a broken thingamajig, and you need some guidance on how to fix it. Instead of poring over catalogs of parts and then looking for a tutorial, the point-and-ask mode of searching will make it easier to find the exact moment in a video that can help.


Helping you explore with a redesigned Search page


We’re also announcing how we’re applying AI advances like MUM to redesign Google Search. These new features are the latest steps we’re taking to make searching more natural and intuitive.


First, we’re making it easier to explore and understand new topics with “Things to know.” Let’s say you want to decorate your apartment, and you’re interested in learning more about creating acrylic paintings.



If you search for “acrylic painting,” Google understands how people typically explore this topic, and shows the aspects people are likely to look at first. For example, we can identify more than 350 topics related to acrylic painting, and help you find the right path to take.


We’ll be launching this feature in the coming months. In the future, MUM will unlock deeper insights you might not have known to search for — like “how to make acrylic paintings with household items” — and connect you with content on the web that you wouldn’t have otherwise found.



Second, to help you further explore ideas, we’re making it easy to zoom in and out of a topic with new features to refine and broaden searches.


In this case, you can learn more about specific techniques, like puddle pouring, or art classes you can take. You can also broaden your search to see other related topics, like other painting methods and famous painters. These features will launch in the coming months.



Third, we’re making it easier to find visual inspiration with a newly designed, browsable results page. If puddle pouring caught your eye, just search for “pour painting ideas" to see a visually rich page full of ideas from across the web, with articles, images, videos and more that you can easily scroll through.


This new visual results page is designed for searches that are looking for inspiration, like “Halloween decorating ideas” or “indoor vertical garden ideas,” and you can try it today.


Get more from videos


We already use advanced AI systems to identify key moments in videos, like the winning shot in a basketball game, or steps in a recipe. Today, we’re taking this a step further, introducing a new experience that identifies related topics in a video, with links to easily dig deeper and learn more.



Using MUM, we can even show related topics that aren’t explicitly mentioned in the video, based on our advanced understanding of information in the video. In this example, while the video doesn’t say the words “macaroni penguin’s life story,” our systems understand that topics contained in the video relate to this topic, like how macaroni penguins find their family members and navigate predators. The first version of this feature will roll out in the coming weeks, and we’ll add more visual enhancements in the coming months.


Across all these MUM experiences, we look forward to helping people discover more web pages, videos, images and ideas that they may not have come across or otherwise searched for.


A more helpful Google


The updates we’re announcing today don’t end with MUM, though. We’re also making it easier to shop from the widest range of merchants, big and small, no matter what you’re looking for. And we’re helping people better evaluate the credibility of information they find online. Plus, for the moments that matter most, we’re finding new ways to help people get access to information and insights. 


All this work not only helps people around the world, but creators, publishers and businesses as well. Every day, we send visitors to well over 100 million different websites, and every month, Google connects people with more than 120 million businesses that don't have websites, by enabling phone calls, driving directions and local foot traffic.


As we continue to build more useful products and push the boundaries of what it means to search, we look forward to helping people find the answers they’re looking for, and inspiring more questions along the way.


Prabhakar Raghavan, Senior Vice President

การร่างนโยบายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องนั้นมาพร้อมกับความท้าทายและอุปสรรค ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เมื่อมีการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ นอกจากนี้ ประสบการณ์ส่วนตัวมักมีบทบาทสำคัญต่อการอภิปรายออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีนที่เป็นหัวข้อสำคัญในปีที่ผ่านๆ มา แม้ว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุขจะมีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนก็ตาม ตอนนี้เรากำลังขยายขอบเขตของนโยบายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องบน YouTube โดยมีหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับวัคซีนที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นและ WHO อนุมัติ รวมทั้งยืนยันว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
การร่างนโยบายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องนั้นมาพร้อมกับความท้าทายและอุปสรรค ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เมื่อมีการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ นอกจากนี้ ประสบการณ์ส่วนตัวมักมีบทบาทสำคัญต่อการอภิปรายออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีนที่เป็นหัวข้อสำคัญในปีที่ผ่านๆ มา แม้ว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุขจะมีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนก็ตาม ตอนนี้เรากำลังขยายขอบเขตของนโยบายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องบน YouTube โดยมีหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับวัคซีนที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นและ WHO อนุมัติ รวมทั้งยืนยันว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

หลักเกณฑ์ของชุมชนของเรายับยั้งไม่ให้แสดงเนื้อหาบางประเภทที่มีการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว ที่ผ่านมา เราได้ลบเนื้อหาที่ส่งเสริมการรักษาที่เป็นอันตราย เช่น การอ้างว่าการดื่มน้ำมันสนช่วยรักษาโรคได้ ในช่วงแรกที่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด เราได้กำหนดนโยบายเหล่านี้ขึ้นมา ตลอดจนร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดนโยบายใหม่ 10 ข้อเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 นับตั้งแต่ปีที่แล้ว เราได้นำวิดีโอ 130,000 รายการออกเนื่องจากละเมิดนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

ระหว่างการทำงานครั้งนี้ เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีร่างและบังคับใช้นโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องในวงกว้าง เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความมุ่งมั่นในการสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างกับความต้องการที่จะนำเนื้อหาที่เป็นอันตรายร้ายแรงออก เราพบเห็นการกล่าวอ้างที่เป็นเท็จเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาที่เข้าข่ายการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนโดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เราเห็นสมควรแล้วว่าการสานต่อเจตนาที่เริ่มขึ้นจากวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมไปถึงวัคซีนอื่นๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วงนี้

กล่าวคือ เราจะลบเนื้อหาที่มีการกล่าวอ้างซึ่งเป็นเท็จว่าวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติแล้วเป็นอันตรายและก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ การกล่าวอ้างว่าวัคซีนไม่ลดการแพร่เชื้อหรือการติดเชื้อ หรือเนื้อหาที่มีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสารที่อยู่ในวัคซีน ซึ่งรวมถึงเนื้อหาที่มีการกล่าวอ้างซึ่งเป็นเท็จว่าวัคซีนที่ได้รับอนุมัติแล้วก่อให้เกิดโรคออทิสติก มะเร็ง หรือทำให้มีบุตรยาก หรือการกล่าวอ้างซึ่งเป็นเท็จว่าสารในวัคซีนใช้ติดตามตัวผู้ที่ได้รับวัคซีนได้ นโยบายของเราไม่ได้ครอบคลุมแค่วัคซีนพื้นฐานที่เฉพาะเจาะจง เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัดหรือไวรัสตับอักเสบบี แต่ยังครอบคลุมถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีนด้วย

ในส่วนของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับโควิด เราได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและองค์กรด้านสุขภาพระดับนานาชาติและท้องถิ่นเพื่อพัฒนานโยบายเหล่านี้ เช่น หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนมีลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับวัคซีนจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขและสอดคล้องกับความเห็นพ้องทางการแพทย์ การปรับปรุงนโยบายเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ หากมีการปรับปรุงนโยบายเพิ่มเติม ระบบจะใช้เวลาสักพักในการบังคับใช้นโยบายอย่างเต็มที่

นโยบายใหม่ของเรามีข้อยกเว้นที่สำคัญ เนื่องจากการสนทนาและการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ เราจะยังอนุญาตให้แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายสำหรับวัคซีน การทดสอบวัคซีนใหม่ และความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอดีตของวัคซีนบน YouTube รวมถึงอนุญาตให้แสดงคำนิยมส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ตราบใดที่วิดีโอไม่ละเมิดหลักเกณฑ์อื่นๆ ของชุมชน หรือช่องไม่ได้แสดงพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความลังเลเกี่ยววัคซีน

นโยบายทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของเราที่ต้องการนำเสนอข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือบนแพลตฟอร์ม รวมทั้งเชื่องโยงผู้คนกับแหล่งข้อมูลและเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ

การปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนในวันนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการแก้ปัญหาการให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องบนแพลตฟอร์มของเรา เราจะลงทุนในนโยบายและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทุกระดับที่นำข้อมูลคุณภาพสูงมาสู่ผู้ชมและทุกคนในชุมชน YouTube อย่างต่อเนื่อง


โพสต์โดยทีมงาน YouTube


Managing harmful vaccine content on YouTube


Crafting policy around medical misinformation comes charged with inherent challenges and tradeoffs. Scientific understanding evolves as new research emerges, and firsthand, personal experience regularly plays a powerful role in online discourse. Vaccines in particular have been a source of fierce debate over the years, despite consistent guidance from health authorities about their effectiveness. Today, we're expanding our medical misinformation policies on YouTube with new guidelines on currently administered vaccines that are approved and confirmed to be safe and effective by local health authorities and the WHO.


Our Community Guidelines already prohibit certain types of medical misinformation. We've long removed content that promotes harmful remedies, such as saying drinking turpentine can cure diseases. At the onset of COVID-19, we built on these policies when the pandemic hit, and worked with experts to develop 10 new policies around COVID-19 and medical misinformation. Since last year, we’ve removed over 130,000 videos for violating our COVID-19 vaccine policies.


Throughout this work, we learned important lessons about how to design and enforce nuanced medical misinformation policies at scale. Working closely with health authorities, we looked to balance our commitment to an open platform with the need to remove egregious harmful content. We’ve steadily seen false claims about the coronavirus vaccines spill over into misinformation about vaccines in general, and we're now at a point where it's more important than ever to expand the work we started with COVID-19 to other vaccines.


Specifically, content that falsely alleges that approved vaccines are dangerous and cause chronic health effects, claims that vaccines do not reduce transmission or contraction of disease, or contains misinformation on the substances contained in vaccines will be removed. This would include content that falsely says that approved vaccines cause autism, cancer or infertility, or that substances in vaccines can track those who receive them. Our policies not only cover specific routine immunizations like for measles or Hepatitis B, but also apply to general statements about vaccines.


As with our COVID guidelines, we consulted with local and international health organizations and experts in developing these policies. For example, our new guidance on vaccine side effects maps to public vaccine resources provided by health authorities and backed by medical consensus. These policy changes will go into effect today, and as with any significant update, it will take time for our systems to fully ramp up enforcement.


There are important exceptions to our new guidelines. Given the importance of public discussion and debate to the scientific process, we will continue to allow content about vaccine policies, new vaccine trials, and historical vaccine successes or failures on YouTube. Personal testimonials relating to vaccines will also be allowed, so long as the video doesn't violate other Community Guidelines, or the channel doesn't show a pattern of promoting vaccine hesitancy.


All of this complements our ongoing work to raise up authoritative health information on our platform and connect people with credible, quality health content and sources.


Today’s policy update is an important step to address vaccine and health misinformation on our platform, and we’ll continue to invest across the board in the policies and products that bring high quality information to our viewers and the entire YouTube community.


By The YouTube Team

เมื่อ YouTube แนะนำวิดีโอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้คนนับล้านทั่วโลกจะได้พบกับเนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และสร้างความบันเทิงในแบบที่เหมือนใคร สำหรับผมแล้ว เนื้อหาที่ว่านั้นคือการนั่งฟังบรรยายเรื่องคำถามด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน หรือการรับชมไฮไลต์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัย University of Southern California ที่จำได้ว่าเคยดูสมัยเด็กๆ สำหรับลูกสาวคนโตของผม นั่นคงเป็นการสร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเองและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบนช่อง Vlogbrothers และสำหรับลูกชายคนโต วิดีโอแนะนำก็ช่วยให้เขาเข้าใจพีชคณิตเชิงเส้นมากขึ้นผ่านแอนิเมชันอธิบายบทเรียนของช่อง 3Blue1Brown แถมยังมีวิดีโอช่อง KSI ให้ดูในเวลาพักด้วย
เมื่อ YouTube แนะนำวิดีโอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้คนนับล้านทั่วโลกจะได้พบกับเนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และสร้างความบันเทิงในแบบที่เหมือนใคร สำหรับผมแล้ว เนื้อหาที่ว่านั้นคือการนั่งฟังบรรยายเรื่องคำถามด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน หรือการรับชมไฮไลต์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัย University of Southern California ที่จำได้ว่าเคยดูสมัยเด็กๆ สำหรับลูกสาวคนโตของผม นั่นคงเป็นการสร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเองและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบนช่อง Vlogbrothers และสำหรับลูกชายคนโต วิดีโอแนะนำก็ช่วยให้เขาเข้าใจพีชคณิตเชิงเส้นมากขึ้นผ่านแอนิเมชันอธิบายบทเรียนของช่อง 3Blue1Brown แถมยังมีวิดีโอช่อง KSI ให้ดูในเวลาพักด้วย

อย่างที่ได้เห็นจากครอบครัวของผม วิดีโอเกือบทุกประเภทล้วนมีกลุ่มผู้ชม และระบบการแนะนำวิดีโอก็มีหน้าที่ค้นหากลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น ลองคิดดูสิว่ามันจะยากแค่ไหนหากคุณต้องไล่ดูหนังสือทุกเล่มในห้องสมุดขนาดใหญ่โดยไม่มีบรรณารักษ์คอยช่วย วิดีโอแนะนำทำให้ YouTube มีผู้ชมโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มากกว่าผู้ชมที่ได้จากการติดตามช่องหรือการค้นหาเสียอีก ผมใช้เวลาสร้างระบบการแนะนำวิดีโอที่ YouTube มากกว่า 10 ปี และภูมิใจที่ได้เห็นระบบนี้กลายเป็นส่วนสำคัญในประสบการณ์การใช้งาน YouTube ของทุกคน แต่ก็มีบ่อยครั้งที่คนมองว่าการแนะนำวิดีโอเป็นเหมือนกล่องดำปริศนา เราอยากให้คนทั่วไปเข้าใจระบบเหล่านี้ ผมจึงขออธิบายวิธีการทำงาน ตลอดจนพัฒนาการและสาเหตุที่เราให้ความสำคัญสูงสุดแก่การแนะนำวิดีโออย่างมีความรับผิดชอบ

ระบบการแนะนำวิดีโอคืออะไร

เราสร้างระบบการแนะนำวิดีโอขึ้นมาด้วยหลักการง่ายๆ คือการช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบวิดีโอที่ตนอยากดูและได้รับคุณค่าจากวิดีโอเหล่านั้น คุณจะพบว่าวิดีโอแนะนำมีการทำงานใน 2 จุดหลักๆ คือในหน้าแรกและในแผง "วิดีโอถัดไป" หน้าแรกคือสิ่งที่คุณเห็นเป็นอย่างแรกเมื่อเปิด YouTube หน้านี้จะแสดงทั้งวิดีโอแนะนำที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับคุณ วิดีโอจากช่องที่ติดตาม ตลอดจนข่าวสารและข้อมูลล่าสุด ส่วนแผง "วิดีโอถัดไป" จะปรากฏในขณะที่คุณดูวิดีโอเพื่อแนะนำเนื้อหาเพิ่มเติมตามสิ่งที่กำลังรับชม รวมถึงวิดีโออื่นๆ ที่เราคิดว่าคุณอาจสนใจ

วิดีโอแนะนำในหน้าแรก

การแนะนำ "วิดีโอถัดไป"

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2008 ตอนที่เราเริ่มสร้างระบบการแนะนำวิดีโอเป็นครั้งแรก การทำงานในตอนนั้นต่างออกไปโดยสิ้นเชิง สมมติว่าโดยส่วนใหญ่คุณมักดูวิดีโอการทำอาหาร คงจะน่าหงุดหงิดไม่ใช่น้อยหากหน้าแรกแนะนำแต่วิดีโอเกี่ยวกับกีฬาและเพลงใหม่ล่าสุดเพราะมียอดดูสูงสุด นั่นล่ะคือ YouTube ในยุคแรกๆ ซึ่งระบบจะจัดอันดับวิดีโอตามความนิยมเพื่อสร้างหน้า "มาแรง" ขนาดใหญ่ขึ้นมา 1 หน้า แต่คนที่ดูวิดีโอจากหน้านี้กลับมีไม่มากนัก และผู้ชม YouTube ส่วนใหญ่ก็มาจากการค้นหาหรือการแชร์ลิงก์นอกแพลตฟอร์ม

เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ เราเริ่มต้นจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่าทุกคนล้วนมีพฤติกรรมการดูต่างกัน จากนั้นระบบจะเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูของคุณกับของผู้ใช้รายอื่นที่มีพฤติกรรมการดูคล้ายกัน แล้วอาศัยข้อมูลนั้นในการแนะนำเนื้อหาอื่นที่คุณอาจอยากดูด้วย ดังนั้นหากคุณชอบวิดีโอเทนนิสและระบบพบว่าผู้ใช้รายอื่นที่ชอบวิดีโอเทนนิสเดียวกันนี้ยังชื่นชอบวิดีโอเพลงแจ๊สด้วย ระบบก็อาจแนะนำวิดีโอเพลงแจ๊สให้คุณแม้ว่าคุณไม่เคยดูวิดีโอเพลงแจ๊สมาก่อนเลยก็ตาม (สำหรับหมวดหมู่ เช่น ข่าวสารและข้อมูล ระบบอาจทำงานต่างออกไป เราจะอธิบายส่วนนี้เพิ่มเติมในภายหลัง) เมื่อไม่กี่ปีก่อน ระบบของเราแนะนำวิดีโอจาก Tyler Oakley ให้ลูกสาวคนโตของผมเพราะเป็นครีเอเตอร์ที่ผู้ชมจำนวนมากของช่อง Vlogbrothers เลือกดูในเวลานั้น จนสุดท้ายลูกสาวของผมกลายเป็นแฟนตัวยงของ Tyler Oakley ขนาดที่ว่าเราต้องพาเธอไปเจอเขาที่งานพบปะเลยล่ะ

ในปัจจุบัน ระบบของเราจะนำวิดีโอนับพันล้านรายการมาจัดเรียงเพื่อแนะนำเนื้อหาที่คัดสรรมาให้ตรงกับความสนใจของคุณโดยเฉพาะ เช่น ระบบจำได้ว่าผมเคยดูไฮไลต์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล USC ยุคดั้งเดิม จึงค้นหาไฮไลต์กีฬาอื่นๆ ในช่วงวัยเด็กของผมมาให้ หากไม่มีระบบแนะนำวิดีโอ ผมก็คงไม่รู้ว่ามีวิดีโอเหล่านี้อยู่ YouTube ต่างจากแพลตฟอร์มอื่นตรงที่เราไม่ได้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการเชื่อมโยงผู้ชมเข้ากับเนื้อหา ความสำเร็จในการแนะนำวิดีโอของ YouTube อาศัยการคาดการณ์วิดีโอที่คุณอยากรับชมด้วยความแม่นยำ


แต่เราก็ทราบดีว่าผู้ใช้บางคนไม่ได้ต้องการแชร์ข้อมูลนี้กับเราเสมอไป เราจึงสร้างตัวควบคุมที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าต้องการให้ข้อมูลแก่เรามากแค่ไหน โดยคุณจะหยุดชั่วคราว แก้ไข หรือลบประวัติการค้นหาและประวัติการดูบน YouTube ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ


วิธีที่เราปรับเปลี่ยนวิดีโอแนะนำให้เหมาะกับคุณ

เพื่อดูแลจัดการวิดีโอแนะนำที่ต่างกันไปสำหรับผู้ใช้แต่ละคน ระบบการแนะนำวิดีโอของเราไม่สามารถทำงานตาม "ลำดับขั้นตอนที่ตายตัว" แต่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาจากข้อมูลมากกว่า 8 หมื่นล้านชุดที่เราเรียกว่า "สัญญาณ" ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มความโปร่งใสจึงไม่ใช่แค่การแจกแจงสูตรการทำงานของการแนะนำวิดีโอ แต่ต้องเข้าใจข้อมูลทั้งหมดที่ป้อนเข้าไปยังระบบ ระบบใช้สัญญาณจำนวนมากเพื่อทำความเข้าใจว่าคุณพึงพอใจเนื้อหาประเภทใด สัญญาณเหล่านี้ ได้แก่ การคลิก เวลาในการรับชม คำตอบแบบสำรวจ การแชร์ การกดชอบ และการกดไม่ชอบ

  • การคลิก: การคลิกวิดีโอเป็นสิ่งที่บอกได้ค่อนข้างแน่ชัดว่าคุณจะพึงพอใจวิดีโอนั้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว คุณคงไม่คลิกหากไม่ได้อยากดู แต่ในปี 2011 เราได้เรียนรู้ว่าการคลิกไม่ได้แปลว่าคุณดูวิดีโอนั้นจริงๆ สมมติว่าคุณกำลังค้นหาไฮไลต์การแข่งขันวิมเบิลดันของปีหนึ่งๆ คุณเลื่อนดูในหน้าเว็บแล้วคลิกเลือกวิดีโอหนึ่งที่ชื่อและภาพขนาดย่อบ่งบอกว่าน่าจะเป็นบันทึกภาพการแข่งขัน แต่ในวิดีโอกลับเป็นคนที่พูดถึงการแข่งขันนั้นอยู่ในห้องนอน จากนั้นคุณคลิกวิดีโอที่ระบบแนะนำในแผง "วิดีโอถัดไป" แต่ก็พบว่าเป็นวิดีโอที่แฟนกีฬาอีกคนพูดถึงการแข่งขันเหมือนกัน คุณจึงลองคลิกดูวิดีโอเหล่านี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งระบบแนะนำวิดีโอที่มีบันทึกภาพการแข่งขันอย่างที่คุณอยากดู สิ่งนี้เองที่ทำให้เราเพิ่ม "เวลาในการรับชม" เข้ามาในปี 2012
  • เวลาในการรับชม: เวลาในการรับชม (วิดีโอที่ดูและระยะเวลาที่ดู) ทำให้ระบบได้รับสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับคุณโดยเฉพาะว่าคุณน่าจะอยากดูอะไรมากที่สุด ดังนั้นหากแฟนเทนนิสนั่งดูคลิปไฮไลต์การแข่งวิมเบิลดันเป็นเวลา 20 นาที แต่ดูวิดีโอวิเคราะห์การแข่งขันเพียงไม่กี่วินาที เราก็พอจะคาดเดาได้ว่าการดูไฮไลต์เหล่านั้นมอบคุณค่าให้พวกเขาได้มากกว่า เมื่อนำ "เวลาในการรับชม" ไปปรับใช้กับการแนะนำวิดีโอเป็นครั้งแรก เราพบว่ายอดดูลดลงทันทีถึง 20% แต่เราเชื่อว่าการทำให้ผู้ชมได้รับคุณค่ามากขึ้นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า แต่ถึงอย่างนั้น เวลาในการรับชมก็ไม่ได้มีคุณค่าเท่ากันหมดเสมอไป บางครั้งผมก็สุ่มดูวิดีโอไปเรื่อยๆ จนดึกดื่น แทนที่จะเอาเวลาไปเรียนรู้ภาษาใหม่ผ่าน YouTube หรือขัดเกลาฝีมือการทำอาหารไปพร้อมๆ กับครีเอเตอร์ เราไม่อยากให้ผู้ชมนึกเสียใจที่เอาเวลาไปนั่งดูวิดีโอ เราจึงตระหนักได้ว่าต้องมีตัวช่วยเพิ่มเติมเพื่อวัดคุณค่าที่คุณได้รับจากเวลาที่ใช้ไปกับ YouTube
  • คำตอบแบบสำรวจ: เราเริ่มวัดสิ่งที่เรียกว่า "เวลาในการรับชมที่มีคุณค่า" ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในการรับชมวิดีโอที่คุณเห็นว่ามีคุณค่า ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ชมพึงพอใจเนื้อหาที่ได้ดู เราวัดเวลาในการรับชมที่มีคุณค่าผ่านแบบสำรวจผู้ใช้ที่ขอให้คุณให้คะแนน 1 - 5 ดาวแก่วิดีโอที่รับชมไป เพื่อให้เราได้เมตริกสำหรับใช้พิจารณาระดับความพึงพอใจที่คุณมีต่อเนื้อหานั้น หากให้คะแนนวิดีโอเพียง 1 - 2 ดาว เราจะสอบถามเหตุผลที่คุณให้คะแนนน้อย และในทำนองเดียวกัน หากให้ 4 - 5 ดาว เราก็จะถามเหตุผลว่าเป็นเพราะวิดีโอนั้นสร้างแรงบันดาลใจหรือมีความหมายต่อคุณใช่ไหม โดยจะถือว่าวิดีโอนั้นทำให้เกิด "เวลาในการรับชมที่มีคุณค่า" ก็ต่อเมื่อคุณให้คะแนนสูง 4 - 5 ดาว แน่นอนว่าผู้ชมไม่ได้มาคอยกรอกข้อมูลในแบบสำรวจของทุกวิดีโอที่ดู เราจึงฝึกโมเดลของแมชชีนเลิร์นนิงให้คาดการณ์แนวโน้มคำตอบแบบสำรวจของทุกคนโดยอิงจากคำตอบที่เราได้รับ และตั้งใจซ่อนคำตอบของแบบสำรวจบางส่วนไว้ไม่ให้นำไปใช้ในการฝึกเพื่อทดสอบความแม่นยำของการคาดการณ์เหล่านี้ วิธีนี้ทำให้เราตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่าระบบคาดการณ์คำตอบจริงได้ใกล้เคียงเพียงใด
  • การแชร์ การกดชอบ และการกดไม่ชอบ: โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้คนมักพึงพอใจกับวิดีโอที่ตนแชร์หรือกดชอบ ระบบของเราจึงใช้ข้อมูลนี้เพื่อพยายามคาดการณ์แนวโน้มที่คุณจะแชร์หรือกดชอบวิดีโอเพิ่มเติม หากคุณกดไม่ชอบวิดีโอใด ย่อมถือเป็นสัญญาณว่าคุณน่าจะไม่ชอบดูเนื้อหาประเภทนั้น แต่ก็เช่นเดียวกับวิดีโอแนะนำ ความสำคัญของสัญญาณแต่ละอย่างล้วนขึ้นอยู่กับคุณ หากคุณเป็นคนที่ชอบแชร์วิดีโอที่ดูแม้จะเป็นวิดีโอที่คุณให้คะแนนแค่ 1 หรือ 2 ดาว ระบบก็จะรู้ได้ว่าไม่ควรนำการแชร์มาเป็นปัจจัยหลักในการแนะนำเนื้อหา และทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ระบบของเราไม่ยึดสูตรตายตัว แต่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตามพฤติกรรมการดูที่เปลี่ยนแปลงไป

การเน้นแนะนำวิดีโออย่างมีความรับผิดชอบ

ทั้งการคลิก การดู เวลาในการรับชม แบบสำรวจผู้ใช้ การแชร์ การกดชอบ และการกดไม่ชอบ ล้วนแล้วแต่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยแนะนำวิดีโอในหัวข้ออย่างเพลงและความบันเทิง ซึ่งเป็นเป้าหมายของผู้คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาดู YouTube แต่ในหลายปีที่ผ่านมา ผู้ชมจำนวนมากขึ้นเริ่มเข้ามายัง YouTube เพื่อดูข้อมูลและข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นข่าวด่วนล่าสุดหรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อันซับซ้อน สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับหัวข้อเหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องคุณภาพของข้อมูลและบริบท ผู้ใช้บางคนอาจบอกว่าตนชื่นชอบวิดีโอที่อ้างว่า "โลกแบน" มาก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราอยากแนะนำเนื้อหาคุณภาพต่ำประเภทนี้

วิดีโอแนะนำจึงมีบทบาทสำคัญในการคงสถานะการเป็นแพลตฟอร์มที่มีความรับผิดชอบวิดีโอเหล่านี้จะทำให้ผู้ชมได้พบกับข้อมูลคุณภาพสูงและลดโอกาสที่จะได้เห็นเนื้อหาที่เป็นปัญหา ทั้งยังช่วยส่งเสริมการทำงานตามหลักเกณฑ์ของชุมชนที่เข้มงวด ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งที่อนุญาตและไม่อนุญาตบน YouTube

เราอาศัยวิดีโอแนะนำเพื่อจำกัดไม่ให้มีการรับชมเนื้อหาคุณภาพต่ำในวงกว้างมาตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงที่เราสร้างตัวแยกประเภทขึ้นมาเพื่อระบุวิดีโอสำหรับผู้ใหญ่หรือวิดีโอที่มีความรุนแรง แล้วป้องกันไม่ให้มีการแนะนำวิดีโอดังกล่าว จากนั้นในปี 2015 เราสังเกตเห็นว่ามีเนื้อหาข่าวบิดเบือนที่สร้างความตื่นตระหนกปรากฏในหน้าแรก จึงได้ดำเนินการเพื่อลดการแนะนำเนื้อหานี้ ปีต่อมา เราเริ่มคาดการณ์แนวโน้มที่วิดีโออาจมีผู้เยาว์อยู่ในสถานการณ์เสี่ยง และนำวิดีโอเหล่านั้นออกจากระบบแนะนำ และในปี 2017 ด้วยความตั้งใจให้ระบบการแนะนำวิดีโอมีความยุติธรรมต่อชุมชนชายขอบ เราจึงเริ่มประเมินแมชชีนเลิร์นนิงที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบของเรา เพื่อสร้างความยุติธรรมให้แก่กลุ่มต่างๆ ที่ได้รับการคุ้มครอง เช่น ชุมชน LGBTQ+

การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจึงขยายขอบเขตการใช้ระบบการแนะนำวิดีโอให้ครอบคลุมการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและสร้างปัญหา รวมถึงเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิด ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เหมือนจะละเมิดแต่ไม่ได้ละเมิดหลักเกณฑ์ของชุมชนซะทีเดียว เช่น วิดีโอเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิด ("การเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องหลอกลวง") หรือเนื้อหาอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ("น้ำส้มช่วยรักษามะเร็งได้")

เราทำตามเป้าหมายนี้ได้สำเร็จโดยอาศัยตัวแยกประเภทที่ช่วยระบุว่าวิดีโอนั้น "เชื่อถือได้" หรือ "เสี่ยงต่อการละเมิด" หรือไม่ การแยกประเภทเหล่านี้อาศัยผู้ประเมินที่เป็นคนจริงๆ มาช่วยประเมินคุณภาพข้อมูลของแต่ละช่องหรือแต่ละวิดีโอ ผู้ประเมินเหล่านี้มาจากทั่วโลกและผ่านการฝึกด้วยชุดหลักเกณฑ์การให้คะแนนที่ละเอียดและมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ นอกจากนี้ เรายังอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีใบรับรอง เช่น แพทย์ ในกรณีที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นต้น

ในการตัดสินความน่าเชื่อถือ ผู้ประเมินจะต้องตอบคำถามสำคัญ 4 - 5 ข้อ เช่น เนื้อหานั้นตรงกับที่นำเสนอไว้หรือบรรลุเป้าหมายของเนื้อหาหรือไม่ การบรรลุเป้าหมายของวิดีโอนั้นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านใด ชื่อเสียงของผู้พูดในวิดีโอและชื่อเสียงของช่องที่มีวิดีโอเป็นอย่างไร หัวข้อหลักของวิดีโอคืออะไร (เช่น ข่าวสาร กีฬา ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น) และเนื้อหานั้นจัดทำขึ้นเพื่อล้อเลียนเป็นหลักหรือไม่ โดยคำตอบเหล่านี้ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ จะเป็นตัวกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของวิดีโอ ยิ่งมีคะแนนสูง ระบบก็จะยิ่งช่วยโปรโมตหากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลและข่าวสาร

ส่วนในการตัดสินเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิด ผู้ประเมินจะประเมินปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงว่าเนื้อหานั้นไม่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจผิด หรือเป็นการหลอกลวงหรือไม่ ไม่คำนึงถึงความรู้สึกผู้อื่นหรือไม่ยอมรับความเห็นต่างหรือไม่ และเป็นอันตรายหรือมีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายไหม จากนั้นจึงรวมผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้คะแนนระดับแนวโน้มที่วิดีโอนั้นอาจให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป็นอันตรายหรือเสี่ยงต่อการละเมิด วิดีโอใดก็ตามที่จัดว่าเสี่ยงต่อการละเมิดจะได้รับการแนะนำน้อยลง

จากนั้นเราจะนำการประเมินของมนุษย์มาฝึกให้ระบบจำลองการตัดสินของผู้ประเมิน เพื่อขยายขอบเขตการประเมินเช่นว่าให้ครอบคลุมวิดีโอทั้งหมดใน YouTube

ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิดีโอแนะนำ

วิดีโอแนะนำมีบทบาทสำคัญในชุมชนทั้งหมดของเรา เพราะวิดีโอเหล่านี้ช่วยแนะนำเนื้อหาที่ผู้ชมชื่นชอบ ทั้งยังช่วยให้ครีเอเตอร์ได้พบกับกลุ่มผู้ชมใหม่ๆ ในแง่ของสังคมโดยรวมในวงกว้าง วิดีโอแนะนำยังมีประโยชน์ต่อการช่วยหยุดยั้งการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป็นอันตราย เพราะแม้ว่าการคลิก เวลาในการรับชม แบบสำรวจผู้ใช้ การแชร์ การกดชอบ และการกดไม่ชอบ จะเป็นสัญญาณสำคัญที่ให้ข้อมูลแก่ระบบของเรา แต่สัญญาณเหล่านี้ก็ไม่สำคัญเท่าความมุ่งมั่นของเราที่จะรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน YouTube


Cristos ตอบคำถามเกี่ยวกับระบบการแนะนำวิดีโอ

ยังมีคำถามเกี่ยวกับระบบการแนะนำวิดีโออีก 3 - 4 ข้อที่ผมมักได้ยินบ่อยๆ ซึ่งคิดว่าควรพูดถึง

  1. เนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดเป็นเนื้อหาที่ดึงดูดผู้ชมได้มากที่สุดหรือไม่ อันที่จริงหากดูจากแบบสำรวจและความคิดเห็น เราจะพบว่าผู้ชมส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ระบบแนะนำเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิด และเนื้อหาประเภทนี้ก็สร้างความไม่พอใจและน่าหงุดหงิดสำหรับผู้ชมจำนวนมาก ความจริงแล้ว เมื่อลดการแนะนำเนื้อหาประเภทข่าวบิดเบือนหรือลามกอนาจาร เรากลับพบว่าเวลาในการรับชมเพิ่มขึ้นถึง 0.5% ภายในระยะเวลา 2 เดือนครึ่งเมื่อเทียบกับช่วงที่เราไม่ได้กำหนดขีดจำกัดใดๆ นอกจากนี้ เรายังไม่เห็นหลักฐานบ่งชี้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดมักดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าเนื้อหาประเภทอื่น หากลองพิจารณาเนื้อหาจากผู้ที่เชื่อว่าโลกแบน แม้การอัปโหลดวิดีโอที่บอกว่าโลกแบนจะมีจำนวนสูงกว่าวิดีโอที่บอกว่าโลกกลมอยู่มาก แต่โดยเฉลี่ยแล้ววิดีโอที่บอกว่าโลกแบนกลับมียอดดูน้อยกว่ามาก แบบสำรวจชี้ให้เห็นว่าผู้ที่พึงพอใจเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดเป็นเพียงคนส่วนน้อยมากๆ บน YouTube เราทุ่มเทเวลาและเงินจำนวนมหาศาลเพื่อป้องกันไม่ให้วิดีโอประเภทนี้เข้าถึงผู้ชมในวงกว้างผ่านระบบการแนะนำวิดีโอ ยอดดูส่วนใหญ่ของเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดในปัจจุบันมักมาจากแหล่งที่มาอื่นๆ นอกเหนือจากวิดีโอที่แนะนำต่อผู้ที่ไม่ได้ติดตาม
  2. เนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดช่วยเพิ่มเวลาในการรับชมให้แก่ YouTube หรือไม่ หากพิจารณาจากผู้ใช้ส่วนใหญ่ พวกเขาไม่ได้รู้สึกคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปในการรับชมเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดบน YouTube เพราะเหตุนี้ในปี 2019 เราจึงเริ่มลดการแนะนำเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิด นับแต่นั้นมา เราก็พบว่าเวลาในการรับชมเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดซึ่งแนะนำต่อผู้ที่ไม่ได้ติดตามลดลงถึง 70% ในสหรัฐอเมริกา และปัจจุบันการรับชมวิดีโอแนะนำที่เสี่ยงต่อการละเมิดก็ลดลงเหลือต่ำกว่า 1% อย่างมีนัยสำคัญ
  3. วิดีโอแนะนำทำให้ผู้ชมได้พบกับเนื้อหาที่มีความสุดโต่งมากขึ้นหรือไม่ อย่างที่ผมอธิบายไปแล้วว่า เราตั้งใจที่จะลดการแนะนำข้อมูลคุณภาพต่ำ ในขณะเดียวกันก็ใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อนำเสนอวิดีโอที่น่าเชื่อถือและเป็นหัวข้อที่ผู้ชมอาจสนใจ สมมติว่าผมดูวิดีโอเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในแผง "วิดีโอถัดไป" ผมก็จะเห็นวิดีโอจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถืออย่าง Vox และ Bloomberg Quicktake และจะไม่เห็นวิดีโอซึ่งมีข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัคซีน (ภายในขอบเขตที่ระบบตรวจจับได้) นอกจากวิดีโอข่าวสารและคำอธิบายเกี่ยวกับโควิด-19 ผมยังได้รับวิดีโอแนะนำจากหัวข้ออื่นๆ ที่ปรับเปลี่ยนตามประวัติการดูของผม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงตลกสั้นจากรายการ Saturday Night Live หรือวิดีโอ TEDx Talk เกี่ยวกับปรากฏการณ์ Super Mario Effect ความหลากหลายที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับผู้ใช้จะช่วยให้ผู้ชมได้ค้นพบวิดีโอในเรื่องและรูปแบบใหม่ๆ ไม่ใช่เห็นแต่เพียงวิดีโอประเภทเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า นักวิจัยอิสระจำนวนมากขึ้นเริ่มศึกษาว่าแพลตฟอร์มเทคโนโลยีส่งผลต่อการบริโภคเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดอย่างไรบ้าง และในขณะที่การวิจัยดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยที่ให้ผลสรุปว่าอันที่จริงแล้ว วิดีโอแนะนำใน YouTube ไม่ได้ชี้นำผู้ชมไปสู่เนื้อหาแบบสุดโต่งแต่อย่างใด แต่โดยทั่วไปแล้ว การบริโภคเนื้อหาข่าวสารและการเมืองบน YouTube เป็นตัวสะท้อนความชื่นชอบส่วนบุคคล ซึ่งจะเห็นได้จากพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้ใช้เอง นักวิจัยอิสระจำนวนมากขึ้นเริ่มศึกษาว่าแพลตฟอร์มเทคโนโลยีส่งผลต่อการบริโภคเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดอย่างไรบ้าง และในขณะที่การวิจัยดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยที่ให้ผลสรุปว่าอันที่จริงแล้ว วิดีโอแนะนำใน YouTube ไม่ได้ชี้นำผู้ชมไปสู่เนื้อหาแบบสุดโต่งแต่อย่างใด แต่โดยทั่วไปแล้ว การบริโภคเนื้อหาข่าวสารและการเมืองบน YouTube เป็นตัวสะท้อนความชื่นชอบส่วนบุคคล ซึ่งจะเห็นได้จากพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้ใช้เอง
  4. เนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดนั้นสร้างรายได้หรือไม่ ในขั้นต้น หลักเกณฑ์สำหรับเนื้อหาที่เป็นมิตรกับผู้ลงโฆษณาได้ยับยั้งไม่ให้เนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดสร้างรายได้ไปแล้วเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้ลงโฆษณาหลายรายยังแจ้งว่าตนไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับเนื้อหาประเภทนี้บน YouTube และมักเลือกไม่รับการโฆษณาจากเนื้อหานี้ด้วย นั่นหมายความว่าแต่ละครั้งที่มีการรับชมวิดีโอที่เสี่ยงต่อการละเมิดย่อมถือเป็นการเสียโอกาสการสร้างรายได้ และเป็นผลให้ YouTube สูญเสียรายได้อย่างแท้จริง ในเชิงเดียวกัน เนื้อหาประเภทนี้ยังทำลายความน่าเชื่อถือและสร้างความกังวลทั้งต่อพาร์ทเนอร์การโฆษณา สาธารณชน สื่อ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบาย อันที่จริงแล้ว เมื่อเรามีความรับผิดชอบมากขึ้น รายได้ของบริษัทเราและครีเอเตอร์ทั้งหมดก็เติบโตไปด้วย เพราะความรับผิดชอบย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจเสมอ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ทำไมเราไม่นำเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดออกไปเลยล่ะ การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมักขาดความเห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน ไม่เหมือนกับเรื่องการก่อการร้ายหรือความปลอดภัยของเด็ก นอกจากนี้ การให้ข้อมูลที่ถือว่าไม่ถูกต้องก็อาจแตกต่างกันไปตามมุมมองและพื้นเพของแต่ละบุคคล เราพบว่าบางครั้ง ปัญหานี้ก็ทำให้เกิดเนื้อหาที่เป็นข้อถกเถียงหรือแม้กระทั่งเนื้อหาที่สร้างความไม่พอใจ เราจึงเดินหน้าเน้นสร้างการแนะนำวิดีโออย่างมีความรับผิดชอบ และใช้มาตรการที่ได้ผลจริงในการป้องกันไม่ให้ระบบแนะนำเนื้อหาประเภทนี้ในวงกว้าง เมื่อพิจารณารวมกันแล้ว จะเห็นได้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งหมดที่เราดำเนินการเกี่ยวกับวิดีโอแนะนำล้วนก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นที่ประจักษ์ เวลาในการรับชมข่าวสารที่เชื่อถือได้พุ่งสูงขึ้นมากและการรับชมวิดีโอที่เสี่ยงต่อการละเมิดก็มีจำนวนลดลง แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเราแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ เพียงแต่สื่อว่าเราจะต้องเดินหน้าปรับปรุงและทุ่มเทเพื่อให้ระบบนี้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ยอดดูวิดีโอแนะนำซึ่งมีเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการละเมิดมีจำนวนต่ำกว่า 0.5% ของยอดดูทั้งหมดบน YouTube

ความคิดเห็นจากคุณทุกคนทำให้ระบบการแนะนำวิดีโอพัฒนาขึ้นในทุกๆ วัน แต่ทุกอย่างย่อมพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีกได้เสมอ ผมและทีมงานจึงมุ่งมั่นที่จะทำให้งานนี้เดินหน้าต่อไป เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Cristos Goodrow
VP of Engineering At YouTube