Thailand Blog
จดหมายข่าวฉบับสุดท้ายของปี 2019: สรุปเหตุการณ์ในปีนี้
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgi41ovwU8YuRNJi3b8KPgtSxiCSumf5TOTAR_G4m4h9k2kDiatxjjFfovgWZ_tkaZZhD_qDymCZx6MRD3nZtAwUeHPye30_RwuMWjPKCD3NlUlFaxaXqjlRMPOVs43QXbXhxXgLentPBA/s1600/YT_1.png
Susan Wojcicki
CEO
YouTube
ภาพวาดโดย Christopher DeLorenzo
เรียนครีเอเตอร์และศิลปิน
ทุกไตรมาส ฉันจะแจ้งข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับเรื่องสำคัญในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเดือนสิงหาคม ฉันได้ทำสิ่งที่ต่างออกไปด้วยการ
เขียนถึงคุณ
เพื่อบอกเล่าถึงสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุด นั่นคือความสำคัญของการสร้างสมดุลระหว่างความเปิดกว้างกับความรับผิดชอบ เนื่องจากฉันได้รับคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับความอยู่รอดของแพลตฟอร์มแบบเปิดกว้าง และอยากเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการรักษาความเปิดกว้างและการปกป้องชุมชนด้วยความรับผิดชอบ
วันนี้ฉันกลับมาใช้รูปแบบเดิมอีกครั้งเพราะมีข้อมูลอัปเดตใหม่ๆ มากมายที่อยากแชร์เกี่ยวกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การสนับสนุนความสำเร็จของครีเอเตอร์และศิลปิน การปรับปรุงการสื่อสารและการมีส่วนร่วม และการเป็นแพลตฟอร์มที่มีความรับผิดชอบ
แต่ก่อนจะพูดถึงหัวข้อเหล่านี้ ฉันอยากให้ทุกคนรู้ว่า YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ครีเอเตอร์ประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ครีเอเตอร์ที่มียอดผู้ติดตาม 1 ล้านคนขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 65 เปอร์เซ็นต์ และครีเอเตอร์ที่มีรายได้ต่อปี 5-6 หลักก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
เราพูดเสมอว่าครีเอเตอร์คือหัวใจสำคัญของ YouTube เมื่อเน้นย้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาเข้าสู่ส่วนถัดไป นั่นคือการสนับสนุนความสำเร็จของคุณ
การสนับสนุนความสำเร็จของครีเอเตอร์และศิลปิน
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่เราได้ยินจากคุณในปีนี้คือเรื่องการร้องเรียนการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการอ้างสิทธิ์คลิปเพลงขนาดสั้นด้วยตนเองอย่างเข้มงวดในวิดีโอที่มีการสร้างรายได้ ซึ่งมักส่งผลให้รายได้ทั้งหมดตกเป็นของผู้ถือสิทธิ์ ไม่ว่าเพลงที่ถูกอ้างสิทธิ์จะยาวแค่ไหนก็ตาม
ฉันยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าเรามีความคืบหน้าแล้ว ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เราได้ทำการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำสิ่งจูงใจเกี่ยวกับเงินในการอ้างสิทธิ์การใช้เพลงที่สั้นมากโดยไม่เจตนาออกจากระบบ รวมทั้งกำหนดให้ต้องมีการประทับเวลาสำหรับการอ้างสิทธิ์ด้วยตนเองทั้งหมด เพื่อให้คุณรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าส่วนใดของวิดีโอได้รับการอ้างสิทธิ์ อีกทั้งยังมีการอัปเดตเครื่องมือการแก้ไขเพื่อให้คุณนำเนื้อหาที่มีการอ้างสิทธิ์ด้วยตนเองออกจากวิดีโอได้อย่างง่ายดาย
ในเดือนต่อๆ ไป เราจะพยายามย้ายครีเอเตอร์ทุกคนไปยัง YouTube Studio เวอร์ชันใหม่ที่ปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม การปรับเปลี่ยนนี้มีสาเหตุมาจาก Studio เวอร์ชันคลาสสิกนั้นสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีเก่าที่ไม่เอื้อให้เราแก้ไขข้อบกพร่องหรือนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่คุณขอได้อย่างรวดเร็วทันใจ การปรับปรุงต่างๆ บน YouTube Studio ได้แรงบันดาลใจจากคำขอของครีเอเตอร์ เราจึงคิดว่าคุณจะชื่นชอบฟีเจอร์พิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าแดชบอร์ดใหม่ ข้อมูลวิเคราะห์ที่ทรงพลัง และเมตริกประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ ในต้นปีหน้า สิทธิ์การเข้าถึงเวอร์ชันคลาสสิกของครีเอเตอร์ส่วนใหญ่จะถูกนำออก แต่คุณจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าเป็นรายบุคคลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์การเข้าถึงนี้ เราทราบดีว่าการเปลี่ยนเครื่องมือที่คุณใช้อยู่ทุกวันอาจเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่เราเชื่อว่ารากฐานใหม่นี้จะช่วยให้เราสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับคุณได้รวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ เรายังตั้งเป้าที่จะสนับสนุนความสำเร็จของคุณด้วยการส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านช่องทางใหม่นอกเหนือจากรายได้จากโฆษณาแบบเดิม รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับครีเอเตอร์ ปัจจุบันมีช่องนับพันที่สร้างรายได้จาก YouTube ได้มากขึ้นเป็น 2 เท่าผ่านการใช้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้แฟนๆ มีส่วนร่วมกับครีเอเตอร์ได้มากขึ้น เช่น Super Chat การเป็นสมาชิกของช่อง และสินค้า โดยมีช่องที่ได้รับ Super Chat แล้วมากกว่า 100,000 ช่อง และสตรีมบางรายการก็มีรายได้มากกว่า 400 ดอลลาร์ต่อนาทีเมื่อแฟนๆ แวะเข้ามาทักทายครีเอเตอร์ แสดงความยินดี หรือเพียงแค่พูดคุย เรากำลังต่อยอดความสำเร็จของ Super Chat ด้วยการขยายการเปิดตัว Super Stickers ไปสู่ครีเอเตอร์ที่มีสิทธิ์ใน 60 ประเทศทั่วโลก
นับตั้งแต่มีการขยายการให้บริการฟีเจอร์ Stories บน YouTube ในปีที่ผ่านมา ก็มีครีเอเตอร์ใช้ฟีเจอร์นี้มากขึ้น โดยไม่ได้ใช้เชื่อมต่อกับผู้ติดตามที่มีเท่านั้น แต่ยังใช้สร้างผู้ติดตามรายใหม่ด้วย ในปีที่ผ่านมา พบว่าครีเอเตอร์ที่ใช้ฟีเจอร์ Stories อยู่เป็นประจำมีจำนวนผู้ติดตามเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับครีเอเตอร์ที่ไม่ได้ใช้ฟีเจอร์นี้
นอกจากนี้ เรากำลังทำการทดสอบเพื่อช่วยจับคู่เนื้อหาเฉพาะกลุ่มกับโฆษณาที่สอดรับกับแบรนด์ อย่างที่คุณทราบดีว่าไอคอนสีเหลืองเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าวิดีโอดังกล่าวมีการโฆษณาแบบจำกัดเนื่องจากเนื้อหาในวิดีโอ เรากำลังค้นหาผู้ลงโฆษณาที่สนใจเนื้อหาเฉพาะกลุ่ม เช่น นักการตลาดที่ต้องการโปรโมทภาพยนตร์เรทอาร์ ฯลฯ เพื่อที่เราจะได้จับคู่กับครีเอเตอร์ที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับโฆษณาประเภทนี้ได้ โดยแค่เดือนแรก โปรแกรมนี้ก็สร้างรายได้นับแสนดอลลาร์จากโฆษณาในวิดีโอที่มีไอคอนสีเหลือง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้
ที่นี่
สำหรับครีเอเตอร์เกม เรารับทราบชัดเจนแล้วว่าเราต้องแยกความแตกต่างระหว่างความรุนแรงในโลกจริงกับความรุนแรงในเกม เราจึงจะปรับปรุงนโยบายดังกล่าวในเร็วๆ นี้ โดยนโยบายใหม่จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรุนแรงในเกมน้อยลง แต่ยังคงรักษามาตรฐานที่สูงไว้เพื่อปกป้องผู้ชมจากความรุนแรงในโลกจริง
การปรับปรุงการสื่อสารและการมีส่วนร่วม
การได้พบปะครีเอเตอร์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับฉันมาตลอด และในปีนี้ฉันก็ได้พบปะกับครีเอเตอร์ YouTube จากทั่วโลก ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ฉันได้นั่งจับเข่าคุยกับ
Alfie Deyes
ที่กรุงลอนดอน และร่วมฉลองครบรอบ 10 ปีนับจากวันที่เขาเผยแพร่วิดีโอ YouTube รายการแรก และเมื่อไม่นานมานี้ ฉันได้พูดคุยกับ
Juanpa Zurita
และ
Emma Chamberlain
เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ของพวกเขา และ
ได้รับคำถามสุดโหด
จาก MatPat แห่ง
The Game Theorists
ในงาน Gaming Creator Summit ที่ YouTube จัดขึ้นเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ฉันยังได้พบปะกับกลุ่มครีเอเตอร์ในยุโรปเมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น
Patricia Bright
,
PewDiePie
,
Jacksepticeye
,
Sallys Welt
,
VisualPolitik
,
Mrbruff
และ
Jessica Kellgren-Fozard
ในปีหน้า เราจะขยายโปรแกรมนำร่องการรับรองด้วยตนเองไปยังครีเอเตอร์อีกกว่าแสนรายในโปรแกรมพาร์ทเนอร์ YouTube (YouTube Partner Program หรือ YPP) เพื่อช่วยให้ครีเอเตอร์เข้าใจหลักเกณฑ์ของเรามากยิ่งขึ้น โปรแกรมนี้จะเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์ได้รายงานด้วยตนเองว่าวิดีโอของตนสอดคล้องกับนโยบายโฆษณาอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นกระบวนการในเชิงเสริมสร้าง เพราะยิ่งคุณรายงานตนเองได้แม่นยำมากเท่าใด ระบบของเราก็ยิ่งเชื่อใจคุณมากเท่านั้น นอกจากจะทำให้ครีเอเตอร์ควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นแล้ว การรับรองด้วยตนเองยังให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสาเหตุที่วิดีโออาจมีปัญหาเรื่องการสร้างรายได้อีกด้วย
ครีเอเตอร์หลายคนยังบอกเราด้วยว่าการทดสอบหรือเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ทำให้เกิดความไม่สะดวก บรรดาครีเอเตอร์ถามว่าทำไมเราจึงต้องแก้ไขสิ่งที่ไม่ได้เสียหาย และพวกเขาอยากให้เราแจ้งเตือนให้มากกว่านี้ เราจึงอยากให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาของ YouTube
เรามองหาช่องทางปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน YouTube อยู่เสมอ ทุกการเปลี่ยนแปลงล้วนผ่านการทดสอบหลายครั้งในหลายๆ แง่มุมก่อนนำมาใช้จริง ในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว เราได้มีการอัปเดตใน YouTube มากกว่า 2,500 ครั้ง การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากที่เราทดสอบตัวเลือก 3-4 เวอร์ชัน เพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะกับผู้ใช้และครีเอเตอร์มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่หรือเล็ก เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามอบผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คุณ "Broadcast Yourself" และสร้างรายได้จากเศรษฐกิจสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ เราจะพยายามสื่อสารกับคุณให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจสาเหตุที่เรามุ่งมั่นทำสิ่งเหล่านี้ รวมถึงผลกระทบที่คุณอาจได้รับ แต่โปรดอย่าลืมว่า การทดสอบเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้เราสร้างผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ชมและครีเอเตอร์ทุกคนได้ในที่สุด
ประการสุดท้าย ฉันอยากบอกว่าเราจะยังเดินหน้าส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคุณ เราซาบซึ้งในความจริงใจของพวกคุณหลายคนที่แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับอาการหมดไฟ เราอยากให้คุณดูแลตัวเองและให้เวลากับการพักฟื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉันได้ยินครีเอเตอร์บางคนบอกว่าไม่กล้าพักการถ่ายทำ เพราะกลัวจะส่งผลเสียต่อช่อง ฉันจึงขอให้ทีมผลิตภัณฑ์ของ YouTube ช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ ทางทีมงานจึงทบทวนข้อมูลของช่วง 6 ปีที่ผ่านมาและได้พบข่าวดี เราได้ค้นพบข้อเท็จจริงจากช่องต่างๆ นับล้านช่องและกรอบเวลาในการหยุดพักที่แตกต่างกันนับร้อยรูปแบบว่า โดยเฉลี่ยแล้วช่องต่างๆ มียอดการดูหลังจากกลับมาอีกครั้งสูงกว่ายอดดูก่อนที่จะหยุดพักไปเสียอีก ซึ่งหมายความว่าหากคุณจำเป็นต้องพักจริงๆ แฟนๆ ก็เข้าใจ เพราะอย่างไรเสีย การที่แฟนๆ ติดตามช่องของคุณก็เพราะตัวคุณนั่นเอง
การเป็นแพลตฟอร์มที่มีความรับผิดชอบ
ฉันเคยพูดไปแล้วว่า สิ่งที่ฉันให้ความสำคัญมากที่สุดคือการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่ในการปกป้องชุมชนและหน้าที่ในการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก คำถามหนึ่งที่ฉันได้ยินบ่อยที่สุดคือเราใช้วิธีใดในการเปลี่ยนแปลงนโยบายและเหตุใดจึงใช้เวลานานนัก
การปรับเปลี่ยนเหล่านี้ต้องใช้เวลา เนื่องจากในเบื้องหลังการทำงาน เราจะนำพนักงาน YouTube นับร้อยมารวมตัวกันและปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก ในการอัปเดตนโยบายเกี่ยวกับวาจาสร้างความเกลียดชังเมื่อไม่กี่เดือนก่อน เราได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านแนวคิดแบบสุดโต่ง การเหยียดหยามผู้อื่น สิทธิพลเมือง และเสรีภาพในการพูด การพูดคุยแบบเจาะลึกช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าเราควรเขียนหลักเกณฑ์ต่างๆ อย่างไรเพื่อให้ปกป้องชุมชนได้ในระยะยาว เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เราได้ใช้วิธีที่คล้ายกันนี้ในการอัปเดตนโยบายเกี่ยวกับการล้อเล่นและการท้า
เราต้องการแน่ใจว่านโยบายเหล่านี้จะครอบคลุมรูปแบบการเกิดปัญหาในวัฒนธรรมและภาษาต่างๆ รวมถึงทำให้ผู้ใช้ทั่วโลกเข้าใจนโยบายได้อย่างง่ายดาย YouTube จะฝึกอบรมผู้ตรวจสอบทุกคนก่อนบังคับใช้นโยบายใหม่เพื่อให้มีการบังคับใช้ที่เป็นมาตรฐาน ไม่ว่าผู้ใช้จะใช้งาน YouTube ในประเทศใดหรือในเวลาใดก็ตาม
ไม่เพียงเท่านั้น เรายังดูแลให้ทุกนโยบายใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่ในทางทฤษฎี ก่อนประกาศใช้นโยบายใหม่ เราจะทดสอบว่าผู้ตรวจสอบให้คะแนนเนื้อหาได้ถูกต้องแม่นยำสูงตามหลักเกณฑ์ใหม่หรือไม่ หากไม่ เราจะส่งหลักเกณฑ์กลับไปแก้ไขและลองใหม่อีกครั้ง เนื่องจากเราต้องการให้การให้คะแนนเนื้อหามีความถูกต้องสอดคล้องกัน มากกว่าจะเร่งให้ปรับเปลี่ยนได้ไวๆ
ขณะนี้เราอยู่ระหว่างการอัปเดตหลักเกณฑ์ด้านนโยบายเกี่ยวกับการล่วงละเมิด และจะแจ้งให้คุณทราบเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว โดยเรากำลังพูดคุยกับครีเอเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่าได้แก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดในชุมชน YouTube อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับเมื่อทำการอัปเดตนโยบายอื่นๆ ทั้งหมด
นอกจากนี้ เรายังเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการข้อมูลจากเนื้อหาสำหรับเด็กบน YouTube ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกาและอัยการสูงสุดของรัฐนิวยอร์กเพื่อรับมือกับ
ข้อกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ตของเด็ก (Children's Online Privacy Protection Act หรือ COPPA)
เราเพิ่งบังคับใช้การกำหนดผู้ชมใหม่ ซึ่งกำหนดให้ครีเอเตอร์ต้องระบุว่าเนื้อหาของตนสร้างมาเพื่อเด็กหรือไม่ เพื่อช่วยให้เราระบุเนื้อหาที่สร้างมาเพื่อเด็กได้ นอกจากนี้ ฟีเจอร์บางอย่างที่ต้องอาศัยข้อมูลผู้ใช้ เช่น การแสดงความคิดเห็นและโฆษณาที่ปรับตามโปรไฟล์ของผู้ใช้ จะใช้งานในเนื้อหาที่สร้างมาเพื่อเด็กไม่ได้อีก เราทราบดีว่ายังมีข้อสงสัยอีกมากว่าสิ่งนี้จะส่งผลต่อครีเอเตอร์อย่างไรบ้าง แต่เราจะแจ้งข้อมูล
อัปเดต
ให้มากที่สุดในระหว่างนี้ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
ที่นี่
สุดท้ายนี้ ฉันอยากจะแชร์ความคิดหลังจากได้ใช้เวลากับผู้กำหนดนโยบายจากทั่วโลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Jacinda Ardern ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของนิวซีแลนด์ ไปจนถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติในวอชิงตัน ดี.ซี. และหน่วยงานในยุโรปซึ่งเป็นผู้ตีความมาตรา 17 ของข้อบังคับด้านลิขสิทธิ์ของสหภาพยุโรป (ก่อนหน้านี้คือมาตรา 13) ซึ่งเป็นกฎหมายท้องถิ่น สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนจากบทสนทนาทั้งหมดนี้คือเราต้องเดินหน้าทำให้ผู้คนเข้าใจระบบเศรษฐกิจของครีเอเตอร์ว่าระบบนี้ช่วยสร้างงานทั่วโลกได้อย่างไรบ้าง และข้อบังคับต่างๆ อาจส่งผลต่อธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง
เมื่อปีที่แล้ว ฉันได้เล่าให้คุณฟังว่ามาตรา 17 อาจส่งผลที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจกระทบต่อวิถีชีวิตของคุณ แต่ด้วยความร่วมมือจากครีเอเตอร์ทุกคน เราจึงปรับปรุงข้อกฎหมายดังกล่าวได้สำเร็จ และที่สำคัญคือสามารถป้องกันความรับผิดในกรณีที่เราพยายามเต็มที่เพื่อจับคู่เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์กับผู้ถือสิทธิ์ที่ถูกต้องแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้สร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ และทำให้ข้อกำหนดด้านลิขสิทธิ์เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งต่ออินเทอร์เน็ตและ YouTube ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศต่างๆ ในยุโรปว่าจะเปลี่ยนข้อกฎหมายนี้เป็นกฎหมายแห่งชาติหรือไม่ ในระหว่างที่กระบวนการนี้ดำเนินไป เราก็ได้พบปะกับรัฐบาลต่างๆ และเชิญครีเอเตอร์ในพื้นที่มาช่วยอธิบายต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติว่ามาตรา 17 อาจส่งผลต่อครีเอเตอร์เช่นคุณอย่างไรบ้าง
เราจะผ่านพ้นเรื่องนี้ไปด้วยกัน YouTube จะคอยแจ้งความคืบหน้าในระหว่างที่เราพยายามสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีความรับผิดชอบ เราหวังว่าจะได้เห็นร่างกฎหมายฉบับใหม่บางส่วนในปี 2020 แต่การบังคับใช้มาตรา 17 ในแต่ละประเทศของสหภาพยุโรปต้องใช้เวลา 2-3 ปี
ฉันอยากปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของการที่ครีเอเตอร์ทั่วโลกร่วมกันทำสิ่งที่ดี หลายๆ คนได้แรงบันดาลใจจาก
ภารกิจ #teamtrees
ของ Mr. Beast และ Mark Rober ในการช่วยปลูกต้นไม้ 20 ล้านต้นภายในเดือนมกราคม ปี 2020 นี้ และเมื่อเดือนที่แล้ว เราก็ได้รับเกียรติให้
เข้าร่วมภารกิจ
ปลูกต้นไม้กับ Mark ด้วย
เสียงตอบรับที่เหล่าครีเอเตอร์มีต่อ #teamtrees ก็น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง หากยังเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เราจะทำได้ตามเป้า 20 ล้านต้นอย่างแน่นอน เราตื่นเต้นที่ได้มีส่วนช่วยสนับสนุนสิ่งที่สำคัญต่อครีเอเตอร์ด้วยเครื่องมือต่างๆ อย่างปุ่มบริจาคบน YouTube โดยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ปุ่มบริจาคจะกลายเป็นเวอร์ชันสำหรับใช้งานจริงและพร้อมให้บริการแก่ครีเอเตอร์นับพันในสหรัฐอเมริกา และจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ต่อไป เพื่อเปิดโอกาสให้คุณฝังแคมเปญงานระดมทุนไว้ข้างวิดีโอและสตรีมแบบสดได้
การได้เห็นทุกคนร่วมกันทำสิ่งดีๆ เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก พยายามต่อไปนะ
Susan Wojcicki
CEO of YouTube
Google ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทยด้วยโครงการต่างๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgJJg5OPNQlQL4N33JOzGSpYCl00dIBFH-RenLU2QAgwVMgTEPh2XOCrVciJ85rxKnn-IzMezO110OrNuKLVhrFJ1Fk23RlFthetclllJqtPM_ELEdEYuf0kkB-TfjNtx3TvGQmFcKXTyw/s320/Google+for+thailand-group+shot.jpg
ภายในงาน Google for Thailand ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 Google ได้ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้คนไทยทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในโลกดิจิทัล (Leave No Thai Behind) พร้อมชูโครงการริเริ่มเพื่อช่วยให้คนไทยและภาคธุรกิจจำนวนมากขึ้นได้มีส่วนร่วมผลักดันการเติบโตและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยโครงการริเริ่มของ Google ครอบคลุมพันธกิจหลัก 4 ด้านของบริษัทฯ ได้แก่ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี การส่งเสริมทักษะดิจิทัล การพัฒนาเนื้อหาและผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่ง Google ได้พัฒนาโครงการริเริ่มเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าคนไทยทุกคนจะเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมและต่อยอดไปสู่โอกาสที่มีอยู่อย่างมหาศาลในยุคดิจิทัล
ภายในงาน Google ได้เปิดตัว 2 แอปพลิเคชันใหม่สำหรับการพัฒนาทักษะดิจิทัลของคนไทยโดยเฉพาะ ภายใต้โครงการระดับโลกของ Google ที่มีชื่อว่า “
Grow with Google
” ซึ่เป็นโครงการระดับโลกที่มุ่งสร้างโอกาสให้กับทุกคนผ่านการฝึกอบรมและเครื่องมือต่างๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยในการหางาน สร้างความก้าวหน้าในอาชีพ หรือพัฒนาธุรกิจให้เติบโต แอปพลิเคชันแรกมีชื่อว่า
“
Primer
”
ประกอบไปด้วยบทเรียนง่ายๆ สำหรับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางธุรกิจและการตลาดดิจิทัล และอีกแอปพลิเคชันคือ
“
Skillshop
”
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีเลิร์นนิงเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Google นอกจากนี้ยังได้ประกาศเปิดตัวโครงการ
“
Be Internet Awesome
”
ที่ออกแบบมาเพื่อให้ความรู้กับเด็กๆ เกี่ยวกับการท่องโลกออนไลน์อย่างมั่นใจและปลอดภัย ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้เปิดตัวโครงการนี้ในภาษาของตัวเอง
อีกหนึ่งไฮไลท์ของงานในปีนี้คือการประกาศเกี่ยวกับการขยายงานวิจัยใน
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
(Diabetic Retinopathy) โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 4.5 ล้านราย ในขณะที่ทั้งประเทศมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาที่ตรวจโรคนี้ได้เพียง 1,500 คน นับตั้งแต่ที่งานวิจัยเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา Google และโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นพันธมิตรของบริษัทฯ ได้ขยายงานวิจัยในคลินิกเพิ่มขึ้นจาก 1 แห่งเป็น 8 แห่ง ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี และเชียงใหม่ โดยเป้าหมายในระยะยาวของ Google คือการช่วยให้คนไทยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างทั่วถึงเพื่อช่วยป้องกันการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานในไทยได้มากขึ้น
สำหรับในด้านของการสร้างโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น Google ได้ประกาศขยายการให้บริการ
Google Station
ซึ่งเป็นบริการ WiFi ฟรีที่เปิดตัวในไทยเมื่อปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดได้ให้บริการครอบคลุมสถานที่ต่างๆ กว่า 100 แห่งทั่วไทย ทั้งในตลาด ศูนย์การค้า สนามบิน และสถานีขนส่งมวลชนหลักของประเทศที่เชื่อมต่อผู้คนไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ทั่วประเทศ นับตั้งแต่ที่เปิดตัวมา มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Google Station ในไทยไปแล้วมากกว่า 2 ล้านคน ในแต่ละวันคนไทยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Google Station หลายครั้ง และใช้เวลาท่องโลกออนไลน์นานเกือบ 2 ชั่วโมง
นอกจากนี้ Google ยังได้เปิดตัวโปรเจ็คต์ใหม่บน
Google Arts & Culture
ที่มีชื่อว่า
“Hidden Fruits”
ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ 5 ของ
นิทรรศการวังหน้า
เพิ่มเติมจาก 4 เรื่องราวที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดย Google ได้ทำงานร่วมกับกรมศิลปากรอย่างใกล้ชิด ภายใต้การสนับสนุนจากท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน และใช้
กล้
อง Art Camera
บันทึกภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ให้เป็นไฟล์ภาพที่มีความละเอียดสูงขนาด “’กิกะพิกเซล” ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าหนึ่งพันล้านพิกเซล ทำให้คนไทยสามารถชื่นชมรายละเอียดที่สวยงามและสลับซับซ้อนของภาพจิตรกรรมอันล้ำค่านี้ได้อย่างเต็มตาผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์
ปัจจุบัน Google Arts & Culture มีพันธมิตรในไทยทั้งหมด
10 ราย
ร่วมจัดนิทรรศการออนไลน์กว่า 30 รายการ รวบรวมผลงานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญกว่า 1,000 ชิ้น พร้อมด้วยภาพมุมมองพิพิธภัณฑ์มากกว่า 29 ภาพ
ปิดท้ายด้วยการ
ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยจำนวนมากขึ้นได้มีตัวตนบนโลกออนไลน์ โดย Google ได้ประกาศความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าและเป็นสมาชิกเว็บไซต์ Thaitrade.com ลงทะเบียนและยืนยันบัญชี
Google My Business
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจปรากฏบน Google Search และ Google Maps โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ Google ยังได้ประกาศขยายความร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีลงทะเบียนใช้งาน Google My Business ผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy ได้ตั้งแต่สิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป
Google Thailand continues its commitment to the country; announces multiple initiatives to support Thailand digital economy
At the second annual Google for Thailand event, Google reaffirmed its commitment to ‘
Leave No Thai Behind’
, highlighting initiatives that will help more Thai people and businesses participate in the growth and opportunities of the digital economy. The initiatives span across four pillars: access, digital skilling, localized content & local products and SMEs -- designed to ensure that all Thais would have equal opportunities to access technology and use it to unlock digital opportunities.
At the event, two new digital skilling programs were launched under
Grow with Google
, a global initiative that aims to create more opportunities for everyone through free training courses and tools to help people get the right skills to find a job, advance their careers or grow their businesses. The new programs specific to Thais include
Primer
, an app providing simple training in foundational business and digital marketing skills, and
Skillshop
, an e-learning platform for Google products. Google also launched
Be Internet Awesome
, a program designed to teach kids to explore the internet safely and confidently. Thailand is the first country in Asia to have the program in its local language.
Another major announcement is the expansion of research into harnessing
AI for detecting diabetic retinopathy
. There are 4.5 million diabetic patients in Thailand, but only 1,500 eye doctors can detect the disease. Since the study began in December 2018, Google and its partner, the Rajavithi Hospital, Department of Medical Services, Ministry of Public Health in Thailand have expanded their study from one clinic to eight clinics in three Thai provinces, including Bangkok, Pathum Thani, and Chiang Mai. Google’s long term goal is to make screening for diabetic eye disease available to every Thai who needs it to help reduce the incidence of blindness in diabetic patients in Thailand.
For the access initiative, Google announced that its free WiFi program,
Google Station
, which was launched last year, is now available in over
100 venues nationwide, including markets, malls, airports, and also in key ground transport hubs, connecting Thais to commerce all over the country. Google Station has already served over two million people in Thailand since launch. In a day, Thais connect multiple times on Google Station and stay online for a total of almost two hours.
Google also unveiled its most recent culture project in Thailand, the “
Hidden Fruits
” exhibit, which is the 5th installment in the
Front Palace
collection that
Google Arts & Culture
launched in September. Working closely with the Department of Fine Arts under the support of Thanpuying Sirikitiya Jensen, Google was able to capture high resolution images of the murals in the impressive Buddhaisawan Chapel using their
Art Camera
technology. The ultra-high resolution capabilities of the camera results into “gigapixel” imagery made up of over one billion pixels, allowing Thais to see and experience up close the intricate details of their rich culture online.
Google currently has
10 partners
in Thailand, with more than 1000 cultural assets, more than 30 online exhibitions and more than 29 museum views available on Google Arts & Culture.
Lastly, Google announced that more Thai SMEs can now have a presence online. The collaboration with the Ministry of Commerce will allow Thai SMEs who are listed under Blue Flag and ThaiTrade.com to sign up and be verified for
Google My Business
, a free tool enabling businesses be found on Google Search and Google Maps. In addition, Google’s expanded its partnership with Siam Commercial Bank where SMEs can be verified on Google My Business using SCB Easy app starting end of November 2019.
YouTube Music และ YouTube Premium เปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการ
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjHXKlK45Ojyjl9-wSsCKILQfccXdMYep9aOUNMFu4Dwk_wHeWzj5eoJKpKbdPCwpV6jSmkhCDG4LYg7dGBkhF9xYoEjc5ho9dHOc92O4ylY0OCZyRgWwIn30Ayt55mPvPa6cQ-LWlTrm8/s1600/YTM.jpg
สิ้นสุดการรอคอย! YouTube เปิดตัวแอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพลง
“YouTube Music”
อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ช่วยให้คอเพลงค้นพบเพลงที่ชื่นชอบได้มากขึ้น หรือพบรายการโปรดใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย
YouTube Music เป็นบริการสตรีมมิ่งเพลงที่มาพร้อมแอปพลิเคชันสำหรับมือถือและคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาใหม่สำหรับการฟังเพลงโดยเฉพาะ โดยได้รวบรวมเพลงและอัลบั้มอย่างเป็นทางการของหลากหลายศิลปิน พร้อมด้วยเพลย์ลิสต์และคอลเลกชันเพลงตามศิลปินหลายพันรายการ รวมถึงเพลงรีมิกซ์ ผลงานการแสดงสด เพลงคัฟเวอร์ และวิดีโอเพลงที่หาดูได้บน YouTube เท่านั้น ทั้งหมดนี้ได้รับการจัดระเบียบในรูปแบบที่เรียบง่ายและอ้างอิงจากความชอบส่วนตัวของผู้ใช้ นับเป็นครั้งแรกที่ความบันเทิงจากเสียงเพลงในทุกรูปแบบถูกรวบรวมไว้ในที่เดียว
นอกเหนือจากบริการต่างๆ ใน
YouTube Music
ที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเปิดให้ใช้ฟรีแต่จะมีโฆษณาคั่นแล้ว YouTube ยังได้เปิดตัว
YouTube Music Premium
ซึ่งเป็นบริการแบบสมัครสมาชิกที่ผู้ใช้สามารถฟังเพลงและวิดีโอได้อย่างต่อเนื่องในขณะที่สลับไปใช้แอปพลิเคชันอื่นๆ เขียนข้อความ หรือล็อกหน้าจอ นอกจากนี้ผู้ใช้บริการ YouTube Music Premium ยังสามารถดาวน์โหลดเพลงเพื่อฟังแบบออฟไลน์ได้ และเพลิดเพลินไปกับการฟังเพลงแบบไม่มีโฆษณามาคั่นเพื่อประสบการณ์ความบันเทิงที่สมบูรณ์แบบ โดยมีค่าบริการเริ่มต้นเพียง 129 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ในแต่ละเดือนมีแฟนเพลงกว่า 1 พันล้านคนใช้บริการ YouTube เพื่อฟังเพลงโปรดและเพลงยอดนิยม พร้อมทั้งค้นหาเพลงใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีศิลปินกว่า 2 ล้านคนเข้ามาแบ่งปันเสียงเพราะๆ และศิลปะของพวกเขากับผู้คนทั่วโลก
เหตุผล 6 ประการที่ทำให้ YouTube Music โดดเด่นกว่าบริการสตรีมมิ่งเพลงรายอื่น
มีทุกอย่างครบ จบในที่เดียว!
YouTube Music มอบประสบการณ์ทางดนตรีที่สมบูรณ์แบบด้วยวิดีโอเพลง เพลงและอัลบั้มอย่างเป็นทางการของหลากหลายศิลปิน ซิงเกิ้ล เพลงรีมิกซ์ ผลงานการแสดงสด เพลงคัฟเวอร์ รวมถึงเพลงที่หาฟังได้ยากที่สามารถหาเจอได้บน YouTube เท่านั้น
แนะนำเพลงที่เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน
YouTube Music จะแนะนำเพลงโดยอ้างอิงจากเพลงที่เล่นก่อนหน้านี้และสิ่งที่ผู้ใช้กำลังทำอยู่ เช่น หากคุณกำลัง
ออกกำลังกาย
ที่ยิม หรือหลีกหนี
การเดินทางที่วุ่นวายในแต่ละวัน
แอปพลิเคชัน YouTube Music ก็จะแนะนำเพลงที่เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ
เพลย์ลิสต์หลายพันรายการ
YouTube Music มีเพลย์ลิสต์ที่ครอบคลุมทุกแนวเพลง ทุกอารมณ์ ทุกกิจกรรม และหลากหลายภาษา หากคุณกำลังมองหาอะไรใหม่ๆ ขอแนะนำเพลย์ลิสต์อย่าง
“
ไทยป๊อบฮอตฮิต
” “
ลูกทุ่งฮอตฮิต
” “
ไทยฮิปฮอปฮอตฮิต
” “
ไทยอินดี้ฮอตฮิต
” “
ไทยร็อกฮอตฮิต
” หรือ
“
เพลงฮิตไทยป๊อปคลาสสิก
”
การค้นหาเพลงแบบอัจฉริยะ
จำชื่อเพลงไม่ได้?
ไม่ต้องเป็นกังวล
เพราะ YouTube Music มีระบบการค้นหาเพลงแบบอัจฉริยะที่จะช่วยให้คุณพบกับเพลงที่ต้องการแม้ว่าคุณจะจำชื่อเพลงนั้นไม่ได้ก็ตาม เพียงพิมพ์รายละเอียดเพลงที่ต้องการ เช่น “หมอกจางๆ และควัน” นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาเพลงจากเนื้อร้องได้ด้วยเช่นกัน (แม้ว่าเนื้อร้องที่คุณพิมพ์ไปจะไม่ตรงเผงก็ตาม)
วิดีโอยอดฮิต
YouTube Music จะช่วยให้คุณไม่พลาดวิดีโอยอดฮิตที่กำลังมาแรงจากทั่วโลก อาทิ
แอบดี - STAMP
,
GOT7 "니가 부르는 나의 이름(You Calling My Name)"
,
GAVIN.D - ROR T MT Ft. 1MILL (Official MV)
โดยจะรวบรวมไว้ในฟีเจอร์ Hotlist
สลับไปมาระหว่างวิดีโอและเพลง
ผู้ใช้สามารถสลับไปมาระหว่างวิดีโอเพลงและเสียงเพลงอย่างเดียวได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่มเดียว ฟีเจอร์ที่ไม่เหมือนใครนี้จะช่วยให้สมาชิก YouTube Premium และ YouTube Music Premium สลับการเล่นไปมาระหว่างวิดีโอเพลงและเสียงเพลงอย่างเดียวได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด
สามารถดาวน์โหลด YouTube
Music แอปพลิเคชันสตรีมมิ่งเพลงจาก YouTube ที่ที่เสียงดนตรีไม่เคยหยุด ได้ที่
Google Play Store
สำหรับระบบ Android และ
App Store
สำหรับระบบ iOS พร้อมทดลองใช้งาน
YouTube Music Premium ได้ฟรีนาน 1 เดือน
นอกจากนี้ Y
ouTube ยังได้เปิดตัว
YouTube Premium
ในไทย โดยมีค่าบริการ 159 บาทต่อเดือน ซึ่งผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก YouTube Premium จะได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิก YouTube Music Premium โดยอัตโนมัติ และสามารถเพลิดเพลินไปกับการดูวิดีโอแบบไม่มีโฆษณา รวมถึงการเล่นวิดีโออยู่เบื้องหลังและการดาวน์โหลดวิดีโอเพื่อดูแบบออฟไลน์
YouTube Music and YouTube Premium debut in Thailand
The wait is over! Whether you want to find more of the music you love or effortlessly discover new favorites -- it’s all here! YouTube today announced the launch of its new music streaming app --
YouTube Music,
in Thailand.
YouTube Music is a reimagined, made-for-music app and web player
with official songs, albums, thousands of playlists and artist radio plus YouTube’s tremendous catalog of remixes, live performances, covers and music videos that you can’t find anywhere else - all simply organized and
personalized
. For the first time, all the ways music moves you can be found in one place.
While all this is available for free in the ad-supported version of
YouTube Music
, the company has also announced
YouTube Music Premium
, a paid membership that allows users to play songs and videos in the background, while they toggle between apps, write a text message or lock their phone during a run. YouTube Music Premium also offers offline downloads and a completely ad-free experience -- all starting at just ฿129.00 a month.
More than 1 billion music fans come to YouTube each month to listen to hot favourites, and discover new music. It’s also where over 2 million artists come to share their voices and art with the world.
Here are
six reasons
that makes YouTube Music stand out:
It’s ALL here
! Not just music videos, but official songs, albums, singles, remixes, live performances, covers and hard-to-find music that one can find only on YouTube.
Recommendations built for you
. A home screen that dynamically adapts to provide recommendations based on the music played before and what the listener is doing. So if you are in the gym
workin’ out
or escaping during your
daily commute
, the right music is right there on the YouTube Music app.
Thousands of playlists
across any genre, mood, activity, or language.
Try “
Thai Pop Hotlist
”, “
Looktung Hotlist
”, “
Thai Hip Hop Hotlist
”, “
Thai Indie Hot List
”, “
Thai Rock Hotlist
” or “
Classic Thai Pop Hits
” to discover new music.
Smart search
so we’ll find the song, even if you can’t remember what it’s called. “
หมอกจางๆ และควัน”
We got you.
You can also search by lyrics (even if they’re wrong).
The hottest videos
. YouTube Music will keep you updated on what’s hot! The hottest videos in the world are right there, on their dedicated Hotlist screen. Today in Thailand,
it features
แอบดี - STAMP
,
GOT7 "니가 부르는 나의 이름(You Calling My Name)"
,
GAVIN.D - ROR T MT Ft. 1MILL (Official MV)
.
Audio/Video switching
:
Switching between music videos and songs is as simple as the tap of a button. This unique feature will allow YouTube Premium and YouTube Music Premium subscribers to make a seamless transition between a song and its music video for uninterrupted listening and watching.
YouTube Music:
A new music streaming app, made by YouTube. Where the music never stops. Download the app on the
Google Play Store
and
iOS App Store
, and get a special introductory
offer of 1 month free for YouTube Music Premium.
Additionally, YouTube is also bringing
YouTube Premium
to Thailand. YouTube Premium will be available for ฿159.00 a month, will include membership to YouTube Music Premium, and offer an ad-free experience with background play and offline downloads for millions of videos on YouTube.
ป้ายกำกับ
+1
2
#10YearsofYouTube
28
#2013 in Search
2
3D city maps
1
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
1
การค้นหา
1
การปิดกั้นโฆษณา
1
คลาวด์
1
คู่มือโมบายส์
1
โครงการภาษาที่ใกล้จะสูญหาย
1
โซเชียลแพลทฟอร์ม
1
ไซต์ไกสต์
1
เดวิด เบ็คแฮม
1
ตามรอยพระราชา
1
ทูตนักศึกษาของ Google
1
ธุรกิจไทยโกออนไลน์
2
ธุรกิจไทย GO ONLINE
2
นโยบายความเป็นส่วนตัว
1
นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว
1
นานาน่ารู้
1
ประเทศไทย
1
ปรากฎการณ์ทางดนตรี
1
พี่เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์
2
ภาษาพม่า
1
ภาษาลาว
1
มือถือ
1
โมบายส์แอพ
1
ยอดคุณแม่ยุคไอที
1
รามเกียรติ์
1
รามายณะ
1
รายงานความโปร่งใส
1
ลอนดอนเกมส์ 2012
1
ลิขสิทธิ์
1
ลิขสิทธิ์ในการค้นหา
1
วันครู
1
วันเด็กไทย
2
วันปีใหม่ไทย
1
วันพืชมงคล
1
#วันภาษาไทยแห่งชาติ
1
วันสงกรานต์
1
วันแห่งการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
1
วันแห่งความรัก
1
วันเเม่เเห่งชาติสากล
1
วาเลนไทน์
1
วิดีโอแชท
1
ศิลปิน K-Pop
1
#สตรีทวิว
5
อินเทอร์เน็ต
1
แฮงเอาท์
1
access
1
AdMob
1
AdSense feature
1
AdSense Payment
1
#adsleaderboard #leaderboard #thailand
1
advertising
2
AdWords
6
#AdWords #webinar #GoogleAdWords
1
AdWords Weekly Update
13
After School
1
agency
1
AI
20
Amit Singhal
1
Android
11
Android Games
1
#AndroidOne
1
Android Security
1
Andy Rubin
1
Antarctica
1
Apps for EDU
3
artists
1
Bard
5
Beast
1
Be Internet Awesome
2
#Birthday
2
#BKKvote #เลือกตั้ง #ผู้ว่ากรุงเทพฯ #vote
1
black hat webspam
1
Brands
1
Build The Memory
1
Burmese
1
CBS
1
Censorship
1
Child Protection
1
Children's Day
1
#ChildrensDay2013
1
Chrome
10
Chromebooks
1
#Chromebooks #GoogleTH
1
Chrome. #chromies
1
Chrome experiments
2
Chrome for Android
2
Chrome Web Lab
1
Chrome Web Store
2
#Chromies
3
Chulalongkorn Business School
1
Cloud
2
Cloud Computing
1
Computer Crimes Act
1
Consumer Product
2
Cool IT
1
Copyright
1
Cotto
1
creators
2
#CreatorsForChange
1
Crisis Response
4
Culture
7
#DatallyByGoogle
2
David Beckham
1
Developers
4
DevFest
1
digital creativity
1
Digital insights
2
Disaster Relief
5
Display Ads Builder
1
Diversity and Inclusion
3
Doodle
1
doodle 4 google
5
Drive
1
Education
4
Employment
1
Endangered Languages Project
1
Entrepreneurs
1
Environment
1
Evolution of Search
2
Family Safety
3
favourite places
1
#FilesGo
1
Flights and Hotels
3
forms
1
Freedom of expression
2
free Internet
1
g|thailand
1
Gadgets
1
Galapagos
1
game
1
#gappschallenge
1
GASP
1
GCP
1
GDG
1
geberative AI
1
Gemini
10
Gemini App
2
Get You Google Back
1
#Gmail
7
#Gmailtips
3
GMM Grammy
1
Go Google
1
GoMo
3
Go Mobile
3
#GoMoTH
2
Good To Know
1
Google
7
Google+
23
Google+ ใหม่
1
Google+ แฮงเอาท์
1
Google+ for business
1
Google+ for iPad
1
Google+ for iPhone
2
Google+ Mobile Website
1
Google ข่าวสาร
1
Google ไดรฟ์
1
Google แปลภาษา
2
Google แผนที่
10
Google แผนที่สำหรับไอโฟน
1
Google เพื่อการศึกษา
1
Google สตรีทวิว
2
Google Ads
3
Google AdSense
5
google adwords
28
google alerts
1
Google Ambassador Program
1
Google Analytics
2
Google Apps
3
Google Apps เพื่อการศึกษา
1
Google Apps สำหรับการศึกษา
2
Google Apps Developer Challenge
2
Google Apps for Education
3
Google Apps For NGOs
1
Google Art Project
2
Google Arts and Culture
3
Google Arts & Culture
3
Google Assistant
3
Google Campus Ambassador
1
#GoogleCardboard
1
Google Certification Program
1
google chrome
13
Google Classroom
2
Google Cloud
4
Google Cloud Summit
1
Google Cultural Institute
1
Google Currents
1
Google Display Network
2
Google Docs
1
#Google Doodle
10
Google Drive
4
google earth
9
Google Earth for mobile
1
Google EDU
1
Google Engage
1
Google Flights
1
#GoogleForEducation
1
Google for Entrepreneurs
1
Google For Non-Profits
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate #loveyourlanguage
3
Google Guru
1
Google Handwrite
3
Google Health
1
Google in Asia
3
#Google #IndoorMaps #GoogleMaps #Thailand #Shopping
1
Google Keep
1
Google Lens
1
#Googlelovesmom #GoogleTH #YouTubeTH
1
google maps
45
#GoogleMaps
8
Google Maps for iOS
3
Google Maps for iPhone
1
#GoogleMaps #GoogleTH
2
Google Maps on Android
2
Google Maps on mobile
1
Google Meet
1
Google My Business
1
googlenew
1
Google News
2
Google News Initiative
1
Google Now
1
Google One
1
Google.org
1
Google Photography Prize
1
Google Play
8
Google Play Games
1
#GooglePlayNewsstand
1
Google Play Protect
1
Google Plus
6
Google Plus Pages
3
Google Scholarship
1
Google Search
32
Google Shopping
2
Google Station
1
Google Street Roo
1
#GoogleStreetView
1
#GoogleStreetview #GoogleTH
2
Google Student Ambassadors
1
google summer of code
1
#GoogleTH
5
#GoogleTH #Gmail
1
#GoogleTH #GoogleMaps #LocalGuides
1
#GoogleTH #GoogleStreetView
1
#GoogleTH #GoogleStreetView #GoogleTourismTH
1
#Googleth #Yearinsearch2015
1
Google Trader
1
Google Transit
2
Google Translate
6
#GoogleTranslateCommunity
2
Google Trends
5
#GoogleTrends #GoogleTH
1
Google TV
1
#googleupdate
1
Google Voice Search
1
Google Wallet
1
Google Workspace
4
#Google Zeitgeist
2
Googlies Award
1
Go Online
1
Grand Canyons
1
Greenpeace
1
Grow with Google
2
G Suite
1
GTBO
1
#gthailand
1
GTUG
1
hackathon
1
Hangouts
5
#HBDChrome
4
#HBDYouTube
15
#HBDYouTubeTH
15
How Search Works
1
HTML5
1
#iconicaudition
2
Iconic Online Audition
1
#IconicRecords
1
igoogle
1
Independent learning
1
INFINITE
1
Innovation Idols
1
#InnovationTH
1
Innovation Thailand
1
Innovation Thailand Report
1
insights for search
4
Internet
1
Internet economy
1
iOS
1
iPhone
1
IPv6
1
Japan Earthquake
1
Jobs
1
#kidday2013
1
King's Birthday
1
Knowledge Graph
1
K-Pop
1
languages
2
Laos
1
Launchpad Accelerator
2
Made on YouTube
1
#MarioMaps
1
#MFUgoesGoogle
1
Milan Design Week
1
mobile
4
mobile games
1
Mobile World Congress
1
mobilised website
1
mobilized website
1
moonshot
1
moonshot thinking
1
#morethanamap
1
Mother's Day
1
Mum
1
Myanmar
1
My Places
1
Nelson Mandela
1
Nelson Mandela Archives
1
Nelson Mandela Centre of Memory
1
New AdSense Interface
1
new look Google+
1
new year resolutions
1
Next Billion Users
6
Nexus
1
Online for Floods
1
online marketing
1
open Internet
1
OTPC
1
PC
1
Personal Search
1
#PhotoSpheres
1
Photo Tours
1
PIPA
1
#prideforeveryone #YouTubeTH
1
privacy
5
privacy policy
3
Product Launch
2
products and features
1
#ProudToBe #YouTubeTH
2
#racer
1
Ramayana
1
Reseller
1
#Review
1
#RISE
1
RISE Awards
1
#rollit
1
Royal Ploughing Ceremony
1
Safer Internet Day
2
Safe Search
1
Safety and Security
18
Safety Center
1
Search
3
search engine optimization
1
Search Plus Your World
1
Security
1
SEO
1
Shorts
4
#SID2013
1
SISTAR
1
smartphone
1
sme
1
#solveforx
1
Sonkran
1
SOPA
1
South Pole
1
#StarWars
1
#StreetView
4
Sustainability
2
teacher's day
1
#techforgood
3
Technology For Good
2
Thailand
1
Thai Language
2
Thai New Year
1
thai.ramaya.na
1
The Mobile Playbook
1
#thenextbillion
1
Think รายไตรมาส
2
Think Quarterly
2
#Trafficking
1
transparency
1
Transparency Report
1
Trekker
2
Trends
1
Tsunami
1
Valentine's Day
1
virtual keyboard
1
Voice Search
2
Wear OS
1
weather
1
Webmaster
2
webspam
1
Web Speech API
1
#weloveGmail
1
Western Union
1
white hat SEO
1
Windows 8
1
World Press Freedom Day
1
World Wonders
2
#YearInSearch
3
#Yearinsearch2016 #GoogleTH
1
#YearInSearch2017
1
#YearInSearch2018
1
#YearInSearch2019
1
#youtube
4
YouTube
4
YouTube Ads Leaderboard
1
YouTube Creators for Change
1
YouTube Go
2
YouTube Kids
1
YouTube on iOS
1
#YouTubePopUpSpace
1
YouTube Rewind
1
#YouTubeRewind #YouTubeTH
2
#YouTubeRunForUNHCR
1
YouTube Shorts
6
#YouTubeTH
33
#YouTube #YouTubeTH
1
#YTFF
1
Zeitgeist
3
บทความที่ผ่านมา
2025
มกราคม
ม.ค. 22
ม.ค. 16
2024
ธันวาคม
ธ.ค. 24
ธ.ค. 16
ธ.ค. 12
ธ.ค. 11
ธ.ค. 03
พฤศจิกายน
พ.ย. 15
พ.ย. 14
ตุลาคม
ต.ค. 16
กันยายน
ก.ย. 30
ก.ย. 19
สิงหาคม
ส.ค. 29
กรกฎาคม
ก.ค. 26
มิถุนายน
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 29
พ.ค. 15
พ.ค. 02
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 24
เม.ย. 03
มีนาคม
มี.ค. 29
มี.ค. 28
มี.ค. 19
กุมภาพันธ์
ก.พ. 29
ก.พ. 09
ก.พ. 07
ก.พ. 06
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 10
2023
ธันวาคม
ธ.ค. 14
ธ.ค. 08
ธ.ค. 07
พฤศจิกายน
พ.ย. 17
พ.ย. 15
พ.ย. 08
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 19
ต.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 27
ก.ย. 22
ก.ย. 21
ก.ย. 19
ก.ย. 11
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 30
ส.ค. 08
ส.ค. 04
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 24
ก.ค. 13
มิถุนายน
มิ.ย. 12
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 11
พ.ค. 02
เมษายน
เม.ย. 26
เม.ย. 11
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 29
มี.ค. 15
มี.ค. 08
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 24
ก.พ. 20
ก.พ. 09
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 18
ม.ค. 12
2022
ธันวาคม
ธ.ค. 06
ธ.ค. 02
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 22
พ.ย. 18
พ.ย. 15
พ.ย. 10
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 25
ต.ค. 21
ต.ค. 12
ต.ค. 05
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 21
ก.ย. 09
สิงหาคม
ส.ค. 25
กรกฎาคม
ก.ค. 25
มิถุนายน
มิ.ย. 27
พฤษภาคม
พ.ค. 24
เมษายน
เม.ย. 28
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 19
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 24
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 22
ก.พ. 17
ก.พ. 16
ก.พ. 11
ก.พ. 10
ก.พ. 07
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
2021
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 08
ธ.ค. 02
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 28
กันยายน
ก.ย. 30
ก.ย. 29
ก.ย. 21
ก.ย. 16
สิงหาคม
ส.ค. 23
ส.ค. 18
ส.ค. 09
ส.ค. 05
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 13
มิถุนายน
มิ.ย. 24
มิ.ย. 14
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 19
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 17
มี.ค. 16
มี.ค. 11
มี.ค. 08
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 17
ก.พ. 09
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 11
2020
ธันวาคม
ธ.ค. 09
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 30
ต.ค. 06
ต.ค. 02
ต.ค. 01
กันยายน
ก.ย. 29
สิงหาคม
ส.ค. 27
ส.ค. 12
ส.ค. 05
กรกฎาคม
ก.ค. 31
ก.ค. 15
ก.ค. 09
มิถุนายน
มิ.ย. 25
มิ.ย. 23
มิ.ย. 15
มิ.ย. 11
พฤษภาคม
พ.ค. 21
พ.ค. 19
พ.ค. 15
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 29
เม.ย. 16
เม.ย. 13
เม.ย. 10
เม.ย. 08
เม.ย. 06
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 27
มี.ค. 26
มี.ค. 25
มี.ค. 20
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 16
มี.ค. 12
กุมภาพันธ์
ก.พ. 17
ก.พ. 14
ก.พ. 12
ก.พ. 06
มกราคม
ม.ค. 29
ม.ค. 14
ม.ค. 08
ม.ค. 07
2019
ธันวาคม
ธ.ค. 11
ธ.ค. 06
ธ.ค. 03
พฤศจิกายน
พ.ย. 22
จดหมายข่าวฉบับสุดท้ายของปี 2019: สรุปเหตุการณ์ในปีนี้
พ.ย. 14
Google ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทยด...
พ.ย. 06
YouTube Music และ YouTube Premium เปิดตัวในไทยอย่า...
ตุลาคม
ต.ค. 31
ต.ค. 21
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 20
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 30
ส.ค. 28
ส.ค. 21
ส.ค. 20
ส.ค. 08
ส.ค. 01
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 24
ก.ค. 22
ก.ค. 11
ก.ค. 04
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 07
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 15
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
กุมภาพันธ์
ก.พ. 20
ก.พ. 15
ก.พ. 05
ก.พ. 04
มกราคม
ม.ค. 14
ม.ค. 04
2018
ธันวาคม
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 08
พฤศจิกายน
พ.ย. 27
พ.ย. 12
พ.ย. 09
ตุลาคม
ต.ค. 24
ต.ค. 22
ต.ค. 16
ต.ค. 15
ต.ค. 11
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 24
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 12
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 16
กรกฎาคม
ก.ค. 18
มิถุนายน
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 13
มิ.ย. 05
พฤษภาคม
พ.ค. 23
พ.ค. 16
พ.ค. 11
พ.ค. 08
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 14
มี.ค. 10
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 23
ก.พ. 16
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 18
2017
ธันวาคม
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 07
ธ.ค. 06
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
ตุลาคม
ต.ค. 13
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 21
ก.ย. 20
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 29
ส.ค. 28
ส.ค. 25
ส.ค. 17
ส.ค. 11
ส.ค. 08
ส.ค. 06
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 17
ก.ค. 06
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 08
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 24
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 22
มี.ค. 09
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
ม.ค. 20
ม.ค. 16
2016
ธันวาคม
ธ.ค. 19
ธ.ค. 16
ธ.ค. 14
ธ.ค. 08
ธ.ค. 06
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 22
พ.ย. 16
พ.ย. 08
พ.ย. 07
พ.ย. 04
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 04
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 15
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 25
ส.ค. 19
ส.ค. 16
ส.ค. 10
ส.ค. 05
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 15
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 24
มิ.ย. 23
มิ.ย. 22
พฤษภาคม
พ.ค. 26
พ.ค. 12
พ.ค. 04
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 29
มี.ค. 28
มี.ค. 11
มี.ค. 08
2015
ธันวาคม
ธ.ค. 22
ธ.ค. 16
ธ.ค. 09
ธ.ค. 04
พฤศจิกายน
พ.ย. 24
พ.ย. 20
พ.ย. 16
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 18
ก.ย. 16
ก.ย. 10
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 20
ส.ค. 11
ส.ค. 05
ส.ค. 04
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 14
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 25
มิ.ย. 24
มิ.ย. 12
มิ.ย. 08
มิ.ย. 05
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 28
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 21
พ.ค. 20
พ.ค. 19
พ.ค. 18
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 15
พ.ค. 14
พ.ค. 13
พ.ค. 12
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 07
พ.ค. 01
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 29
เม.ย. 10
เม.ย. 01
มีนาคม
มี.ค. 23
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 05
กุมภาพันธ์
ก.พ. 26
ก.พ. 25
ก.พ. 23
ก.พ. 21
ก.พ. 20
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 15
2014
ธันวาคม
ธ.ค. 23
ธ.ค. 17
ธ.ค. 16
ธ.ค. 11
ธ.ค. 10
ธ.ค. 04
ตุลาคม
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 15
ก.ย. 12
ก.ย. 10
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 14
ส.ค. 13
ส.ค. 08
กรกฎาคม
ก.ค. 08
ก.ค. 02
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 20
มิ.ย. 12
มิ.ย. 11
มิ.ย. 09
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 19
พ.ค. 09
เมษายน
เม.ย. 21
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 18
2013
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 19
ธ.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 21
สิงหาคม
ส.ค. 08
ส.ค. 06
กรกฎาคม
ก.ค. 29
มิถุนายน
มิ.ย. 20
มิ.ย. 18
มิ.ย. 17
มิ.ย. 03
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 28
พ.ค. 07
เมษายน
เม.ย. 29
เม.ย. 25
เม.ย. 24
เม.ย. 16
เม.ย. 10
เม.ย. 09
เม.ย. 05
เม.ย. 04
มีนาคม
มี.ค. 28
มี.ค. 19
มี.ค. 08
มี.ค. 07
มี.ค. 06
มี.ค. 04
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 25
ก.พ. 21
ก.พ. 19
ก.พ. 18
ก.พ. 15
ก.พ. 06
ก.พ. 05
ก.พ. 04
ก.พ. 01
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 30
ม.ค. 29
ม.ค. 25
ม.ค. 22
ม.ค. 15
2012
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 10
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 27
พ.ย. 26
พ.ย. 21
พ.ย. 10
พ.ย. 08
พ.ย. 02
พ.ย. 01
ตุลาคม
ต.ค. 18
ต.ค. 11
ต.ค. 09
ต.ค. 08
ต.ค. 05
ต.ค. 02
กันยายน
ก.ย. 26
ก.ย. 25
ก.ย. 24
ก.ย. 21
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 11
ก.ย. 10
ก.ย. 07
ก.ย. 06
ก.ย. 05
ก.ย. 04
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 22
ส.ค. 20
ส.ค. 15
ส.ค. 10
ส.ค. 07
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 19
ก.ค. 18
ก.ค. 16
ก.ค. 13
ก.ค. 12
ก.ค. 11
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 21
มิ.ย. 20
มิ.ย. 19
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 14
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 28
พ.ค. 25
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 14
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 04
พ.ค. 03
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 25
เม.ย. 19
เม.ย. 18
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 04
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 06
มี.ค. 05
มี.ค. 01
กุมภาพันธ์
ก.พ. 29
ก.พ. 28
ก.พ. 24
ก.พ. 22
ก.พ. 20
ก.พ. 14
ก.พ. 13
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 27
ม.ค. 23
ม.ค. 21
ม.ค. 18
ม.ค. 16
ม.ค. 14
ม.ค. 11
ม.ค. 06
2011
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 13
ธ.ค. 08
ธ.ค. 05
พฤศจิกายน
พ.ย. 29
พ.ย. 24
พ.ย. 18
พ.ย. 08
พ.ย. 03
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 15
ต.ค. 11
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 23
ก.ย. 13
ก.ย. 02
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 26
ส.ค. 12
มิถุนายน
มิ.ย. 08
เมษายน
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 01
มกราคม
ม.ค. 21
2010
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
ตุลาคม
ต.ค. 29
ต.ค. 12
ต.ค. 06
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 21
ก.ย. 14
ก.ย. 06
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 24
ส.ค. 16
ส.ค. 09
ส.ค. 03
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 20
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 10
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 25
พ.ค. 23
พ.ค. 12
พ.ค. 07
พ.ค. 05
เมษายน
เม.ย. 13
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 23
มี.ค. 11
มี.ค. 05
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 18
2009
ธันวาคม
ธ.ค. 14
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 12
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 22
ต.ค. 15
กันยายน
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 21
ส.ค. 10
กรกฎาคม