Thailand Blog
แอพพ์ Google แผนที่ พร้อมแล้วให้เหล่าสาวกไอโฟนได้ใช้งาน
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
English
ผู้คนจากทั่วโลกมักจะถามถึง Google แผนที่ บนไอโฟน และในที่สุดวันนี้ก็มาถึง เราได้เปิดตัวแอพพ์ Google แผนที่สำหรับไอโฟนเเล้วที่นี่, พร้อมเดินทางไปทั่วโลกได้เเล้ว เพียงดาวน์โหลด ที่
Apple App Store
ซึ่ง Google แผนที่ นี้ได้ถูกออกแบบให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่ และแม่นยำ ด้วยหน้าอินเทอร์เฟช สำหรับผู้ใช้งานที่ช่วยให้คุณค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวกเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น
แอพพ์ดังกล่าวจะแสดงผลข้อมูลที่มากกว่าแผนที่บนหน้าจอ และสามารถหมุนแผนที่ ไปมา บนโทรศัพท์มือถือ ช่วยให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายขึ้น ภาพมีความคมชัดยิ่งขึ้น ด้วยแผนที่มาตรฐานแบบ vector ที่สามารถโหลด ปรับ หมุนแผนที่ ทั้งในแบบ 2D และ 3D ได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว นอกจากนี้ในช่องค้นหาด้านบนยังเป็นตำแหน่งที่ดีในการเริ่มค้นหาสถานที่ต่างๆ ลองพิมพ์ชื่อร้านอาหารใหม่ๆ ที่น่าสนใจลงไป มันจะปรากฏข้อมูล ด้านล่าง ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ เวลาปิด-เปิดของร้าน คะแนนและผลการรีวิว ภาพถ่าย เส้นทาง และข้อมูลอื่นๆ
หัวใจหลักของแอพพ์นี้อยู่ที่
การปรับปรุงแผนที่โลกอย่างต่อเนื่อง
รวมไปถึงรายละเอียดข้อมูลธุรกิจ ที่มีมากกว่า 80 ล้านราย และจุดที่น่าสนใจต่างๆ ลองสำรวจสถานที่่ที่คุณจะเดินทางไปท่องเทียวด้วย Street View และสำรวจภายในสถานที่นั้นๆ ด้วย
Business Photos
เพื่อตัดสินใจว่าจะนั่งแบบโต๊ะ หรือนั่งที่บาร์ดีกว่ากัน เพื่อพาคุณไปถึงยังที่หมาย คุณจะได้ยินเสียงแนะนำเส้นทาง ที่จะคอยบรรยายข้อมูลสถานที่นั้น ๆ โค้งต่อโค้ง รวมถึงสภาพการจราจร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการจราจรที่แสนจะติดขัด และหากคุณต้องการเดินทาง ด้วยรถโดยสารสาธารณะ ก็สามารถหาข้อมูลจากจุดหยุดรถที่มีมากกว่าล้านแห่ง
โลกรอบๆ ตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเราต้องขอบคุณข้อเสนอแนะดีๆ จากคุณทุกคน เรามีการปรับปรุงบริการ Google แผนที่ เป็นหมื่นครั้งในทุกๆ วัน เพื่อให้แผนที่ของเรามีความแม่นยำ และครอบคลุมที่สุด และนี่จะเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์สำหรับเราสำหรับแอพพ์ใหม่นี้ ถ้าคุณอยากเห็น ลองเขย่าโทรศัพท์ของคุณดูสิ!
เพื่อให้ระบบนิเวศน์ของ Google แผนที่ มีความสมบูรณ์แบบ เราจึงได้เปิดตัว
SDK หรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับนักพัฒนา สำหรับ Google แผนที่ บนระบบปฏิบัติการ iOS
ที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอพพ์ Google แผนที่ ที่มีความสวยงาม และ มีนวัตกรรม ออกมา
สำหรับแอพพลิเคชั่น Google แผนที่ นี้รองรับการใช้งานกับไอโฟน และไอพอด ทัช (เวอร์ชั่น 4) ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชั่น 5.1 หรือสูงกว่า ใน
กว่า 40 ประเทศ
และ 29 ภาษาทั่วโลก รวมไปถึงจีน, เนเธอแลนด์, อังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น และสเปน แต่ฟีเจอร์ทั้งหมด ที่กล่าวมานี้อาจไม่รองรับการใช้งานในบางภาษา
เยี่ยมชม App Store และดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Google แผนที่ ได้แล้ววันนี้ เราเชื่อว่าประสบการณ์ใหม่นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเราจะยังคงปรับปรุง Google แผนที่สำหรับคุณ ในทุกๆ วันต่อไป
โพสต์โดย แดเนียล กราฟ ผู้อำนวยการ Google แผนที่ สำหรับโทรศัพท์มือถือ
Innovation Thailand - คำเชื้อเชิญชาวไทยร่วมก้าวสู่เวทีระดับโลก
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Please scroll for English
เมื่อมีการเปิดสำนักงาน Google ประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ผมมักได้รับคำถามจากสื่อมวลชน หรือเจ้าของธุรกิจว่าทำไม Google เลือกมาลงทุนในประเทศไทย เราเห็นโอกาสอะไรในประเทศนี้ ซึ่งผมรู้สึกแปลกใจ
ที่ผมบอกว่ารู้สึกแปลกใจกับคำถามเหล่านี้เพราะคำตอบโดยธรรมชาติของผมคือ แล้วทำไมถึ
งจะเป็นประเทศไทยไม่ได้ ผมเชื่อในศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ ของคนไทย และผมมั่นใจว่าการเติบโตของประเทศไทยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับศักยภาพด้านนี้ดังที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ด้วยการสนับสนุนจากพันธมิตรของเราคือกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เราได้เปิดตัวโครงการ ‘Innovation Thailand’ พร้อมทั้งเปิดเผย
รายงาน Innovation Thailand
และ Innovation Idols ทั้ง 7 ที่ได้รับการคัดเลือกและรับรางวัลในฐานะ Innovation Idols รุ่นแรกของประทศไทย
Innovation Thailand เป็นการเชื้อเชิญคนไทยให้ตระหนักถึงศักยภาพอันเต็มเปี่ยมของตน และเราหวังว่าเมื่ออ่านรายงานและได้รับทราบเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจจากเหล่า
Innovation Idols
เหล่านี้ของเรา จะเป็นการจุดประกายให้นักนวัตกรรมรุ่นใหม่ของเราก้าวออกสู่ระดับโลก และช่วยกันส่องประกายของประเทศไทย
เราต้องปลดล๊อคการพัฒนานวัตกรรมของเราในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ - กระตุ้นให้คนไทย ในทุกวัย และจากทุกส่วนของประเทศไทย ช่วยกันสร้างวัฒนธรรมของการพัฒนานวัตกรรม ที่ทำให้เราสามารถขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตสามารถช่วยให้เกิดนวัตกรรมได้ และยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมอีกมากมาย
ด้วยกระบวนการทำวิจัยอย่างเข้มข้น และการสนทนากับเหล่านักพัฒนานวัตกรรมและผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้นำทางความคิดต่างๆ ทั่วประเทศ รายงาน Innovation Thailand ค้นพบปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมหลัก 4 ประการคือ
การเข้าถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน:
จำเป็นต้องพัฒนาการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ดีขึ้น
การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล:
พัฒนาด้านการศึกษาและทรัพยากรบุคคลมากขึ้น เพื่อทำให้เยาวชนและประชากรวัยทำงานรุ่นใหม่มีทักษะที่แข่งขันได้ในตลาดโลก
ระบบการกำกับดูแล:
มีระบบการกำกับดูแลที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้พร้อมด้วยกฏหมายคุ้มครองผู้ให้บริการเนื้อหาดิจิทัล
ปัจจัยขับเคลื่อนดังกล่าวนี้สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย ถ้าเรามีการทำงานร่วมกัน
สิ่งเหล่านี้เราสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนได้ . . .
คุณรู้ไหมว่ายังมีคนไทยอีกกว่า 40 ล้านคน ที่ยังไม่สามารถใช้หรือเข้าถึงหรือได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต ประชาชนรุ่นใหม่ของเราพร้อมที่่จะก้าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจ้างงานระดับโลกและด้วยทักษะ ที่จำเป็นต่อความสำเร็จของพวกเขาหรือไม่? เรากำลังทำให้นักพัฒนานวัตกรรม หรือผู้ประกอบการ
ชาวไทย
สามารถสร้างนวัตกรรมในบรรยากาศ ที่ประกอบด้วยระบบการกำกับดูแลที่โปร่งใสที่ช่วยทำให้เขาเหล่านั้นนำความคิดสร้างสรรค์ของตน ค้นหาแหล่งเงินทุน และออกสู่ตลาดโลกได้หรือไม่?
อินเทอร์เน็ตเป็นระบบโครงสร้างพืินฐานที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่เหมาะกับการสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนความคิด ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์งานด้วยเช่นกัน การพัฒนานวัตกรรมเริ่มต้นที่การมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นๆ จะใหญ่หรือเล็ก และอินเทอร์เน็ตก็สามารถขยายศักยภาพนั้นๆ ได้ วันนี้ แพลทฟอร์มที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่ระดับโลกพร้อมแล้ว คำถามคือเราพร้อมหรือยัง?
โดย อริยะ พนมยงค์
Google ประเทศไทย
_______________
Innovation Thailand - An invitation for Thailand to step onto the global stage
Its a funny thing that since our office opened officially in Thailand last year, almost every journalist and business owner that I speak to, invariably asks the question, why Thailand? Why is Google investing in Thailand? What opportunities do we see in this market?
I say its a funny thing because I am always surprised at this question and my natural response is to answer by saying. ‘Why not Thailand?”. I believe in Thailand’s creative potential. And I’m certain that our country’s future growth depends on this creative potential as it never has before.
Together with our partner, the Department of Intellectual Property Protection, under the Ministry of Commerce, we recently launched ‘Innovation Thailand’, releasing the
Innovation Thailand Report
and presenting 7 awards to the first generation of Innovation Idols.
Innovation Thailand is an invitation to Thais to realize their full potential and we hope through the report and the
inspirational stories
of our Innovation Idols, we can inspire the next generation of Thai innovators to step onto the global stage and shine the spotlight on Thailand.
We need to unleash innovation across all sectors of the economy - encouraging Thais, of every age and from every corner of the country, to help build a culture of innovation that can move our country forward. The internet can enable this innovation; it can also help accelerate it.
Through extensive research as well as conversations with Thai innovators and thought leaders from across the country, the Innovation Thailand Report identified four drivers:
Access & Infrastructure:
the need for improved Internet access and IT infrastructure;
Education & Human Capital:
enhanced education and human capital development that ensures young people and today’s workers have the skills to be competitive in the global market;
Regulatory Environment:
a transparent and predictable regulatory environment with protections for digital content providers;
Distributed Access to Capital:
access to funding for Thai entrepreneurs
These drivers are simple, practical things. Things that we can change, if we work together . . .
Did you know there are still over 40 million Thais without access to the internet and the benefits it can bring. Are our future generations ready to join the global workforce and equipped with the skills they need to be successful? Are we making it easy for would be Thai innovators and entrepreneurs to operate within a transparent regulatory environment that helps them take their ideas, find funding for them, and export them to the world?
The Internet is the most effective infrastructure I know for creativity, for the exchange of ideas as well as for the creation of jobs. Innovation starts with an idea, no matter if its big or small, and the Internet amplifies it. Today, the platform to take Thailand to a global stage is ready, the question is are we?
Posted by Ariya Banomyong,
Country Head, Google Thailand
Zeitgeist 2555: พบกับคำค้นหายอดนิยมจากทั่วโลกและทั่วไทย ~ Zeitgeist 2012: What piqued your curiosity this year?
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Please scroll for English
ก่อนที่ปี 2555 จะจบลง มันคือช่วงเวลาที่เราจะเผยผลการค้นหายอดนิยมประจำปี (Zeitgeist) ครั้งที่ 12 ที่เป็นการมองโลกในเชิงลึกหรืออีกนัยหนึ่งเป็น “จิตวิญญาณแห่งกาลเวลา” ผ่านการค้นหาของผู้ใช้กว่าพันล้านคนที่ค้นหาบน Google ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา
บนเว็บไซต์
2012 Zeitgeist
คุณสามารถสำรวจกระเเสความนิยม หรือประเด็นสุดร้อนแรง ที่ผู้คนค้นหาจากทั่วโลกได้ โดยในปีนี้เราได้มีการอัพเดตข้อมูลจากทั่วโลกลงบนบนเว็บไซต์นี้ ด้วยจำนวนข้อมูลถึง 838 คำค้น จาก 55 ประเทศ เราได้เพิ่มจำนวนของหัวข้อ และฟีเจอร์ใหม่ๆ ลงไปด้วย รวมไปถึงแผนที่แบบอินเตอร์เเรคทีพซึ่งคอยแสดงตำแหน่ง สถานที่ และเวลาที่คำค้นหา เพิ่มขึ้นสูงสุด โดยสามารถใช้ผ่านโมบายล์แอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ Android (ในส่วนของระบบปฎิบัติการ iOS จะสามารถใช้งานได้ในเร็วๆ นี้)
สามารถมองย้อนไปดูเรื่องราวเเละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดปี 2555 ได้ที่วิดีโอนี้
คุณคิดว่าอะไรจะเป็นคำค้นหาที่อยู่ในใจผู้ใช้งานมากที่สุดในปีนี้? ขณะที่คำค้นหา อย่าง “What is love?” ติดอันดับสูงสุดใน 10 ประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่เกิดขึ้นในปี 2555
ซุปเปอร์สตาร์ระดับโลกอย่าง “Whitney Houston” ก็กลายเป็นบุคคลที่ถูกค้นหาจนชื่อของเธอติดอันดับ คำค้นยอดนิยมในหลายๆ ประเทศ เช่นเดียวกับ
three of our overall trending lists
การเสียชีวิต อย่างกระทันหันของเธอสร้างความประหลาดใจให้กับแฟนเพลงทั่วโลก และจากประเทศเกาหลี เพลง กังนัมสไตล์ ของ ไซ (
PSY’s “Gangnam Style”
) ก็สร้างปรากฎการณ์ ยอดวิวถล่มถลายบนยูทูป นั่นทำให้ชื่อเพลงของเขาขึ้นท๊อปชาร์ตในหลายๆ ประเทศ และทำให้เพลงของเขาขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 2 ของสุดยอดคำค้นในปีนี้ (โดยมิวสิกวิดีโอของไซมียอดวิวบนยูทูปสูงสุดเป็นประวัติการณ์)
นอกจากนี้ ยังมีสุดยอดมนุษย์ นักกระโดดร่มชาวออสเตรเลีย ชื่อ
Felix Baumgartner
ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 6 ของหมวดหมู่คนดังในปีนี้ ขณะที่
กีฬาโอลิมปิก 2012
และนักกีฬาจากหลากหลายชนิด ก็อยู่ใน กระเเสยอดนิยมในเกือบทุกประเทศ รวมถึงนักบาสฯ ในศึก NBA
เจเรมี่ หลิน
ก็ติดชาร์ตเข้ามาในปีนี้ เป็นอันดับ 1 ดาวรุ่งพุงเเรงของนักกีฬาทั่วโลก
ผู้คนค้นหาหรือวิจัยในหัวข้ออื่นๆ อีกมากมายเช่นกัน ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจกับเรื่องความเสี่ยง ที่จะมาสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ด้วยข้อเสนอหรือแนวทางที่คล้ายคลึงกับข้อเสนอของ SOPA (Stop Online Piracy Act หรือ พ.ร.บ. หยุดการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์) และ ACTA (Anti-Counterfeiting Trade Agreement หรือ ข้อตกลงทางการค้าว่าด้วยการต่อต้านการลอกเลียนแบบ) โดยอยู่ในรายชื่อคำที่มี การค้นหาอันดับต้นๆ ในหลายประเทศ การเลือกตั้งในสหรัฐนำมาซึ่งความสนใจต่อผู้สมัครและ ประเด็นการเลือกตั้งไม่น้อยไปกว่าแคมเปญหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่โด่งดังในเรื่องเกี่ยวกับ
มารยาททางการเมือง
และไม่น่าแปลกใจที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างพายุเฮอริเคน แซนดี้ จะเป็นคำ ที่ได้รับการค้นหาสูงมากเช่นกัน (อันดับที่ 3 ในหมวดคำค้นพุ่งแรงจากทั่วโลก) ซึ่งทำให้คำค้นอย่าง [
donate to Sandy - บริจาคให้ผู้ประสบภัยพายุแซนดี้]
พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
Google ประเทศไทยเผยคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2555 ~
“แรงเงา” กับ “Gangnam style” คว้าตำแหน่งดาวรุ่งพุ่งแรง
4shared ยังเป็นสุดยอดคำค้นหาต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยที่สะท้อนพฤติกรรมคนไทยในยุคดิจิตอล ที่ชื่นชอบการเเชร์ไฟล์ผ่านออนไลน์ ที่ง่ายและ สะดวก นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นบอทแชทกวนๆ อย่าง Simsimi Instragram และ Line ที่อยู่ในความสนใจ เรียกได้ว่าคนไทยเกาะติดทุกเทรนด์อยู่ตลอดเวลา
ด้านวงการบันเทิงปีนี้ไม่น้อยหน้า “แรงเงา” ละครที่สร้างกระเเสบนโลกออนไลน์ได้มากที่สุด และสะท้อนพฤติกรรม 4 screen ของคนไทย คือดูทีวีไปพร้อมกับโซเชียลบน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือแท็ปเล็ต ไปพร้อมกัน เชื่อมโลกเเห่งการสื่อสารได้อย่างชัดเจน
ติดตามดูผลการค้นหาประจำปีจากชาวไทย และเชิญพูดคุยกันต่อ
ได้ที่
google.com/+googlethailand
เราหวังว่าคุณจะเพลิดเพลินไปกับสิ่งต่างๆ ที่คนทั่วโลกค้นหาในเว็บไซต์ Google ในปี 2555 มันการผสมผสานความของความรู้สึกสั้นๆ ง่ายๆ เร็วๆ เช่น ความรู้สึกผิด ความพอใจ และความต้องการสูงสุดที่ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์
โพสต์โดย เอมิต ซิงฮัล รองประธานอาวุโสและผุ้เชี่ยวชาญ Google
_____________________________________________________
Zeitgeist 2012: What piqued your curiosity this year?
As 2012 comes to a close, it's time for our 12th annual Year-End Zeitgeist—an in-depth look at the "spirit of the times" as seen through the billions of searches on Google over the past year.
On our
2012 Zeitgeist website
, you can explore the most popular and hottest trending search terms from around the world. This year’s site is our most global to date, with a total of 838 lists from 55 countries. We’ve also added a number of new topics and features, including an interactive map that shows where and when the hottest terms spiked around the world, and a dedicated mobile app for
Android
(and an iOS version coming soon too).
For a round-the-globe tour through 2012, take a look at our video (see above)
So what kinds of things were top of mind this year? While there are perennial themes—“what is love?” topped the list in 10 countries—it’s the unusual and surprising that caught our attention in 2012.
Global superstar Whitney Houston topped many countries’ lists as well as
three of our overall trending lists
—her unexpected death surprising fans around the world. From Korea, YouTube sensation
PSY’s “Gangnam Style”
signature dance took the world by storm, landing him the #1 spot in many countries and making his song the second most trending query of 2012. (PSY’s video became the #1 most watched in YouTube history—stay tuned for YouTube’s Rewind for more.)
Then there was the superhuman. Austrian skydiver
Felix Baumgartner’s
epic free fall jump made him the #6 globally trending person of the year, while the
2012 Olympics
and its various athletes made it into almost every country’s top trends. And NBA player
Jeremy Lin
also rose on the charts this year, making him the #1 trending athlete globally.
People researched a breadth of other topics, too. Web users took a serious interest in threats to the open Internet, with proposals like SOPA and ACTA both finding their way to the top of many countries’ lists. The U.S. elections brought attention to the candidates and issues, not least the presidential campaigns’ most notorious
political gaffes
. And while it might not be surprising to see that tragic natural disasters like Hurricane Sandy ranked highly (#3 on the global trending list), it is reassuring to find searches like [
donate to Sandy]
spiking as well.
Google reveals Thailand's hottest search terms in 2012
with 'Rang Nao' and Gangnam Style stealing the top spots for fastest rising searches of the year
For the third consecutive year 4shared has topped Thailand’s search terms, reflecting the continued shift towards all things digital, from easy online file sharing services to free communications apps like Simsimi, Instagram and Line. Thais embrace internet technologies across all ages and this year its clear the ‘always on’ trend in Thailand is here to stay.
Entertainment searches were also in the spotlight this year with the Thai TV drama series ‘Rang Ngao’ taking over the internet two nights a week as viewers turned online to share, comment, discuss and even complain about the plot, the actors, the actresses and just about everything else. Thais are truly 4 screen consumers, watching TV while simultaneously interacting with multiple devices including computers, laptops, smartphones and tablets. 2012 was a year when search showed us just how connected we really are.
For a closer look at Thailand’s year in search please visit
google.com/+googlethailand
and join the conversation
We hope you enjoy exploring what people around the world were searching for in 2012. It’s quite a snapshot of what makes us human: a blend of guilty pleasures and higher pursuits.
Posted by
Amit Singhal
, SVP & Google Fellow
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีกพันล้านคนต่อไป ~ The next billion Internet users
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Please scroll for English
เราคาดการณ์ว่า ในปี 2010 - 2015 จะมีผู้คนจากตลาดเกิดใหม่กว่า 1,000 ล้านรายตบเท้าก้าวเข้าสู่ โลกออนไลน์เป็นครั้งแรก ในขณะที่ผู้ใช้เว็บหน้าใหม่เหล่านี้จะแตกต่างจากผู้ใช้เว็บในประเทศ ที่พัฒนาแล้วหลายๆ ด้าน รวมถึงความจริงที่ว่าพวกเขาอาจจะเข้าเว็บเป็นครั้งแรกจากโทรศัพท์มือถือ ซึ่งพวกเขาจะร่วมกับ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีก 2,000 ล้านรายก่อนหน้า ในการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม ตลอดจนขยายธุรกิจผ่านออนไลน์
เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา
เ
ราได้จัดงานแถลงข่าวขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการเติบโตของอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และสิ่งที่ Google จะทำ ในการสนับสนุนพลเมืองเว็บเกิดใหม่เหล่านี้
เนลสัน แมตโต รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และวิศวกรรมในยุโรปและตลาดเกิดใหม่ กล่าวถึง
ความพยายามในการทำให้อินเทอร์เน็ตมีความเร็วมากขึ้นและราคาถูกลงกว่าเดิม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน รวมถึงโครงการ
Free Zone powered by Google
ในสถานที่ต่างๆ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งให้บริการฟรี สำหรับการใช้งาน Google Search, Gmail, และ Google+ บนโทรศัพท์มือถือแบบธรรมดา นอกจากนี้เนลสันยังได้พูดเกี่ยวถึงเครื่องมือใหม่ที่จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลท้องถิ่น บนเว็บมีความง่ายมากขึ้น รวมไปถึงแนะนำการใช้ Google+ Page สำหรับธุรกิจ และ
Google Trader
ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจ SMBs สามารถโพสต์ขายสินค้าได้โดยไม่ต้องสร้างเว็บไซต์ขายของให้วุ่นวาย
ลลิต กาตรากัดดา, หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ, ผลิตภัณฑ์ในอินเดีย กล่าวเสริมเกี่ยวกับความต้องการในการ รับประสบการณ์ด้านภาพสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น เช่นเดียวกับ ที่นำเสนอผ่าน YouTube และแฮงคเอาท์ ของ Google+ และวิธีการต่างๆ ของบริการเหล่านี้ที่ทำให้อินเทอร์เน็ตก้าวข้ามขีดจำกัด ทางด้านภาษาและวัฒนธรรม นอกจากนี้เขายังได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิธีการทำตลาดแบบ Crowdsourcing ที่กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเว็บ ที่จะต้องมีความเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ กับผู้ใช้ในตลาดเกิดใหม่เหล่านี้
Google Map Maker
คือตัวอย่างหนึ่ง ที่อาศัยนักเขียนแผนที่พลเมือง เป็นผู้ขีดเขียนโลกของพวกเขาเอง และตั้งแต่การเริ่มโครงการในอินเดีย ก็ได้กลายเป็นแนวทาง ในการสร้างแผนที่ของทวีปย่อยที่ดีกว่าเดิม และมันได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการรับมือต่อภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้ง
กลายเป็นผู้ช่วยในหลายๆ ความพยายามในการช่วยเหลือของยูเอ็น
(UN)
ท้ายสุด อดัม สมิธ หัวหน้าของ YouTube ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า วิดีโอออนไลน์จะช่วย ตลาดเกิดใหม่มีปากมีเสียงมากขึ้น สามารถช่วยการเผยแพร่ และอนุรักษ์วัฒนธรรมได้ ยกตัวอย่างเช่น คนอินเดียสามารถชมภาพยนตร์ Tollywood ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาเตลูกูได้ แม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศอินเดีย หรือชมวิดีโอสอนทำอาหารมังสวิรัติ รวมถึงมิวสิควิดีโอเพลงของ ไซ (PSY)' - ซุเปอร์สตาร์จากเกาหลีที่มี
ยอดวิวบน YouTube มากที่สุด ภายในเวลา 6 เดือน - ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิดีโอออนไลน์ทำให้เรามองเห็นถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้
ด้วยจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอีก 1,000 ล้านรายที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ ทำให้ตลาดซื้อขาย สินค้าทั่วโลกมีแนวโน้มจะโตสูงขึ้นจาก 2,000 เป็น 3,000 ล้านรายซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้คนอีก 1,000 ล้านราย จะสามารถมีส่วนร่วม และได้รับผลประโยชน์จากไอเดียสร้างสรรค์ระดับโลก “Gangnam Style” พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าปรากฏการณ์ด้านความบันเทิงระดับโลกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา คราวหน้า อาจเป็น ภาพยนตร์จาก Bollywood หรือ Tollywood ของอินเดีย หรือเว็บไซต์สอนหนังสือออนไลน์อย่าง Khan Academy? ที่มาพร้อมระบบการเรียนการสอนที่ดีที่สุดของโลกที่ตั้งอยู่ในเอเชีย มันเป็นการเดิมพันที่คุ้มค่า และยังมีอะไรที่น่าเรียนรู้จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีก 1,000 ล้านรายที่กำลังจะเดินเข้าสู่โลกออนไลน์
หรือมันอาจไม่ใช่แค่ความบันเทิง และการศึกษาอีกต่อไป - มันอาจเปลี่ยนแปลงโลกของธุรกิจที่คุณรู้จัก และกลายเป็นหนทางใหม่ที่ดีกว่าในการป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เเพร่กระจาย อินเทอร์เน็ตนำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ มาสู่เราเสมอ ขณะเดียวกันก็เชื่อมพวกเราทั้งหมดให้ใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิม
เขียนโดย จูเลี่ยน เพอร์ซูด กรรมการผู้จัดการ, Google เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
____________
From 2010 to 2015, we estimate that one billion people from emerging markets will get online for the first time. While these new web users will be unlike those from developed countries in many ways, including the fact that they’ll probably access the web for the first time from a mobile device, they’ll share with the first two billion Internet users the desire to preserve and promote their culture and grow their businesses online.
On Dec 3,
we held a press event in Singapore to discuss this shifting Internet landscape and what Google is doing to support these new citizens of the web.
Nelson Mattos, Vice President of Product & Engineering for Europe and Emerging Markets, talked about efforts to make the Internet faster and cheaper to drive adoption. This includes
Free Zone powered by Google
, in places such as the Philippines, which provides free access to Google Search, Gmail, and Google+ on feature phones. Nelson also talked about new tools to make it easier to get more local information onto the web, including Google+ pages for businesses, and
Trader
, which lets SMBs post goods for sale without needing a separate website.
Lalit Katragadda, Country Head, India Product, later spoke of the need for a more visual Internet experience, like that offered by YouTube and Google+ Hangouts, and how these services will make the Internet more engaging across language and cultural barriers. He also talked about how crowdsourcing will be critical to building a web that will be relevant and useful for these new emerging market users.
Google Map Maker
, for example, relies on citizen cartographers to map their world, and since starting in India as a way to make better maps of the subcontinent, it has become an important part of crisis response including
efforts from the United Nations.
Finally Adam Smith, Head of YouTube in Asia Pacific, discussed how online video gives emerging market users a voice and helps spread and preserve culture. Telugu content lovers no longer have to be in India to watch their favorite Tollywood films or vegetarian cooking videos. And PSY — from Korean local star to the most-watched YouTube video of all time in just six months — shows how global culture now better reflects the true diversity of the globe.
With a billion more Internet users coming online, the global marketplace for ideas will grow from two to three billion people — that means a billion more people contributing and benefiting from the world’s best ideas, talents and more. “Gangnam Style” proves that the next big global entertainment phenomenon can come from anywhere. Next time, it might be from India’s Bollywood or Tollywood film industries. And what about the next Khan Academy? With many of the world’s best education systems located in Asia, it is a safe bet there is plenty to learn from the next billion people coming online.
Or, it may not be entertainment or education at all — it may be a world-changing business insight or a better way to prevent the spread of disease. The Internet's about to get a lot larger, while at the same time bringing us all closer together.
Posted by
Julian Persaud, Managing Director, Southeast Asia
การรวมตัวของภาพจากกลุ่มคนรักแฟชั่น ครั้งประวัติศาสตร์ Bangkok Fashion Walk on Google+ with Cheeze
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
แฟชั่น และ การถ่ายรูป มิใช่เรื่องสำหรับนางแบบที่อยู่บน Catwalk หรือ สำหรับดาราโพสต์ท่าบนพรมแดง อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันของพวกเรา บ่อยครั้งที่เรามองไปทางไหน ก็เห็นผู้คนแต่งตัวเก๋ไก๋ โพสต์ท่าถ่ายรูปอย่างมีสไตล์อยู่ตามจุดต่าง ๆ บนท้องถนนทั่วไป
แฟชั่นจากแต่ละที่ แต่ละเมือง มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป แฟชั่นจากปารีส แตกต่างจากสตรีทแฟชั่นจาก นิวยอร์ค แฟชั่นฮาราจูกุ ก็มีเอกลักษณ์ที่ไม่แพ้กัน แล้วพวกเราชาวกรุงเทพมีแฟชั่นแบบไหนกันหนอ
Google+
ร่วมกับ
Cheeze Magazine
อยากชวนพวกเราชาวแฟชั่น ร่วมโครงการ
Bangkok Fashion Walk on Google+ with Cheeze
ร่วมกันถ่ายของพวกเราทุก ๆ คน ร่วมแชร์ไสตล์ความเป็น Bangkok Street Fashion และ มารวมรูปภาพโชวร์สไตล์ของพวกเราไว้ที่ #BKKFashionWalk นอกจากเป็นการรวมพลังแฟชั่นแล้ว ยังเป็นการค้นหานางแบบ นายแบบหน้าใหม่ ขึ้นปกนิตยสาร Cheeze ในเดือน เมษายน 2556 และ ระหว่างนี้ ยังมีกิจกรรม Photo Walk ให้มาร่วมสนุกกันอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งวันเสาร์ ที่ 1 ธันวาคมนี้ ขอเชิญพวกเราทุกคน รวมพลังแฟชั่นเมืองไทย โชว์ให้ทั่วโลกเห็น ลุกมาแต่งตัว และ เจอกันที จตุจักร โครงการ 1 ซอย 26 เวลา 15.00 - 17.00 เราจะมาเปลี่ยนจตุจักรให้กลายเป็น Runway กัน กิจกรรมสนุก พร้อม ของรางวัลอีกมากมาย รอคุณอยู่ ลงทะเบียนร่วมงานได้
ที่นี่
นอกจากนี้ ใครที่พลาดร่วมงาน แต่อยากร่วมชมการรวมภาพถ่ายแฟชั่นครั้งยิ่งใหญ่ รอติดตามได้ที่เดียวกัน
ติดตามข่าวสาร และ ร่วมแชร์เรื่องราวแฟชั่น ของคุณได้ที่ www.plus.google.com/+CheezeMagazine
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
http://www.google.com/+CheezeMagazine
Google+ สร้างปรากฎการณ์ทางดนตรีครั้งยิ่งใหญ่กับเมืองไทย - เพียงคุณรักในเสียงดนตรีและมีความสามารถ ความฝันอยู่ใกล้เเค่เอื้อม
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เมื่อเร็วๆ นี้ หลายคนที่ติดตามข่าวสารของเผ่าพันธ์คนดนตรีชื่อ Iconic Records คงได้มันส์และรู้จักกับพวกเขาไปบ้างแล้ว นำโดย หนุ่ม โดม ปกรณ์ ลัม ผู้ก่อตั้งและศิลปินหัวหน้าเผ่า Iconic Records อีกทั้งวง Mummy Daddy ที่นำเสนอแนวเพลงที่แหวกแนว วง New Old Stock กับซิงเกิลใหม่ วง The Poison กับ 3 สาว เมทัล เพจพลอย แป๋ม ที่เปรี้ยวซ่าครบรส และปิดท้ายด้วย หนุ่มแรปเปอร์ มาร์โค เมาเร่อ ที่มาโยกย้ายส่ายเอวให้ใครๆ ได้กรี๊ดกัน
เผ่าพันธ์ดนตรีน้องใหม่ Iconic Records
แต่เท่านั้นยังไม่พอ Iconic Records และ Google ประเทศไทย ได้จับมือกัน ร่วมสานฝันทางดนตรีให้กับทุกๆ คน
ใครมีที่ฝัน + ความสามารถ เตรียมตบเท้าเข้าสู่ยุคใหม่ของโลกดนตรี กับแคมเปญ “Iconic Online Audition on Google+” เพื่อร่วมเป็นหนึ่งในศิลปินของ Iconic Records ด้วยการทำออดิชั่นผ่าน Google+ แฮงเอาท์ เปิดโอกาสให้กับทุก คนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดโลก สามารถแสดงพลังเสียง ฝีมือทางดนตรีและบรรยากาศมันส์ๆ ให้แฟนๆ ได้สัมผัสกันแบบสดๆ
ร่วมล่าฝันไปกับ Iconic Records ง่ายๆ ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ที่
www.iconicrecord.com/onlineaudition
จากความร่วมมือกับเผ่าพันธ์ใหม่แห่งคนดนตรี “Iconic Records” ที่นำโดย หนุ่ม โดมปกรณ์ ลัม กับ Google ประเทศไทย วันนี้โซเชียลแพลทฟอร์ม Google+ ที่มีความโดดเด่นทางด้านดนตรีอยู่เเล้ว โดยเฉพาะ Studio Mode ที่เป็นที่ชื่นชอบของศิลปินต่างๆ ได้แสดงศักยภาพออกมาเต็มที่ เชื่อมโลกดนตรีกับผู้ฟังคนไทยให้ใกล้ชิดกันกว่าเดิม
แคมเปญ Iconic Online Audition on Google+
เชิญชวนทุกคนที่มีความสามารถ มาร่วมแสดงผลงานทางดนตรี เพื่อร่วมเป็นศิลปิน
ผู้ที่สนใจต้องการแสดงความสามารถทางดนตรี เข้าร่วมแคมเปญ “Iconic Online Audition on Google+” ได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม โดยติดตาม
Iconic Records
หรือ
Dome Pakorn Lam
บน
Google+
และแชร์คลิปผลงานดนตรีด้วยแฮชแท็ก (hashtag) #IconicAudition คุณสามารถร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจากห้องนอน โรงรถ หรือแม้กระทั่งมาร้องสดๆ ที่ Iconic Audition Studio ชั้น 1 Digital Gateway เราเตรียมอุปกรณ์เครื่องดนตรีไว้อย่างครบครัน พร้อมส่งผลงานได้ทันที
Iconic Audition studio ที่ ชั้น 1 ดิจิตอลเกตเวย์ เปิดทุกคนได้โชว์ความสามารถเเล้วตั้งเเต่วันนี้เป็นต้นไป
โดยการออดิชั่นจะจัดขึ้น 2 รอบ ในวันที่ 13 และ 19 มกราคม 2556 นักดนตรีจะทำการแสดงสด พร้อมกับการถ่ายทอดสดผ่านออนไลน์ไปทั่วโลก ผู้ชนะจะได้เป็นศิลปินร่วมสร้างสรรค์ผลงานเพลงกับ Iconic Records ต่อไป
ผลงานเด่น 20 อันดับแรก จะถูกเผยแพร่และคัดเลือกจากความนิยมด้วยออนไลน์ และทำการออดิชั่นกับคณะกรรมการผู้ร่วมตัดสินการประกวดระดับโลก ได้แก่ 1) โดม ปกรณ์ ลัม 2) ไซม่อน เฮนเดอร์สัน (Simon Henderson) โปรดิวเซอร์ชื่อดังจากเกาะอังกฤษ 3) จามิล แคสมี่ (Jamil Kazmi) นักร้องฮิปฮอบระดับโลกจากญี่ปุ่น 4) อลัน รอย สก็อตต์ (Alan Roy Scott) โปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงชื่อดังจากฮอลลีวู้ด และ 5) คอลลีน ซูเลียน (Colleen Zulian) เจ้าของค่าย Plus Six One ที่ดูแลศิลปินดังๆ ทั่วโลก
ปกรณ์ ลัม (โดม) ผู้บริหารค่าย Iconic Records
“ทุกวันนี้คนเสพย์ความบันเทิงจากดนตรีทางออนไลน์มากกว่าที่เคยเป็น Iconic Records ต้องการนำเทคโนโลยีมาเปิดโอกาสให้คนที่มีความสามารถได้แสดงให้คนทั่วโลกได้รับรู้และชื่นชมผ่านออนไลน์ ด้วยความสามารถของ Google+ ที่ชุมชนคนดนตรีทั่วโลกชื่นชอบโดยเฉพาะฟีเจอร์ที่ให้ทุกคนได้แบ่งปัน ได้
แฮงเอาท์กันได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้ นี่่จะเปลี่ยนการรับรู้เรื่องดนตรีของผม และทุกคนอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกหากคุณเจ๋งจริง ก็สามารถเป็นศิลปินของค่าย Iconic Records ได้ไม่ยากเลย”
Google+ แฮงเอาท์
ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการเชื่อมต่อที่ง่ายอย่างไม่เคยมีมาก่อน แฮงเอาท์สามารถพูดคุยแบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือเเบบเป็นกลุ่มได้ คล้ายกับการแชตผ่านวิดีโอ โดยรองรับผู้ใช้งานได้สูงสุดถึง 10 คน และทำให้ผู้ชมสามารถใช้งานผ่านสตรีมมิ่งได้พร้อมๆ กันแบบสดๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตามด้วยพลังของเว็บ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีนี้รองรับอุปกรณ์และแบนด์วิธ (ความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต) ที่หลากหลาย รวมทั้งใช้ได้กับภาษาต่างๆ มากมาย แต่ที่เจ๋งที่สุดคือไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
Google รู้สึกยินดีและตื่นเต้นมากที่ Iconic Record เห็นประโยชน์และนำแพลทฟอร์ม Google+ และฟีเจอร์ Google+ แฮงเอาท์ (Hangout) มาเป็นเครื่องมือคัดเลือกศิลปินหน้าใหม่ประดับวงการดนตรีเมืองไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการริเริ่มในวันนี้ จะเป็นตัวจุดประกายให้กับคนไทย นักดนตรี หรือองค์กร หันมาให้ความสำคัญกับการใช้โซเชียลแพลทฟอร์มอย่าง Google+ เต็มรูปแบบมากขึ้น
โอกาสอยู่ในมือคุณแล้ว!!
ร่วมค้นหาตัวตนในด้านดนตรี โดยติดตาม
Iconic Records
และ
Dome Pakorn Lam
ที่ Google+, เว็บไซต์
www.iconicrecord.com/onlineaudition
อีเมล์
iconic.audition@gmail.com
หรือโทรศัพท์ 082 986 4450
โพสต์โดย พรทิพย์ กองชุน
หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย
แบ่งปันข้อมูลของคุณจาก Google Drive ง่ายๆ ไปยังหน้า Google+
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
English
ด้วยความสามารถของ Google+ ช่วยให้คุณสามารถแบ่งปันทุกสิ่งที่คุณต้องการไปยังเพื่อนคน ที่คุณต้องการได้ อาจเป็นภาพถ่ายจากการไปผจญภัยในวันหยุด สุดสัปดาห์ หรือบทความจากบล็อกโพสต์ที่คุณชื่นชอบ เริ่มแล้ววันนี้ ให้คุณสามารถแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมา และอยู่ใน Google Drive ได้ โดยที่เพื่อนๆ คุณสามารถดูพรีเซ็นเทชั่น เปิดไฟล์ PDFs เล่นวิดีโอ หรือ
อื่นๆ
ได้โดยตรงจากหน้าสตรีมของ Google+ ได้
(
คลิก
เพื่อชมพรีเซ็นเทชั่นในหน้าสตรีม)
(
click
to view a presentation in the stream)
เริ่มต้นง่ายๆ แค่คลิกที่ไอคอน Google+ เมื่อคุณคลิกที่การแบ่งปันจาก Drive หรือคัดลอกพร้อมวางลิงก์ ของไฟล์นั้นๆ จาก Google Drive ไปใส่ไว้ในโพสต์บน Google+ ของคุณ
โพสต์โดย ลี่ เว่ย ลี วิศกรซอร์ฟแวร์
ครั้งแรกกับการอบรม Google Classroom ในประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สำหรับผู้ที่สนใจด้านการตลาดออนไลน์ หรือเอเจนซี่ที่ให้บริการด้านการตลาดออนไลน์ให้กับลูกค้า ตอนนี้การอบรม Google Classroom ได้มาเปิดสอนแล้วในประเทศไทย โดยการอบรมจะครอบคลุม 2 หลักสูตรที่สามารถเลือกเรียนได้ คือ Google AdWords และ Google Analytics ซึ่งจะมีเนื้อหาครบถ้วนเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมและสามารถไปสอบ Google Certification Program หลักจบการอบรมได้ทันที
ใครควรเข้าอบรม
นักการตลาดและเอเจนซี่ที่ทำด้านการตลาดออนไลน์
ผู้ที่สนใจด้านการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา (SEM) หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO)
บริษัทให้คำปรึกษาด้านการตลาด
webmaster และนักพัฒนาเว็บไซต์ที่สนใจด้านการทำโฆษณาออนไลน์
เอเจนซี่ที่อยู่ในโปรแกรม Google Engage
รอบวันที่ 11-12 และ 17-19 ธันวาคม 2555 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการอบรม กรุณาไปที่
http://www.marvelic.co.th/google-classroom
สำหรับสมาชิกโปรแกรม Google Engage รับส่วนลด 90% ทันที (สมัครเข้าร่วมโปรแกรม Google Engage ได้
ที่นี่
)
ท่องโลกไปพร้อมกับฟีเจอร์นำเที่ยว และภาพ 3 มิติใหม่ ใน Google Earth 7
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
English
ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราได้เปิดตัว
Google Earth สำหรับโทรศัพท์มือถือ
ที่ให้ผู้ใช้ได้ชมเมืองในแบบ 3 มิติ และฟีเจอร์ใหม่คู่มือท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้คุณได้พบกับสถานที่ที่น่าสนใจมากมายระหว่างการสำรวจ นับตั้งเเต่วันนี้ คุณสามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ทั้ง 2 อย่างนี้ได้บนหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น เพียงดาวน์โหลด
Google Earth 7
มาไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณ เพียงแค่นี้คุณก็จะสำรวจเมืองต่างๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และลองตรวจความถูกต้องดูสิว่าสถานที่ที่มีชื่อเสียงกว่า 11,000 แห่งรวมไปถึงเมืองต่างๆ ทั่วโลก ที่เราเพิ่งจะเพิ่มภาพ 3 มิติ ลงไปมีความเเม่นยำและครอบคลุมมากเพียงใด
ฟีเจอร์คู่มือท่องเที่ยวใหม่ใน Google Earth 7
ฟีเจอร์
คู่มือท่องเที่ยว
นี้จะเป็นเสมือนไกด์ที่เชี่ยวชาญข้อมูลในท้องถิ่นนั้นๆ คอยแนะนำสถานที่น่าสนใจ ในละแวกที่คุณไปสำรวจ และช่วยให้คุณทราบข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับพื้นที่ใดก็ตามที่คุณกำลังชมผ่าน Google Earth จะปรากฎรูปภาพขนาดเล็กในพื้นที่เดียวกัน โดยจะอัปเดต (Dynamical update) ขึ้นมาด้านล่างหน้าจอคุณ แค่คลิ๊กเดียว คุณจะได้บินท่องไปมา กับหลากสถานที่ที่มีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมได้อย่างใกล้ชิด ได้ศึกษาข้อเท็จจริงจาก Wikipedia จะปรากฏบนหน้าจอคุณเหมือนคุณบินอยู่รอบๆ สถานที่เหล่านั้น เช่น กำแพงเมืองจีน สโตนเฮนจ์ และสถานที่สำคัญอื่นๆ อีกมากมาย
ภาพถ่าย 3 มิติ ใหม่ของเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน
นอกจากนี้ Google Earth 7 ยังครอบคลุมไปถึงภาพ 3 มิติที่มีความแม่นยำ ที่เราได้เปิดให้ใช้งานไปแล้ว บน
Android
และ
iOS
โดยมีชุดภาพถ่ายเมืองโบลเดอร์, บอสตัน, ชาร์ลอตต์, เดนเวอร์, ลอว์เรนซ์, ลองบีช, ลอสแองเจลลีส, พอร์ตแลนด์, ซานแอนโทนีโอ, ซานดิเอโก, ซานตา ครูซ, ซีแอตเติล,แทมป้า, ทัคซัน, กรุงโรม และอ่าวซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา (รวมถึงเพนนินซูล่าและอ่าวฝั่งตะวันออก) และในวันนี้เรากำลังจะเพิ่มชุดภาพถ่าย 3 มิติสำหรับอุปกรณ์มือถือในเมืองใหญ่ในภูมิภาคอื่นๆ เช่น เมืองอาวิยอง ประเทศฝรั่งเศส, เมืองออสติน รัฐเท็กซัส, เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน, เมืองฟีนิกซ์ รัฐอะริโซนา และเมืองมานน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งประสบการณ์ที่ได้จากการบินผ่านพื้นที่เหล่านี้ ได้มองเห็นภาพอาคารสูง ภูมิประเทศที่งดงามและแม้แต่ต้นไม้ในแบบ 3 มิติ บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ และเดสก์ท็อปช่วยให้ทุกการเดินทางของคุณเสมือนจริงมากขึ้นกว่าที่เคย
ดาวน์โหลด
Google Earth 7
และเช็คข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
Google Earth
โพสต์โดย ปีเตอร์ เบิร์ช, ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ Google Earth
เพิ่มภาพ Photo Sphere เก๋ๆ ของคุณใน Google แผนที่ ไปกับแอนดรอยด์ 4.2
วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
English
จำครั้งล่าสุดที่คุณไปปีนเขา และขึ้นไปยังจุดชมวิวสวยๆ บนยอด พร้อมหยิบกล้องออกมา แชะๆ ถ่ายรูปได้ไหม? โอกาสที่จะได้ไปนั้นไม่บ่อยนัก และภาพถ่ายก็ไม่สามารถถ่ายทอดความประทับใจได้ของคุณได้อย่างเต็มที่ ประสบการณ์สุดยอดบนจุดสูงที่สุด ภาพที่โอบล้อมไปด้วยทิวเขา ท้องฟ้าสีครามสดใส พร้อมกับภูมิทัศน์ที่งดงามของหินผาที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าคุณ
ตอนนี้ ด้วยความสามารถของ Photo Sphere คุณสมบัติใหม่ของกล้องถ่ายรูปบนระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์ 4.2 Jelly bean
คุณสามารถถ่ายภาพพาโนรามาได้ทั้งแนวตั้ง แนวนอน หรือถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์การบันทึกภาพในแบบ 360 องศา
View Larger Map
ดื่มด่ำไปกับภาพความประทับใจแบบ 360 องศา ของน้ำตกที่สวยงาม (Vernal Falls) ใน
อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี
คุณสามารถแบ่งบันรูปภาพ Photo Spheres ไปยัง Google แผนที่ เพื่อเปิดโลกทัศน์สถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามที่คุณชื่นชอบ นอกจากนี้ภาพถ่ายของคุณยังช่วยให้ Google แผนที่ มีรายละเอียดที่ครอบคลุม และใช้งานได้ดียิ่งขึ้น กับนักท่องเที่ยวเวลาที่พวกเขาต้องการเห็นสถานที่จริงๆ ก่อนเดินทางไปถึงได้
ไอคอนวงกลมสีฟ้าแสดงให้เห็นถึงสถานที่ที่มีผู้ใช้งานแบ่งปันรูปภาพจาก Photo Sphere มายัง Google แผนที่ นอกจากนี้ยังสามารถพบเจอได้ที่
เว็บไซต์นี้
ที่รวบรวมภาพถ่ายที่เหลือเชื่อและมีความน่าสนใจไว้มากมาย ที่ได้มาจากช่างภาพมืออาชีพทั่วโลก การแท็คจุดสำคัญของ Photo Spheres จะเชื่อมไปยังหน้าโปร์ไฟล์บน Google+ คุณ เมื่อคลิกเลือกแบ่งปัน Google แผนที่ แน่นอนว่า คุณยังสามารถแบ่งปันภาพถ่ายเหล่านี้ไปยังเพื่อนๆ และ คนในครอบครัวผ่านแวดวงต่างๆ ใน Google+
คลิกดูที่ไอคอนวงกลมสีฟ้า จะเห็นวภาพพาโนราม่าต่างๆ ที่ผู้ใช้สร้างไว้บน Google แผนที่
ไม่ว่าคุณจะต้องการแสดงสถานที่ที่คุณชื่นชอบ โชว์ทักษะการถ่ายภาพ หรือช่วยผู้ใช้งาน Google แผนที่ คนอื่นๆ ได้เห็น และสัมผัสประสบการณ์ในสถานที่เดียวกัน ร่วมแบ่งปัน Photo Sphere ของคุณได้แล้วตอนนี้ เพียงแค่ใช้งานอุปกรณ์แอนดรอยด์!
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง Photo Spheres ได้จากที่
นี่
เราอดใจไม่ไหวเเล้วที่จะได้เห็นภาพสถานที่ต่างๆ ที่คุณชื่นชอบใน Google แผนที่!
โพสต์โดย อีวาน ราโพพอร์ต ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ Google แผนที่
Nexus นวัตกรรมจาก Google พร้อมใช้ใน 3 ขนาดเเล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
English
คนเราเดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์โมบายส์มากกว่าหนึ่งชิ้นกันเเล้ว และก็สลับใช้ไปมาอยู่ตลอดเวลา Nexus คือ ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดเเวร์ของ Google สำหรับเป็นอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ โดยขจัดความยุ่งยากทั้งหมดทั้งมวลออกไป เพียงเเค่คุณลงชื่อเข้าใช้จากบัญชี Gmail ทุกสิ่งก็พร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะกำลังใช้งาน รูปภาพ อีเมล์ รายชื่อผู้ติดต่อ บุ๊คมาร์ค หรือเเม้แต่ความบันเทิงใน Google Play
วันนี้ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งในการแนะนำ 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ในตระกูล Nexus ในรุ่นแบบเล็กจิ๋ว รุ่นปานกลาง และรุ่นพี่ใหญ่บึ้ม ซึ่งทั้ง 3 อุปกรณ์ทำงานบนระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยด์ 4.2 ใหม่ Jelly Bean ที่มาพร้อมกับ Google Now เวอร์ชั่นล่าสุด และฟีเจอร์ที่น่าสนใจอีกมากมาย
Nexus 4 ที่มาพร้อมกับ Google Now และ Photo Sphere
Nexus 4 คือ สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดของเรา ที่พัฒนาร่วมกันกับบริษัท LG มันทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยประสิทธิภาพจากชิป Quad-core มีหน้าจอขนาด 4.7 นิ้ว ความละเอียดที่ 320 พิกเซลต่อนิ้ว (PPI) มอบประสบการณ์การรับชมที่ยอดเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอบน YouTube และการชาร์จแบตในแบบไร้สายเพียงแค่คุณวางโทรศัพท์ลงบนแท่นชาร์จเท่านั้น ไม่ต้องต่อสายใดๆ ให้ยุ่งยาก
Nexus คือผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างครบครัน มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดของระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ 4.2 Jelly Bean ซึ่งยังเป็นเวอร์ชั่นที่ใช้งานง่ายและมีความอัจฉริยะมากที่สุดอีกด้วย
เริ่มด้วยกล้องถ่ายรูป ที่เรามีการปรับโฉมการทำงานใหม่เพื่อประสบการณ์เกี่ยวกับรูป ด้วยฟีเจอร์
Photo Sphere
ที่จะทำให้กล้องถ่ายรูปบนโทรศัพท์มือถือสามารถถ่ายภาพได้ในมุมกว้างพิเศษ ได้ในทุกทิศทาง สร้างประสบการณ์การเก็บภาพพาโนรามาแบบ 360 องศา เพื่อแบ่งปันกับเพื่อนๆ บน Google+ หรือเพิ่มลงใน Google แผนที่ก็ได้ สำหรับให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลกได้ชมทั่วกัน
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2 มาพร้อมสารพัดประโยชน์อีกมากมาย อาทิ (Gesture Typing) ระบบ keyboard ที่ให้คุณพิมพ์ข้อความด้วยการลากนิ้วไปตามตัวอักษร ซึ่งจะช่วยให้คุณลากนิ้วไปมา ระหว่างตัวอักษรต่างๆ ที่ต้องการพิมพ์บนแป้น ช่วยให้การพิมพ์เร็วขึ้น สนุกขึ้น และง่ายมากขึ้นสุดๆ และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2 ยังเพิ่มการรองรับสำหรับหน้าจอแสดงผลแบบไร้สาย (Wireless Display) ซึ่งคุณสามารถรับชมภาพยนตร์, วิดีโอบน YouTube และเล่นเกมส์ต่างๆ แบบไร้สาย ผ่านการส่งสัญญาณภาพไปบนจอทีวีที่มีระบบ Miracast
เรียนรู้ฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มเติมในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2 JellyBean ได้
ที่นี่
Google Now ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น
เราออกแบบ Google Now เพื่อทำให้ชีวิตง่ายขึ้น โดยการมอบข้อมูลที่ถูกต้องให้กับคุณ
ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ง่ายต่อการอ่านการ์ดต่างๆ ก่อนที่คุณจะมีคำถาม และได้รับผลตอบกลับที่สุดยอดมาก ดังนั้นในตอนนี้เรากำลังเพิ่มการ์ดต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้ประโยชน์กับคุณยิ่งขึ้นไป เช่น การ์ดข้อมูลเที่ยวบิน การ์ดข้อมูลการจองร้านอาหาร การ์ดข้อมูลการยืนยันการจองโรงเเรม และการ์ดรายละเอียดการจัดส่งของ บ่อยแค่ไหนที่คุณรอ ข้อมูลต่างๆ ส่งมาทางอีเมล์ในวินาทีสุดท้าย? ครั้งต่อไปที่คุณจองโต๊ะสำหรับทานมื้อเย็น คุณจะได้รับ การแจ้งเตือนพร้อมรายละเอียดทั้งหมด โดยไม่ต้องกระดิกนิ้วเลย นอกจากนี้คุณยังจะได้รับการ์ด เกี่ยวกับสถานที่ที่น่าสนใจในบริเวณใกล้เคียง เช่น จุดถ่ายภาพที่สวยงาม เวลาการฉายภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์ หรือการแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ จากศิลปินขวัญใจคุณ
Nexus 7: บาง เบา และ สะดวกในการพกพา
Nexus 7 นำประสบการณ์การใช้ Google ที่ดีที่สุดมาให้คุณ ทั้ง YouTube Chrome Gmail Maps และเนื้อหาที่ยอดเยี่ยมทั้งหมดจาก Google Play มาในแบบบางเบา พร้อมแพคเกจพกพาสะดวก เหมาะมือ เพื่อให้คุณได้มีเนื้อที่มากขึ้นสำหรับทุกเนื้อหาที่คุณสามารถได้รับจาก Nexus 7 มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 16GB (ราคา $199) และขนาด 32GB (ราคา $249) และเราต้องการที่จะทำให้แท็บเล็ตตัวนี้ สามารถพกพาได้อย่างสบายๆ แบบมือถือทั่วไปมากขึ้น เราจึงเพิ่ม HSPA + mobile data เข้าไป ซึ่งตอนนี้ Nexus 7 ขนาด 32GB พร้อม HSPA + mobile มีไว้ให้คุณเเล้ว (ในราคา $299) สามารถทำงานผ่านผู้ให้บริการด้านเครือข่าย GSM มากกว่า 200 แห่งทั่วโลก อาทิ AT&T และ T-Mobile ในสหรัฐอเมริกา
Nexus 10: เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและการแบ่งบันเต็มรูปแบบ
Nexus 10 คือ แท็บเล็ตที่ดีที่สุดสำหรับการชมภาพยนตร์หรืออ่านเเมกกาซีนต่างๆ เราต้องการสร้าง อุปกรณ์ที่ให้ความบันเทิงในระดับพรีเมี่ยม ดังนั้นเราจึงร่วมมือกับ Samsung
Nexus 10 เป็นเเท็บเล็ตที่มีหน้าจอความละเอียดสูงที่สุดในโลก ด้วยขนาดจอ 10.055 นิ้ว สามารถ แสดงผลที่ความละเอียด 2560x1600 หรือ 300ppi ได้ นั่นคือมากกว่า 4 ล้านพิกเซลในมือเลยทีเดียว มาพร้อมเเบตเตอรี่ ที่สามารถให้ผู้ใช้ชมวิดีโอได้นานถึง 9 ชั่วโมง และอยู่ในสถานะเปิดเครื่องพร้อมใช้งาน มากกว่า 500 ชั่วโมง ด้วยชุดลำโพงสเตอริโอด้านหน้า คุณสามารถชมภาพยนตร์จาก Nexus 10 พร้อมกับ เสียงที่สุดยอด แต่สิ่งที่ทำให้ Nexus 10 โดดเด่นที่สุด ก็คือความเป็นแท็บเล็ตที่เน้นการเเบ่งบัน (Shareable) อย่างแท้จริง ด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2 คุณสามารถเพิ่มผู้ใช้หลายคน และสลับไปมาได้ทันทีจากหน้าจอ lockscreen เราเชื่อว่าทุกคนควรจะสามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ของ พวกเขา ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายที่สุด ทั้งอีเมล์ แอพพลิเคชั่นต่างๆ บุ๊คมาร์ค และอื่นๆ อีกมากมาย นั่นจะทำให้ทุกคน มีหน้าจอ (home screen) เป็นของตัวเอง เพลง และเเม้เเต่คะเเนนสูงสุดในเกมส์ท ี่แต่ล่ะคนเล่นได้
Google Play: ความบันเทิงที่มากกว่า
เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เพิ่มความบันเทิงใหม่ๆ มากมายเป็นตัน ไว้ใน Google Play เช่น ภาพยนตร์ และ รายการทีวี จากค่าย Twentieth Century Fox ก่อนหน้าในปีนี้เราได้ขยายบริการของเรามากกว่า เพียงการให้เช่าภาพยนตร์ และตอนนี้คุณสามารถซื้อภาพยนตร์และสร้างรายการโปรดของคุณ ใน Google Play ได้เเล้ววันนี้ เรากำลังเพิ่มการจัดซื้อภาพยนตร์ไปยังประเทศอื่นๆ อีก ประกอบด้วย แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปนและออสเตรเลีย
เราตื่นเต้นมากในการประกาศความร่วมมือกับ 2 พันธมิตรใหม่ ซึ่งเรากำลังทำงานร่วมกับ Time อิงก์ ในการนำนิตยสารมากมายมาสู่มือคุณ อาทิ InStyle, PEOPLE TIME และอื่นๆ และเรายังได้ร่วมมือกับ Warner Music Group ที่กำลังจะนำเพลงฉบับเต็มๆ ทั้งที่อยู่ในแคตตาล็อคและที่เป็นเพลงใหม่เอี่ยม ของพวกเขามาสู่คุณเช่นกันขณะนี้เรากำลังทำงานร่วมกับทุกค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ทั่วโลกพร้อมกับทุก
สำนักพิมพ์นิตยสารที่มีชื่อเสียงในสหรัฐฯ เช่นเดียวกันกับสำนักพิมพ์อิสระ, ศิลปินและผู้จัดพิมพ์อีกมากมาย
ในวันที่ 13 พฤศจิกายน เราจะนำเพลงมาใส่ไว้ใน Google Play สำหรับประเทศในยุโรป คนที่อยู่ใน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และ เสปน จะสามารถซื้อเพลงต่างๆ ได้จาก Google Play Store และสามารถเพิ่มเพลงต่างๆ ไว้ในคอลเลกชั่นพิเศษได้สูงสุดถึง 20,000 เพลง แบบฟรีๆ บนหน้าสตรีมของอุปกรณ์แอนดรอยด์ หรือ ผ่านหน้าเว็บเบราว์เซอร์ เรายังได้เปิดตัวฟีเจอร์จับคู่ใหม่ ในไลน์สตรีม เป็นกระบวนการดาวน์โหลดเพลงส่วนตัวไปยัง Google Play ด้วย โดยเราจะทำการเเสกนเพลงที่คุณเลือกไว้ในคอลเล็กชั่นกับเพลงในแคตตาล็อคบน Google Play ซึ่งจะจับคู่ให้อัตโนมัติและเพิ่มไว้ใน อัลบั้มออนไลน์ของคุณ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดใดๆ ประหยัดเวลาได้อีก ทั้งหมดนี้จะพร้อมในวันเปิดตัวในยุโรป วันที่ 13 พฤศจิกายน และสำหรับสหรัฐฯ ก็จะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ ทั้งหมดนี้เป็นบริการที่ฟรี ไม่ว่าจะเป็น การให้พื้นที่ในการจัดเก็บเพลงของคุณ บริการจับคู่เพลง การซิงค์อุปกรณ์ต่างๆ ของคุณให้ และฟังเพลง ล้วนฟรีหมด
คุณภาพที่ยอดเยี่ยม
เรายึดมั่นในการสร้างอุปกรณ์ที่ให้ความคุ้มค่าเสมอมา และเราคิดว่าอุปกรณ์ที่เปิดตัวในวันนี้ ได้ให้ความคุ้มค่ากับเงินทุกบาททุกสตางค์ของคุณ และนี่คือรายละเอียดที่คุณจะสามารถพบเจอใน Nexus
Nexus 4
:
ขนาด 8GB ราคา $299 ขนาด 16GB ราคา$349
ปลดล็อคเรียบร้อย โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ
พร้อมจัดจำหน่าย ตั้งเเต่วันที่ 13 พ.ย. ใน Google Play store ใน
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ผรั่งเศส เยอรมัน สเปน และ แคนาดา โดยสำหรับเวอร์ชั่น 16 GB สามารถหาซื้อได้ที่ T-Mobile ในราคา $199 พร้อมข้อผูกมัดในการใช้งาน 2 ปี (คลิก
ที่นี่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม)
Nexus 7:
ขนาด 16GB ราคา $199 และขนาด 32GB ราคา $249 พร้อมขายแล้วใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมัน สเปน แคนาดา และ ญี่ปุ่น ผ่านตัวเเทนจำหน่ายต่างๆ ทั้ง Gamestop Office Depot Office Max Staples และ Wallmart
Nexus 7 ขนาด 32GB และ Mobile data:
ในราคา $299 และปลดล็อคเรียบร้อย พร้อมขายเเล้วใน Google Play store ใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน และ แคนาดา
Nexus 10:
ขนาด 16GB ราคา $399 และขนาด 32GB ราคา $499 พร้อมขายตั้งเเต่วันที่ 13 พ.ย. ใน Google Play Store ใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน แคนาดา และ ญี่ปุ่น ซึ่งคุณสามารถหาซื้อ Nexus 10 เวอร์ชั่น 32GB ได้จาก Walmart กว่า 2,000 สาขา ในสหรัฐอเมริกา
Nexus เป็นอุปกรณ์ที่มากกว่าเเค่โทรศัพท์หรือแท็บเล็ต มันคือที่สุดแห่งการเชื่อมคุณและ Google เข้าด้วยกัน ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับคุณ ทั้งด้านความบันเทิง ทุกที่ที่คุณไป ตอนนี้คุณมี Nexus ใหม่เพิ่มอีกถึง 3 รุ่น มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Jelly Bean) ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่สำหรับ ความบันเทิงที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทุกรุ่นพร้อมแล้วให้คุณได้สัมผัสใน Google play สนามเด็กเล่นเปิดตัวเเล้ว
โพสต์โดย แอนดี้ รูบิน รองประธานอาวุโสฝ่ายคอนเทนต์โมบายและดิจิตอล
ป้ายกำกับ
+1
2
#10YearsofYouTube
28
#2013 in Search
2
3D city maps
1
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
1
การค้นหา
1
การปิดกั้นโฆษณา
1
คลาวด์
1
คู่มือโมบายส์
1
โครงการภาษาที่ใกล้จะสูญหาย
1
โซเชียลแพลทฟอร์ม
1
ไซต์ไกสต์
1
เดวิด เบ็คแฮม
1
ตามรอยพระราชา
1
ทูตนักศึกษาของ Google
1
ธุรกิจไทยโกออนไลน์
2
ธุรกิจไทย GO ONLINE
2
นโยบายความเป็นส่วนตัว
1
นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว
1
นานาน่ารู้
1
ประเทศไทย
1
ปรากฎการณ์ทางดนตรี
1
พี่เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์
2
ภาษาพม่า
1
ภาษาลาว
1
มือถือ
1
โมบายส์แอพ
1
ยอดคุณแม่ยุคไอที
1
รามเกียรติ์
1
รามายณะ
1
รายงานความโปร่งใส
1
ลอนดอนเกมส์ 2012
1
ลิขสิทธิ์
1
ลิขสิทธิ์ในการค้นหา
1
วันครู
1
วันเด็กไทย
2
วันปีใหม่ไทย
1
วันพืชมงคล
1
#วันภาษาไทยแห่งชาติ
1
วันสงกรานต์
1
วันแห่งการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
1
วันแห่งความรัก
1
วันเเม่เเห่งชาติสากล
1
วาเลนไทน์
1
วิดีโอแชท
1
ศิลปิน K-Pop
1
#สตรีทวิว
5
อินเทอร์เน็ต
1
แฮงเอาท์
1
access
1
AdMob
1
AdSense feature
1
AdSense Payment
1
#adsleaderboard #leaderboard #thailand
1
advertising
2
AdWords
6
#AdWords #webinar #GoogleAdWords
1
AdWords Weekly Update
13
After School
1
agency
1
AI
17
Amit Singhal
1
Android
11
Android Games
1
#AndroidOne
1
Android Security
1
Andy Rubin
1
Antarctica
1
Apps for EDU
3
artists
1
Bard
5
Beast
1
Be Internet Awesome
2
#Birthday
2
#BKKvote #เลือกตั้ง #ผู้ว่ากรุงเทพฯ #vote
1
black hat webspam
1
Brands
1
Build The Memory
1
Burmese
1
CBS
1
Censorship
1
Child Protection
1
Children's Day
1
#ChildrensDay2013
1
Chrome
10
Chromebooks
1
#Chromebooks #GoogleTH
1
Chrome. #chromies
1
Chrome experiments
2
Chrome for Android
2
Chrome Web Lab
1
Chrome Web Store
2
#Chromies
3
Chulalongkorn Business School
1
Cloud
2
Cloud Computing
1
Computer Crimes Act
1
Consumer Product
2
Cool IT
1
Copyright
1
Cotto
1
creators
2
#CreatorsForChange
1
Crisis Response
4
Culture
7
#DatallyByGoogle
2
David Beckham
1
Developers
4
DevFest
1
digital creativity
1
Digital insights
2
Disaster Relief
5
Display Ads Builder
1
Diversity and Inclusion
3
Doodle
1
doodle 4 google
5
Drive
1
Education
4
Employment
1
Endangered Languages Project
1
Entrepreneurs
1
Environment
1
Evolution of Search
2
Family Safety
3
favourite places
1
#FilesGo
1
Flights and Hotels
3
forms
1
Freedom of expression
2
free Internet
1
g|thailand
1
Gadgets
1
Galapagos
1
game
1
#gappschallenge
1
GASP
1
GCP
1
GDG
1
geberative AI
1
Gemini
6
Get You Google Back
1
#Gmail
7
#Gmailtips
3
GMM Grammy
1
Go Google
1
GoMo
3
Go Mobile
3
#GoMoTH
2
Good To Know
1
Google
7
Google+
23
Google+ ใหม่
1
Google+ แฮงเอาท์
1
Google+ for business
1
Google+ for iPad
1
Google+ for iPhone
2
Google+ Mobile Website
1
Google ข่าวสาร
1
Google ไดรฟ์
1
Google แปลภาษา
2
Google แผนที่
10
Google แผนที่สำหรับไอโฟน
1
Google เพื่อการศึกษา
1
Google สตรีทวิว
2
Google Ads
3
Google AdSense
5
google adwords
28
google alerts
1
Google Ambassador Program
1
Google Analytics
2
Google Apps
3
Google Apps เพื่อการศึกษา
1
Google Apps สำหรับการศึกษา
2
Google Apps Developer Challenge
2
Google Apps for Education
3
Google Apps For NGOs
1
Google Art Project
2
Google Arts and Culture
3
Google Arts & Culture
3
Google Assistant
3
Google Campus Ambassador
1
#GoogleCardboard
1
Google Certification Program
1
google chrome
13
Google Classroom
2
Google Cloud
4
Google Cloud Summit
1
Google Cultural Institute
1
Google Currents
1
Google Display Network
2
Google Docs
1
#Google Doodle
10
Google Drive
4
google earth
9
Google Earth for mobile
1
Google EDU
1
Google Engage
1
Google Flights
1
#GoogleForEducation
1
Google for Entrepreneurs
1
Google For Non-Profits
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate
1
#Google #GoogleTH #GoogleTranslate #loveyourlanguage
3
Google Guru
1
Google Handwrite
3
Google Health
1
Google in Asia
3
#Google #IndoorMaps #GoogleMaps #Thailand #Shopping
1
Google Keep
1
Google Lens
1
#Googlelovesmom #GoogleTH #YouTubeTH
1
google maps
45
#GoogleMaps
8
Google Maps for iOS
3
Google Maps for iPhone
1
#GoogleMaps #GoogleTH
2
Google Maps on Android
2
Google Maps on mobile
1
Google Meet
1
Google My Business
1
googlenew
1
Google News
2
Google News Initiative
1
Google Now
1
Google One
1
Google.org
1
Google Photography Prize
1
Google Play
8
Google Play Games
1
#GooglePlayNewsstand
1
Google Play Protect
1
Google Plus
6
Google Plus Pages
3
Google Scholarship
1
Google Search
31
Google Shopping
2
Google Station
1
Google Street Roo
1
#GoogleStreetView
1
#GoogleStreetview #GoogleTH
2
Google Student Ambassadors
1
google summer of code
1
#GoogleTH
5
#GoogleTH #Gmail
1
#GoogleTH #GoogleMaps #LocalGuides
1
#GoogleTH #GoogleStreetView
1
#GoogleTH #GoogleStreetView #GoogleTourismTH
1
#Googleth #Yearinsearch2015
1
Google Trader
1
Google Transit
2
Google Translate
6
#GoogleTranslateCommunity
2
Google Trends
5
#GoogleTrends #GoogleTH
1
Google TV
1
#googleupdate
1
Google Voice Search
1
Google Wallet
1
Google Workspace
4
#Google Zeitgeist
2
Googlies Award
1
Go Online
1
Grand Canyons
1
Greenpeace
1
Grow with Google
2
G Suite
1
GTBO
1
#gthailand
1
GTUG
1
hackathon
1
Hangouts
5
#HBDChrome
4
#HBDYouTube
15
#HBDYouTubeTH
15
How Search Works
1
HTML5
1
#iconicaudition
2
Iconic Online Audition
1
#IconicRecords
1
igoogle
1
Independent learning
1
INFINITE
1
Innovation Idols
1
#InnovationTH
1
Innovation Thailand
1
Innovation Thailand Report
1
insights for search
4
Internet
1
Internet economy
1
iOS
1
iPhone
1
IPv6
1
Japan Earthquake
1
Jobs
1
#kidday2013
1
King's Birthday
1
Knowledge Graph
1
K-Pop
1
languages
2
Laos
1
Launchpad Accelerator
2
Made on YouTube
1
#MarioMaps
1
#MFUgoesGoogle
1
Milan Design Week
1
mobile
4
mobile games
1
Mobile World Congress
1
mobilised website
1
mobilized website
1
moonshot
1
moonshot thinking
1
#morethanamap
1
Mother's Day
1
Mum
1
Myanmar
1
My Places
1
Nelson Mandela
1
Nelson Mandela Archives
1
Nelson Mandela Centre of Memory
1
New AdSense Interface
1
new look Google+
1
new year resolutions
1
Next Billion Users
6
Nexus
1
Online for Floods
1
online marketing
1
open Internet
1
OTPC
1
PC
1
Personal Search
1
#PhotoSpheres
1
Photo Tours
1
PIPA
1
#prideforeveryone #YouTubeTH
1
privacy
5
privacy policy
3
Product Launch
2
products and features
1
#ProudToBe #YouTubeTH
2
#racer
1
Ramayana
1
Reseller
1
#Review
1
#RISE
1
RISE Awards
1
#rollit
1
Royal Ploughing Ceremony
1
Safer Internet Day
2
Safe Search
1
Safety and Security
17
Safety Center
1
Search
3
search engine optimization
1
Search Plus Your World
1
Security
1
SEO
1
Shorts
4
#SID2013
1
SISTAR
1
smartphone
1
sme
1
#solveforx
1
Sonkran
1
SOPA
1
South Pole
1
#StarWars
1
#StreetView
4
Sustainability
2
teacher's day
1
#techforgood
3
Technology For Good
2
Thailand
1
Thai Language
2
Thai New Year
1
thai.ramaya.na
1
The Mobile Playbook
1
#thenextbillion
1
Think รายไตรมาส
2
Think Quarterly
2
#Trafficking
1
transparency
1
Transparency Report
1
Trekker
2
Trends
1
Tsunami
1
Valentine's Day
1
virtual keyboard
1
Voice Search
2
Wear OS
1
weather
1
Webmaster
2
webspam
1
Web Speech API
1
#weloveGmail
1
Western Union
1
white hat SEO
1
Windows 8
1
World Press Freedom Day
1
World Wonders
2
#YearInSearch
3
#Yearinsearch2016 #GoogleTH
1
#YearInSearch2017
1
#YearInSearch2018
1
#YearInSearch2019
1
#youtube
4
YouTube
4
YouTube Ads Leaderboard
1
YouTube Creators for Change
1
YouTube Go
2
YouTube Kids
1
YouTube on iOS
1
#YouTubePopUpSpace
1
YouTube Rewind
1
#YouTubeRewind #YouTubeTH
2
#YouTubeRunForUNHCR
1
YouTube Shorts
6
#YouTubeTH
33
#YouTube #YouTubeTH
1
#YTFF
1
Zeitgeist
3
บทความที่ผ่านมา
2024
กันยายน
ก.ย. 30
ก.ย. 19
สิงหาคม
ส.ค. 29
กรกฎาคม
ก.ค. 26
มิถุนายน
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 29
พ.ค. 15
พ.ค. 02
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 24
เม.ย. 03
มีนาคม
มี.ค. 29
มี.ค. 28
มี.ค. 19
กุมภาพันธ์
ก.พ. 29
ก.พ. 09
ก.พ. 07
ก.พ. 06
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 10
2023
ธันวาคม
ธ.ค. 14
ธ.ค. 08
ธ.ค. 07
พฤศจิกายน
พ.ย. 17
พ.ย. 15
พ.ย. 08
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 19
ต.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 27
ก.ย. 22
ก.ย. 21
ก.ย. 19
ก.ย. 11
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 30
ส.ค. 08
ส.ค. 04
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 24
ก.ค. 13
มิถุนายน
มิ.ย. 12
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 11
พ.ค. 02
เมษายน
เม.ย. 26
เม.ย. 11
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 29
มี.ค. 15
มี.ค. 08
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 24
ก.พ. 20
ก.พ. 09
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 18
ม.ค. 12
2022
ธันวาคม
ธ.ค. 06
ธ.ค. 02
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 22
พ.ย. 18
พ.ย. 15
พ.ย. 10
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 25
ต.ค. 21
ต.ค. 12
ต.ค. 05
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 21
ก.ย. 09
สิงหาคม
ส.ค. 25
กรกฎาคม
ก.ค. 25
มิถุนายน
มิ.ย. 27
พฤษภาคม
พ.ค. 24
เมษายน
เม.ย. 28
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 19
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 24
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 22
ก.พ. 17
ก.พ. 16
ก.พ. 11
ก.พ. 10
ก.พ. 07
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
2021
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 08
ธ.ค. 02
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 28
กันยายน
ก.ย. 30
ก.ย. 29
ก.ย. 21
ก.ย. 16
สิงหาคม
ส.ค. 23
ส.ค. 18
ส.ค. 09
ส.ค. 05
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 13
มิถุนายน
มิ.ย. 24
มิ.ย. 14
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 19
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 17
มี.ค. 16
มี.ค. 11
มี.ค. 08
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 17
ก.พ. 09
ก.พ. 02
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 11
2020
ธันวาคม
ธ.ค. 09
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 30
ต.ค. 06
ต.ค. 02
ต.ค. 01
กันยายน
ก.ย. 29
สิงหาคม
ส.ค. 27
ส.ค. 12
ส.ค. 05
กรกฎาคม
ก.ค. 31
ก.ค. 15
ก.ค. 09
มิถุนายน
มิ.ย. 25
มิ.ย. 23
มิ.ย. 15
มิ.ย. 11
พฤษภาคม
พ.ค. 21
พ.ค. 19
พ.ค. 15
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 29
เม.ย. 16
เม.ย. 13
เม.ย. 10
เม.ย. 08
เม.ย. 06
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 27
มี.ค. 26
มี.ค. 25
มี.ค. 20
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 16
มี.ค. 12
กุมภาพันธ์
ก.พ. 17
ก.พ. 14
ก.พ. 12
ก.พ. 06
มกราคม
ม.ค. 29
ม.ค. 14
ม.ค. 08
ม.ค. 07
2019
ธันวาคม
ธ.ค. 11
ธ.ค. 06
ธ.ค. 03
พฤศจิกายน
พ.ย. 22
พ.ย. 14
พ.ย. 06
ตุลาคม
ต.ค. 31
ต.ค. 21
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 20
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 30
ส.ค. 28
ส.ค. 21
ส.ค. 20
ส.ค. 08
ส.ค. 01
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 24
ก.ค. 22
ก.ค. 11
ก.ค. 04
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 07
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 15
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
กุมภาพันธ์
ก.พ. 20
ก.พ. 15
ก.พ. 05
ก.พ. 04
มกราคม
ม.ค. 14
ม.ค. 04
2018
ธันวาคม
ธ.ค. 18
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 08
พฤศจิกายน
พ.ย. 27
พ.ย. 12
พ.ย. 09
ตุลาคม
ต.ค. 24
ต.ค. 22
ต.ค. 16
ต.ค. 15
ต.ค. 11
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 24
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 12
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 16
กรกฎาคม
ก.ค. 18
มิถุนายน
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 13
มิ.ย. 05
พฤษภาคม
พ.ค. 23
พ.ค. 16
พ.ค. 11
พ.ค. 08
เมษายน
เม.ย. 17
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 14
มี.ค. 10
กุมภาพันธ์
ก.พ. 27
ก.พ. 23
ก.พ. 16
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 18
2017
ธันวาคม
ธ.ค. 13
ธ.ค. 12
ธ.ค. 07
ธ.ค. 06
ธ.ค. 01
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
ตุลาคม
ต.ค. 13
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 21
ก.ย. 20
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 29
ส.ค. 28
ส.ค. 25
ส.ค. 17
ส.ค. 11
ส.ค. 08
ส.ค. 06
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 17
ก.ค. 06
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 08
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 24
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 22
มี.ค. 09
มี.ค. 08
กุมภาพันธ์
ก.พ. 24
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 25
ม.ค. 20
ม.ค. 16
2016
ธันวาคม
ธ.ค. 19
ธ.ค. 16
ธ.ค. 14
ธ.ค. 08
ธ.ค. 06
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 22
พ.ย. 16
พ.ย. 08
พ.ย. 07
พ.ย. 04
ตุลาคม
ต.ค. 25
ต.ค. 04
กันยายน
ก.ย. 29
ก.ย. 26
ก.ย. 15
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 25
ส.ค. 19
ส.ค. 16
ส.ค. 10
ส.ค. 05
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 15
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 28
มิ.ย. 27
มิ.ย. 24
มิ.ย. 23
มิ.ย. 22
พฤษภาคม
พ.ค. 26
พ.ค. 12
พ.ค. 04
เมษายน
เม.ย. 22
มีนาคม
มี.ค. 29
มี.ค. 28
มี.ค. 11
มี.ค. 08
2015
ธันวาคม
ธ.ค. 22
ธ.ค. 16
ธ.ค. 09
ธ.ค. 04
พฤศจิกายน
พ.ย. 24
พ.ย. 20
พ.ย. 16
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 25
ก.ย. 18
ก.ย. 16
ก.ย. 10
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 20
ส.ค. 11
ส.ค. 05
ส.ค. 04
กรกฎาคม
ก.ค. 29
ก.ค. 14
มิถุนายน
มิ.ย. 30
มิ.ย. 25
มิ.ย. 24
มิ.ย. 12
มิ.ย. 08
มิ.ย. 05
มิ.ย. 02
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 28
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 21
พ.ค. 20
พ.ค. 19
พ.ค. 18
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 15
พ.ค. 14
พ.ค. 13
พ.ค. 12
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 07
พ.ค. 01
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 29
เม.ย. 10
เม.ย. 01
มีนาคม
มี.ค. 23
มี.ค. 19
มี.ค. 17
มี.ค. 05
กุมภาพันธ์
ก.พ. 26
ก.พ. 25
ก.พ. 23
ก.พ. 21
ก.พ. 20
มกราคม
ม.ค. 30
ม.ค. 15
2014
ธันวาคม
ธ.ค. 23
ธ.ค. 17
ธ.ค. 16
ธ.ค. 11
ธ.ค. 10
ธ.ค. 04
ตุลาคม
ต.ค. 09
กันยายน
ก.ย. 15
ก.ย. 12
ก.ย. 10
ก.ย. 05
สิงหาคม
ส.ค. 14
ส.ค. 13
ส.ค. 08
กรกฎาคม
ก.ค. 08
ก.ค. 02
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 20
มิ.ย. 12
มิ.ย. 11
มิ.ย. 09
มิ.ย. 06
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 29
พ.ค. 19
พ.ค. 09
เมษายน
เม.ย. 21
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 18
2013
ธันวาคม
ธ.ค. 26
ธ.ค. 19
ธ.ค. 18
กันยายน
ก.ย. 21
สิงหาคม
ส.ค. 08
ส.ค. 06
กรกฎาคม
ก.ค. 29
มิถุนายน
มิ.ย. 20
มิ.ย. 18
มิ.ย. 17
มิ.ย. 03
พฤษภาคม
พ.ค. 31
พ.ค. 28
พ.ค. 07
เมษายน
เม.ย. 29
เม.ย. 25
เม.ย. 24
เม.ย. 16
เม.ย. 10
เม.ย. 09
เม.ย. 05
เม.ย. 04
มีนาคม
มี.ค. 28
มี.ค. 19
มี.ค. 08
มี.ค. 07
มี.ค. 06
มี.ค. 04
มี.ค. 03
กุมภาพันธ์
ก.พ. 25
ก.พ. 21
ก.พ. 19
ก.พ. 18
ก.พ. 15
ก.พ. 06
ก.พ. 05
ก.พ. 04
ก.พ. 01
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 30
ม.ค. 29
ม.ค. 25
ม.ค. 22
ม.ค. 15
2012
ธันวาคม
ธ.ค. 26
แอพพ์ Google แผนที่ พร้อมแล้วให้เหล่าสาวกไอโฟนได้ใ...
ธ.ค. 18
Innovation Thailand - คำเชื้อเชิญชาวไทยร่วมก้าวสู่...
ธ.ค. 13
Zeitgeist 2555: พบกับคำค้นหายอดนิยมจากทั่วโลกและทั...
ธ.ค. 10
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีกพันล้านคนต่อไป ~ The next bil...
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
การรวมตัวของภาพจากกลุ่มคนรักแฟชั่น ครั้งประวัติศาส...
พ.ย. 27
Google+ สร้างปรากฎการณ์ทางดนตรีครั้งยิ่งใหญ่กับเมื...
แบ่งปันข้อมูลของคุณจาก Google Drive ง่ายๆ ไปยังหน้...
พ.ย. 26
ครั้งแรกกับการอบรม Google Classroom ในประเทศไทย
พ.ย. 21
ท่องโลกไปพร้อมกับฟีเจอร์นำเที่ยว และภาพ 3 มิติใหม่...
พ.ย. 10
เพิ่มภาพ Photo Sphere เก๋ๆ ของคุณใน Google แผนที่ ...
พ.ย. 08
Nexus นวัตกรรมจาก Google พร้อมใช้ใน 3 ขนาดเเล้ว
พ.ย. 02
พ.ย. 01
ตุลาคม
ต.ค. 18
ต.ค. 11
ต.ค. 09
ต.ค. 08
ต.ค. 05
ต.ค. 02
กันยายน
ก.ย. 26
ก.ย. 25
ก.ย. 24
ก.ย. 21
ก.ย. 18
ก.ย. 17
ก.ย. 13
ก.ย. 11
ก.ย. 10
ก.ย. 07
ก.ย. 06
ก.ย. 05
ก.ย. 04
สิงหาคม
ส.ค. 28
ส.ค. 22
ส.ค. 20
ส.ค. 15
ส.ค. 10
ส.ค. 07
ส.ค. 02
กรกฎาคม
ก.ค. 30
ก.ค. 19
ก.ค. 18
ก.ค. 16
ก.ค. 13
ก.ค. 12
ก.ค. 11
มิถุนายน
มิ.ย. 27
มิ.ย. 26
มิ.ย. 22
มิ.ย. 21
มิ.ย. 20
มิ.ย. 19
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 14
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 30
พ.ค. 28
พ.ค. 25
พ.ค. 24
พ.ค. 23
พ.ค. 22
พ.ค. 17
พ.ค. 16
พ.ค. 14
พ.ค. 11
พ.ค. 10
พ.ค. 09
พ.ค. 08
พ.ค. 04
พ.ค. 03
เมษายน
เม.ย. 30
เม.ย. 27
เม.ย. 26
เม.ย. 25
เม.ย. 19
เม.ย. 18
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 04
เม.ย. 03
เม.ย. 02
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 06
มี.ค. 05
มี.ค. 01
กุมภาพันธ์
ก.พ. 29
ก.พ. 28
ก.พ. 24
ก.พ. 22
ก.พ. 20
ก.พ. 14
ก.พ. 13
ก.พ. 07
มกราคม
ม.ค. 31
ม.ค. 27
ม.ค. 23
ม.ค. 21
ม.ค. 18
ม.ค. 16
ม.ค. 14
ม.ค. 11
ม.ค. 06
2011
ธันวาคม
ธ.ค. 16
ธ.ค. 13
ธ.ค. 08
ธ.ค. 05
พฤศจิกายน
พ.ย. 29
พ.ย. 24
พ.ย. 18
พ.ย. 08
พ.ย. 03
ตุลาคม
ต.ค. 27
ต.ค. 15
ต.ค. 11
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 27
ก.ย. 23
ก.ย. 13
ก.ย. 02
ก.ย. 01
สิงหาคม
ส.ค. 26
ส.ค. 12
มิถุนายน
มิ.ย. 08
เมษายน
เม.ย. 13
เม.ย. 12
เม.ย. 01
มกราคม
ม.ค. 21
2010
พฤศจิกายน
พ.ย. 10
ตุลาคม
ต.ค. 29
ต.ค. 12
ต.ค. 06
กันยายน
ก.ย. 28
ก.ย. 21
ก.ย. 14
ก.ย. 06
สิงหาคม
ส.ค. 31
ส.ค. 24
ส.ค. 16
ส.ค. 09
ส.ค. 03
กรกฎาคม
ก.ค. 27
ก.ค. 26
ก.ค. 20
มิถุนายน
มิ.ย. 26
มิ.ย. 18
มิ.ย. 15
มิ.ย. 10
มิ.ย. 07
พฤษภาคม
พ.ค. 25
พ.ค. 23
พ.ค. 12
พ.ค. 07
พ.ค. 05
เมษายน
เม.ย. 13
มีนาคม
มี.ค. 26
มี.ค. 23
มี.ค. 11
มี.ค. 05
มกราคม
ม.ค. 26
ม.ค. 18
2009
ธันวาคม
ธ.ค. 14
พฤศจิกายน
พ.ย. 30
พ.ย. 12
พ.ย. 09
พ.ย. 02
ตุลาคม
ต.ค. 22
ต.ค. 15
กันยายน
ก.ย. 17
ก.ย. 10
สิงหาคม
ส.ค. 21
ส.ค. 10
กรกฎาคม
ก.ค. 16
ก.ค. 08
ก.ค. 02
มิถุนายน
มิ.ย. 25
มิ.ย. 15
พฤษภาคม
พ.ค. 22
พ.ค. 04
เมษายน
เม.ย. 29
เม.ย. 23
เม.ย. 20
เม.ย. 15
เม.ย. 13
เม.ย. 01
มีนาคม
มี.ค. 31
มี.ค. 27
มี.ค. 11