วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดแตะประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568


ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตและฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ อันเป็นผลมาจากการระบาดครั้งใหญ่และปัญหาเศรษฐกิจมหภาค ล่าสุด รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2566 (e-Conomy SEA 2023) ที่จัดทำขึ้นโดย Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงแข็งแกร่งและปรับตัวได้ดี โดยคาดว่ามูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value: GMV) ของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคฯ จะสูงถึง 2.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 โดยโตขึ้น 11% จากปีที่ผ่านมา ในขณะที่รายได้เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคฯ จะแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่เร็วกว่ามูลค่าสินค้ารวมของภูมิภาคฯ ถึง 1.7 เท่า

เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยยังคงแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการฟื้นตัวอย่างน่าทึ่ง แม้จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจมหภาค โดยคาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลไทยจะมีมูลค่าสินค้ารวมสูงถึง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 โดยยังคงใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าจะแตะประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1-1.65 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2573 โดยตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคิดเป็น 61% ของมูลค่าสินค้ารวมในปี 2566 ภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา มีมูลค่าสินค้ารวม 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน การลงทุนจากภาคเอกชนในภูมิภาคฯ ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีหลังจากที่เคยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งแนวโน้มที่ถดถอยนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคฯ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยมูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 กลับมาสู่ระดับปกติหลังจากพุ่งสูงขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อดึงดูดการลงทุน ธุรกิจจำเป็นต้องมีแนวทางในการทำกำไรที่ชัดเจน และพิสูจน์ให้นักลงทุนเห็นว่าบริษัทมีทางออกสำหรับธุรกิจที่ทำได้จริง

การท่องเที่ยวออนไลน์ของไทยโตเร็วเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคฯ โดยเติบโต 85% จากปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในปี 2566 ด้วย โดยคาดว่ามูลค่าสินค้ารวมจะแตะ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังไม่กลับสู่ระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่สูงถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 ในขณะเดียวกัน ไทยก็ครองตลาดบริการวิดีโอสตรีมมิ่งที่เรียกเก็บค่าสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคฯ และคาดว่าไทยจะเป็นหนึ่งในตลาดสื่อออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคฯ ในช่วงปี 2566-2573 ทั้งนี้ คาดว่าภาคธุรกิจสื่อออนไลน์ของไทย (บริการวิดีโอออนดีมานด์ เพลงออนดีมานด์ เกม) จะมีมูลค่าสินค้ารวมอยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้น 12% จากปีที่ผ่านมา การสั่งอาหารออนไลน์ยังคงเหมือนเดิมหลังการระบาดใหญ่ ในขณะที่ความต้องการเดินทางคืนสู่ระดับก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยรวมแล้วคาดว่าภาคธุรกิจการขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์จะมีมูลค่าสินค้ารวมอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ เพิ่มขึ้น 1% จากปีที่ผ่านมา


ในส่วนของบริการด้านการเงินดิจิทัล (Digital financial services: DFS) ซึ่งได้แก่ การชำระเงินดิจิทัล บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล ประกันดิจิทัล และความมั่งคั่งทางดิจิทัล พบว่ามีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยบริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลในไทยเติบโตที่เร็วที่สุดในภูมิภาคฯ โดยโต 65% และมียอดสินเชื่อสูงถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 ทั้งนี้ คาดว่าบริการด้านการเงินดิจิทัลของไทยจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคฯ ในปี 2573 โดยนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นให้การสนับสนุนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการบริการด้านการเงินดิจิทัลต่อไป


ด้านผู้ใช้ที่มีมูลค่าสูง (High-value users: HVUs) หรือกลุ่มผู้ใช้จ่ายออนไลน์สูงสุด 30% แรก คาดว่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 64% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า นับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในภูมิภาคฯ ผู้ใช้ที่มีมูลค่าสูงมีการใช้จ่ายสูงกว่าผู้ใช้ที่มีมูลค่าไม่สูง (Non-HVUs) โดยเฉลี่ยถึง 7 เท่า โดยเฉพาะการใช้จ่ายในส่วนของเกม การขนส่ง และการท่องเที่ยว ผู้ใช้ที่มีมูลค่าสูงยังคงช่วยขับเคลื่อนหน่วยเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แต่โอกาสในการเติบโตของไทยต้องอาศัยการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลมากขึ้น

แม้ว่าความเท่าเทียมทางดิจิทัลในประเทศไทยจะคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่เขตนอกเมืองยังมีความเสี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการมีส่วนร่วมทางดิจิทัล การขจัดอุปสรรคในด้านต่างๆ เช่น อุปทาน และประเด็นด้านความปลอดภัย จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ที่มีมูลค่าไม่สูง และยังช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลไทยเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพอีกด้วย


การให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างด้านการมีส่วนร่วมทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่อยู่นอกเขตกรุงเทพฯ และการขจัดอุปสรรคต่างๆ อย่างจริงจังเพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลได้มากยิ่งขึ้น จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถปลดล็อกศักยภาพเพื่อการเติบโตต่อไปในทศวรรษแห่งดิจิทัล ซึ่งการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเศรษฐกิจดิจิทัลทุกฝ่าย ทั้งนี้ Google จะยังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ และสานต่อความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมการเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยผ่านโครงการต่างๆ เช่น “Samart Skills” ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้ Grow with Google ที่ริเริ่มขึ้นสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยได้ที่นี่

แจ็คกี้ หวาง
Country Director, Google ประเทศไทย


Thailand’s digital economy remains the second-largest in Southeast Asia and projected to reach ~$50 billion in 2025


In recent years, we’ve seen Southeast Asia’s digital economy grow and weather the obstacles of the pandemic and macroeconomic headwinds. This year, e-Conomy SEA 2023 by Google, Temasek and Bain & Company shows us just how robust and adaptable Southeast Asia’s digital economy remains. The region’s digital economy GMV (Gross Merchandise Value) is growing 11% YoY and is set to hit $218 billion in 2023. The revenue from SEA’ digital economy is poised to hit $100 billion this year, growing 1.7x as fast as the region’s GMV.


Thailand's digital economy also continues to show incredible resilience despite macroeconomic uncertainty. The country’s digital economy is projected to reach $36 billion in GMV in 2023, remaining the second-largest in Southeast Asia. GMV is expected to reach around $50 billion in 2025 and has an opportunity to reach approximately $100-$165 billion in 2030. E-commerce continues a positive growth trajectory and remains the key driver of Thailand’s digital economy, representing 61% of total GMV in 2023. The sector grew 10% YoY to $22 billion in GMV.


However, Southeast Asia hasn’t been immune to the shifts in the global economic climate. SEA private funding has declined to its lowest level in six years after record highs. This decline trend is typical across all SEA countries and also in Thailand, where private funding in H1 2023 returned to more typical levels after a spike in the past few years. To attract investment, businesses must show clear pathways to profitability and prove to investors that they offer viable exit pathways.


Remarkably, Thailand’s online travel sector is the second-fastest growing in SEA with 85% YoY growth, and the main growth driver for the country’s digital economy in 2023. The sector is set to reach $5 billion in GMV but has yet to return to pre-pandemic levels at $7 billion in 2019. The country also has the largest subscription video-on-demand market in SEA and is expected to be one of the largest online media markets in the SEA overall between 2023-2030. The online media sector (video-on-demand, music-on-demand, gaming) is projected to reach $5 billion in GMV this year, a 12% increase YoY. Ordering food delivery remains sticky post-pandemic, while commuter demand has returned to pre-pandemic levels. Overall GMV is projected to hit $3 billion in 2023, growing 1% from 2022.



Digital financial services (DFS) in Thailand, which include digital payments, digital lending, digital insurance, and digital wealth, sees strong momentum, with Thailand having the fastest growing digital lending in SEA, at 65%, to reach loan book value of $12 billion in 2023. Digital lending grew the fastest at 65% to reach loan book value of $12 billion in 2023. It is projected that Thailand will be the second-largest DFS market in the region in 2030. Regulators’ focus on supporting underserved communities in Thailand will continue to support further growth in the DFS sector.


High-value users (HVUs) in Thailand - the top 30% of spenders - are forecasted to have a 64% increase in spending over the next 12 months, the highest in the region. HVUs spend more than 7x the amount non-HVUs spend online, especially in discretionary spending verticals such as gaming, transport and travel. HVUs continue to drive sustainable unit economics, but significant growth headroom for Thailand lies in increasing digital participation.

While digital inclusion has made progress in Thailand over the past years, consumers outside of metro areas are at risk of facing a widening digital economic divide when it comes to digital participation. Removing barriers, such as supply and security issues, can improve the participation of non-HVUs and enable the country’s digital economy to reach its growth ambitions.


Keeping the focus on the digital participation gap, especially outside of Bangkok, and resolutely removing barriers to enable more Thais to become active users of digital products and services will help the country unlock further growth in the digital decade. Addressing the gap is the collective responsibility of all digital economy stakeholders. We will continue to deepen our contribution and commitment to the long-term growth of the country's digital economy through initiatives like “Samart Skills”, an exclusive Grow with Google program for Thailand.

Find more insights into Thailand’s digital economy here.

Jackie Wang

Country Director, Google Thailand



















3 ความคิดเห็น:

  1. เว็บรวมความสนุก ที่ไม่เหมือนใครแน่นอน

    ตอบลบ
  2. ดูบอลออนไลน์ Livesodball ดีที่สุดในไทย อัพเดทลิ้งเร็วสุด มือถือก็ดูได้

    ตอบลบ