วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

การสนับสนุนสื่อมวลชนในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบนโลกออนไลน์



การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้กับการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (misinformation) โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นมีความสำคัญมากกว่าเคย เนื่องจากผู้คนต่างค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ถูกต้องและแม่นยำ

ด้วยเหตุนี้ Google News Initiative จึงได้ร่วมมือกับ OSINT Essentials และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง จำนวน 2 วันในสัปดาห์นี้ เพื่อสนันสนุนสื่อมวลชนไทยที่อยู่ในแนวหน้าที่ต้องเผชิญกับกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้

สื่อมวลชนที่เข้าร่วมฝึกอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยประหยัดเวลาในการยืนยันความเป็นจริงและความถูกต้องของภาพ วิดีโอ และรายงานที่เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียและตามสื่อออนไลน์ต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นผ่านทาง Google Hangouts โดยมีการดำเนินเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยการแปลเป็นภาษาไทยแบบเรียลไทม์  โดยได้ตั้งเป้าจัดฝึกอบรมให้กับสื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่างๆ จำนวน 100 ราย และคาดหวังจะขยายการฝึกอบรมนี้ให้กับสื่อมวลชนในวงกว้างมากขึ้นในเร็วๆ นี้

แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการตรวจสอบข้อมูล แต่เราทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในการปกป้องข้อมูลที่เรารับรู้จากโดเมนสาธารณะด้วยเช่นกัน สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของวัน International Fact-Checking Day ซึ่งตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งวันดังกล่าวริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 โดยเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงนานาชาติ (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง และรณรงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูล และมีเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเองดังนี้
  1. ตรวจสอบแหล่งข่าวของคุณ: ใช้ Google News เพื่อตรวจสอบว่าข่าวที่คุณได้รับมีการรายงานโดยสื่อที่มีชื่อเสียงหรือไม่ หากข่าวดังกล่าวไม่สามารถยืนยันได้โดยแหล่งข่าวอื่นที่ถูกกฎหมาย ข่าวนั้นอาจเป็นเท็จ
  2. ตรวจสอบว่าภาพถูกใช้ในบริบทที่ถูกต้องหรือไม่: คลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือก “ค้นหาภาพนี้ใน Google” (Search Google for Image) เพื่อเปรียบเทียบภาพดังกล่าวกับฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อตรวจสอบว่าเคยปรากฏตามสื่อออนไลน์มาก่อนแล้วหรือไม่ และในบริบทใด ด้วยวิธีนี้คุณสามารถดูได้ว่าภาพดังกล่าวถูกเปลี่ยนแปลงให้มีความหมายผิดไปจากเดิมหรือไม่
  3. อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของวิดีโอ: ตรวจสอบว่าช่อง YouTube ที่คุณกำลังดูได้รับการยืนยันแล้วหรือไม่ อ่านคำอธิบายเกี่ยวกับช่อง ดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในช่อง ขนาดของกลุ่มผู้ชม ลิงก์ไปยังโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ทางการของช่อง วิธีนี้จะช่วยให้คุณมั่นใจในความน่าเชื่อถือของวิดีโอ
  4. สังเกต URL ให้ดี: บางเว็บไซต์พยายามที่จะทำให้ดูเหมือนสื่อที่มีชื่อเสียงโดยใช้ชื่อโดเมนที่คล้ายกัน เพื่อทำให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือและทำให้คุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณกำลังอ่านอยู่นั้นเป็นเรื่องจริง
  5. ค้นหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงของบทความ: บทความที่เป็นเท็จมักมีการพาดหัวที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้อ่าน แต่รายละเอียดของบทความอาจดูไม่สมเหตุสมผล หากคุณไม่สามารถยืนยันข้อมูลที่ยกมาอ้างอิง (ชื่อบุคคลหรือองค์กร) ข้อมูลเหล่านั้นอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ของบทความนั้นๆ

Helping journalists to spot misinformation online


Fact-checking is at the heart of the fight against misinformation— and the work that fact-checkers do is more important than ever right now, as people seek out accurate information about COVID-19.

That’s why the Google News Initiative, in collaboration with OSINT Essentials and SONP, is hosting two fact checking trainings this week to support Thai journalists who are currently on the frontlines of the battle to fight online misinformation.

During the sessions, journalists will learn how to use time-saving methods to help verify the authenticity and accuracy of images, videos and reports that they find in social media and elsewhere online. The sessions will be held over Google Hangouts, in English with simultaneous translation in Thai. We are planning to host over 100 journalists representing various news organizations. We hope to bring the training to more journalists soon. 

Journalists are a very important audience when it comes to verifying information, but everyone has a role in safeguarding the information we see, hear and read in the public domain. This week coincides with International Fact-Checking Day, on April 2nd, which was launched in 2016 by the International Fact-Checking Network (IFCN) to raise awareness of what fact-checkers do—-and help everyone contribute to their efforts. See below some tips on how you too, can check-facts:
  1. Cross-reference your news sources: Using Google News, check whether the information has been reported on by reputable media. If the news cannot be corroborated by another legitimate source, it might be false.
  2. Check if an image is being used in the right context: Right click on a photo and select “Search Google for Image”. This will look for the picture against an online database to check if it has appeared online before, and in what context, so you can see if it has been altered from its original meaning.
  3. Remember to check a video’s basic information: Check if the YouTube channel you’re watching is verified (or not), read their informative description, view related content on their channel, audience size, links to their social channels and official website. This can give you a steer on a video’s credibility.
  4. Look closely at the URL: Some sites try to look like a reputable media by using similar domain names. This provides credibility to the information you are reading, and provokes a false sense of security that what you are reading is true.
  5. Search for the article’s references: False stories have an attention-grabbing headline to attract readers, but the article details probably won’t add up. If you can’t verify quoted information (people’s names or organizations), they might have been invented for the story’s purpose.




10 ความคิดเห็น:

  1. ในส่วนนี้ก็จะทำให้ผู้เล่นทราบอีกว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่าหรือไม่ด้วย fun88 ล็อกอิน

    ตอบลบ
  2. รวมความสนุกที่จัดเต็ม สล็อต บาคาร่า ดูหนังออนไลน์ หนังโป๊ และดูบอดสด

    ตอบลบ
  3. ทดลองเล่นบาคาร่า เล่น สูตร บา คา ร่า ฟรี ทำเงินจริง

    ตอบลบ
  4. คาสิโนออนไลน์ รวมความบันเทิง

    ตอบลบ
  5. บาคาร่าออนไลน์ โอนไว จ่ายเงินจริง ระบบดีที่สุดในไทย!! ต้องที่ Lcbet88 สมัครตอนนี้ รับเครดิตฟรี

    ตอบลบ
  6. เว็บบาคาร่า Goatgmae88 บาคาร่า เครดิตฟรี บาคาร่าออนไลน์ เจ้าใหญ่

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. รวมทุกลิงค์ดูบอล ดูบอลสดฟรี ดูไฮไลท์ฟุตบอล ครบทุกคู่ ดูบอลสดออนไลน์ รองรับทุกอุปกรณ์ ที่ Livesodball

    ตอบลบ